Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 กุมภาพันธ์ 2549
ปีไก่ขาดดุล1.8แสนล้านธปท.เผยจีดีพีโตแค่4.5%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจไทยปี 48 โดยรวมชะลอลง เหตุภัยธรรมชาติ ราคาน้ำมันพุ่ง ดอกเบี้ยขาขึ้น ภาวะภัยแล้ง และน้ำท่วม ส่งผลจีดีพีโตแค่ 4.5 % ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 3,714 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 1.48 แสนล้านบาท

นางสุชาดา กิระกุลผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจทั้งปี 2548ว่า ขยายตัวอยู่ที่ระดับ 4.5% ลดลงจากปี 2547 ที่ขยายตัว 6.2% โดยมีสาเหตุหลักมาจาก ผลผลิตภาคการเกษตรที่ลดลง 3.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าส่งออกที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรที่ชะลอตัวลง

นอกจากนี้ ในปี 2548 ยังได้รับผลกระทบจากภัยคลื่นยักษ์สึนามิ , ภาวะน้ำท่วม และภัยแล้งที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้ง ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถในการใช้จ่ายของประชาชนลดลง ขณะที่การนำเข้าน้ำมันที่สูงขึ้นกว่าปีก่อนถึง 58.4% จึงทำให้ดุลการค้าทั้งปีขาดดุล 8,578 ล้านเหรียญสหรัฐ ดุลบริการบริจาคเกินดุล 4,864 ล้านเหรียญสหรัฐ และดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีขาดดุล 3,714 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.48 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ แม้ว่าในเดือนธันวาคมจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 401 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ตลอดทั้งปีมีเงินไหลเข้าจากต่างประเทศต่อเนื่องมากกว่าเงินที่ไหลออกทำให้ดุลการชำระเงินของไทยเกินดุล 5,422 ล้านเหรียญสหรัฐโดยการส่งออกทั้งปีขยายตัว 15% และการนำเข้าขยายตัว 26% ส่วนภาคการผลิตขยายตัว 9.2% ซึ่งมีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยในเดือนธันวาคมการใช้กำลังการผลิตสูงถึง 74.3%และการใช้กำลังการผลิตทั้งปีอยู่ที่ 72.6%สูงกว่าปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ 70.7%

นางสุชาดา กล่าวต่อว่า การใช้จ่ายในเดือนธันวาคมได้เพิ่มขึ้นถึง 2.3% จากการเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาล และยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นจากงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป แต่ทั้งปีดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.6 % ชะลอลงจากปีก่อน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงเช่นกัน โดยทั้งปีขยายตัวที่ระดับ 8.6% จากการชะลอตัวของภาคก่อสร้าง

สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องนั้น ทำให้อัตราการขยายตัวของเงินฝากทั้งปีเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่ออัตราการออมของประเทศและดุลบัญชีเดินสะพัดโดยทั้งปีเงินฝากของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 8.4%ในขณะที่สินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.1%แต่มีส่วนหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของเงินฝากและสินเชื่อเกิดขึ้นจากการรวมของบริษัทเงินทุน (บง.)ที่ยกระดับขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์หากตัดส่วนนี้อออกเงินฝากทั้งปีจะขยายตัว 4.4%และสินเชื่อขยายตัว 4.1%

รายงานแจ้งเพิ่มเติมว่า ธปท.ได้ประกาศดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ณ สิ้นเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา ว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2548 แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 โดยดัชนีมีการปรับตัวดีขึ้นทุกองค์ประกอบ ยกเว้นการจ้างงาน คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้ผลิตต้องการควบคุมต้นทุนด้านการจ้างงานและการขาดแคลนแรงงานในบางสาขา ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นชัดเจนในสาขาสาธารณูปโภคการค้า การขนส่งและการเงิน ส่วนสาขาอื่นใกล้เคียงกับเดือนก่อน

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้าได้ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 52.1 เป็น 53.4 ซึ่งได้ปรับตัวดีขึ้นในทุกองค์ประกอบยกเว้นการจ้างงานและต้นทุนการประกอบการ โดยสาขาการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้น คือ ภาคอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค ก่อสร้างและขนส่ง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการได้ให้ความเห็นว่า ภาระดอกเบี้ยของเดือนธันวาคมที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้าสาขาที่มีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม ก่อสร้างและการค้า สภาพคล่องทางการเงินปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจาก 41.9 เป็น 42.1 โดยทุกสาขามีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ยกเว้น สาขาอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมีความเห็นว่าข้อจำกัดสำคัญในการประกอบธุรกิจ คือ การแข่งขันที่รุนแรงจากตลาดในประเทศ ต้นทุนการผลิตสูง ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ และเป็นที่น่าสังเกตว่าความต้องการในประเทศมีแนวโน้มต่ำลงทำให้การแข่งขันในประเทศรุนแรงขึ้น

เปรียบเทียบตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญระหว่างเดือนพ.ย.กับเดือนธ.ค.

รายการ
สินค้านำเข้า เดื่อนพ.ย. 9,879 เดือน ธ.ค. 9,528
สินค้าส่งออก เดื่อนพ.ย. 9,678 เดือน ธ.ค. 9,352
ดุลการค้า (ขาดดุล) เดื่อนพ.ย. -201 เดือน ธ.ค. -176
ดุลบัญชีเดินสะพัด เดื่อนพ.ย. 441 เดือน ธ.ค.401

หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us