Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540
"อิตัลไทยยึดหัวหาดระบบขนส่ง ฝ่าด่านปัญหาเศรษฐกิจ"             
 


   
search resources

อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์, บมจ.
เปรมชัย กรรณสูต




"ให้ผมทำอีก 10 โครงการผมก็ยังทำได้" คำกล่าวด้วยความมั่นใจนี้ออกจากปากของเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารอิตาเลียนไทยดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เมื่อต้องกลายเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างรายเดียว ซึ่งรับงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างระบบขนส่งขนาดใหญ่ทุกโครงการของกรุงเทพมหานครในขณะนี้ ในห้วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ อันทำให้บริษัทก่อสร้างหลายรายไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต้องพับฐาน รอคอยความหวังในขณะนี้

และเป็นยุคที่บุตรชายคนเดียวของนายแพทย์ชัยยุทธ กรรณสูต ต้องรับภาระงานใหญ่ต่อจากบิดา หลังจากที่กลุ่มอิตัลไทยเคยผงาดสูงสุดมาแล้วเมื่อครั้งรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เพราะการประมูลโครงการขนาดใหญ่ในสมัยนั้นต้องมีชื่อของกลุ่มอิตัลไทยเข้าไปร่วมอยู่ด้วยทุกครั้ง

ปัจจุบันโครงการระบบขนส่งมวลชนที่ใกล้แล้วเสร็จอย่างรถไฟฟ้าธนายงของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ บีทีเอส อันเป็นระบบขนส่งมวลชนระบบแรกของชาวกรุง ซึ่งมีการประมาณการว่าจะเริ่มเปิดให้บริการได้กลางปีหน้าแม้จะประสบปัญหาอย่างหนักในเรื่องการก่อสร้าง และผลกระทบที่เกิดกับการจราจร จนกระทั่งผลกระทบกับเจ้าของโครงการคือ บีทีเอส ในเครือธนายงในเรื่องของเงินค่าก่อสร้างที่เคยติดค้างคาใจกันอยู่ แต่อิตัลไทยก็ยังสามารถเดินหน้าทำงานต่อไปได้

โครงการที่อิตัลไทยเตรียมตัวอย่างเต็มที่ก็คือ การลงมือขุดเพื่อก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินขององค์การรถไฟฟ้ามหานครหรือ รฟม. หลังการออกแบบเสร็จเรียบร้อย หลังการลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ทั้งกำลังเงิน และความสามารถในการก่อสร้างแบบใต้ดินมากที่สุดโครงการหนึ่งของอิตัลไทย

โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินส่วนเหนือช่วงห้วยขวาง-บางซื่อ ระยะทาง 10 กิโลเมตร ซึ่งอิตัลไทย เข้าร่วมมือตั้งบริษัท กิจการร่วมค้า ION โดยมีบริษัทโอบาชิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท นิชิมัสซึ คอนสตรัคชั่น จำกัด เพื่อเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างใต้ดินส่วนเหนือ ในวงเงินที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว 30,548.5 ล้านบาท

นอกจากโครงสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้า ยังมีสถานีให้บริการผู้โดยสารอีก 9 สถานีคือ สถานีเทียมร่วมมิตร ประชาราษฎร์บำเพ็ญ สุทธิสาร รัชดา ลาดพร้าว พหลโยธิน หมอชิต กำแพงเพชร และบางซื่อ

โดยตามแผนงานคาดว่าหลังการเริ่มก่อสร้างในปี 2541 กำหนดแล้วเสร็จจะเปิดให้บริการได้ในปี 2546

ทั้งนี้การจัดหาแหล่งเงินกู้ ทาง รฟม. จะเป็นผู้ประสานงานกับกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณในการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินกู้ โดยได้เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนจากรัฐบาลญี่ปุ่น จากกองทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจโพ้นทะเล หรือโออีซีเอฟ จำนวน 26,586 ล้านเยน หรือประมาณ 6,330 ล้านบาท

อันเป็นโอกาสที่สำคัญของอิตัลไทยกับงานระบบอุโมงค์ระบบขนส่งมวลชนใต้ดินครั้งแรกของกรุงเทพฯ หลังจากที่พ่ายแพ้การประมูลก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินส่วนใต้จากหัวลำโพง ถึงสะพานพระราม 9 ให้กับกลุ่มบริษัทร่วมค้า บีซีเคที ของ ช. การช่าง

และการชิงชัยเพื่อให้ได้มาของการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินและสถานีบริษัท กลุ่มร่วมค้าไอโอเอ็นของ อิตัลไทย เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด โดยเข้าชิงชัยรอบสุดท้ายกับกลุ่มบริษัทอีก 4 ราย อันประกอบด้วย กลุ่มบริษัทร่วมค้า บีซีเคที กลุ่มบริษัท ยูโร เอเชีย เมโทร กรุ๊ป กลุ่มบริษัท สยาม/นิปปอน เมโทร คอนซอร์เตียม และกลุ่มบริษัท ไทยเยอรมัน ซับเวย์ กรุ๊ป

แต่อิตัลไทยก็สามารถคว้าชัยชนะมาได้ในที่สุด

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากภาครัฐเต็มที่ อิตัลไทยซึ่งมีบริษัทร่วมค้าจากญี่ปุ่นถึง 2 บริษัทแม้จะมีปัญหาเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาอยู่บ้าง แต่เงินที่นำมาใช้ในโครงการนั้นไม่ใช่อุปสรรค โดยเงินกู้ที่นำมาใช้ในโครงการก็เป็นเงินเยนถึง 60%

และนับได้ว่าเป็นระบบขนส่งใต้ดินที่ประเทศไทยฝันมาตั้งแต่ปี 2526 ว่าควรจะมีระบบรถไฟฟ้าใต้ดินให้บริการประชาชน ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงล้วนทำการก่อสร้างและเปิดให้บริการไปนานหลายปีแล้ว

นอกเหนือจากนี้ อิตัลไทยยังได้รับคัดเลือกจาก รฟม. ให้เป็นผู้ก่อสร้างศูนย์การซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า รฟม. ที่บริเวณห้วยขวางอีกโครงการหนึ่งด้วย เป็นการต่อพ่วงโครงการอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน และตัวอาคารสถานีใหญ่

นับได้ว่าอิตัลไทยเป็นผู้รับเหมาที่รับงานการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรายใหญ่ที่สุดในขณะนี้ เพราะขณะนี้อิตัลไทยก็อยู่ในระหว่างการเจรจากับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรับเหมาเป็นผู้ก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางด่วนและทางรถไฟยกระดับโฮปเวลล์ช่วงอโศกถึงยมราช ระยะทาง 7 กิโลเมตร หากโฮปเวลล์สามารถต่อรองกับกระทรวงคมนาคมให้ทำการต่ออายุสัมปทานโครงการทางรถไฟยกระดับต่อไปได้อีก

แม้อิตัลไทยยังไม่ได้ก้าวข้ามเข้าไปในการเป็นผู้ถือหุ้นของโครงการทางรถไฟและถนนยกระดับโฮปเวลล์ตามที่เคยตั้งความหวังไว้ และเคยต่อรองกับกอร์ดอน วู เพื่อซื้อหุ้นบริษัท โฮปเวลล์ ไม่ต่ำกว่า 50% อันเท่ากับเป็นการครอบงำกิจการ เพราะได้รับการปฏิเสธอย่างไม่มีเยื่อใยจากฝ่ายฮ่องกง

อิตัลไทยยังได้รับบทหนักในฐานะผู้รับเหมาก่อสร้างก็คือ งานถมทรายเพื่อปรับพื้นที่ก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 ที่หนองงูเห่ามูลค่ากว่า 11,650 ล้านบาท เพราะเป็นการจ้างเหมาถมทรายมูลค่าสูงสุดเท่าที่เคยมีมาอันเป็นเหตุให้กระทรวงคมนาคมต้องปรับเปลี่ยนโครงการ

ยังรวมไปถึงงานสร้างทางด่วยซึ่งอิตัลไทยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่กับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น

แม้จะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างที่ต้องรับงานโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และปรากฏการณ์เรื่องค่าเงินบาทที่ถูกประกาศให้ลอยตัว ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการทำโครงการใหญ่ได้

"เราเป็นบริษัทใหญ่ มีการทำงานเป็นระบบ" อันเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารเชื่อว่าจะสามารถนำพาบริษัทให้อยู่รอดต่อไปได้ ทั้งนี้เปรมชัยประมาณการว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับค่าเงินบาทครั้งนี้ จะทำให้ค่าวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8%-10% ซึ่งก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่จนเกินไป จนทำให้อิตัลไทยถึงกับแบกรับไม่ได้

และงานโครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการก็จะมีการบวกสำรองเผื่อเอาไว้แล้ว เป็นการประกันความเสี่ยงของผู้รับเหมาได้ในระดับหนึ่ง

แม้ตอนนี้ ภาพของผู้รับเหมาอย่างอิตัลไทย จะไม่ปรากฏต่อสายตาสาธารณชนอย่างยิ่งใหญ่ เหมือนยุคของนายแพทย์ชัยยุทธที่ผ่านมา แต่ความเป็นอิตัลไทย ซึ่งได้รับงานก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ทั้งหลายก็บอกได้ถึงศักยภาพของบริษัทเอกชนรายนี้ว่า ยังคงความเป็นอิตัลไทยไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us