Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540
"ไพบูลย์ โชติประสิทธิ์ รวมพลหมอสร้างโรงพยาบาลที่แท้จริง"             
 


   
search resources

โรงพยาบาลราชเวช
ไพบูลย์ โชติประสิทธิ์
Hospital




การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งที่ถือว่ามีอัตราเสี่ยงน้อยที่สุด ก็คือการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาล เพราะโรงพยาบาลเป็นความจำเป็นพื้นฐานของคนทั่วไป

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นนักลงทุนกลุ่มใหญ่ ๆ ของวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เข้าไปร่วมหุ้นทำธุรกิจโรงพยาบาล หรือไม่ก็เทกโอเวอร์โรงพยาบาลที่มีชื่ออยู่แล้ว แล้วนำมาพัฒนาเป็นเชนโรงพยาบาลที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน

ส่วนผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรงพยาบาลหรือกลุ่มนายแพทย์ กลับเป็นเพียงผู้ร่วมหุ้นในฐานะที่ต้องมีหน้าที่บริหารด้านการแพทย์ เพราะจะปล่อยให้กลุ่มนักลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ลงทุนฝ่ายเดียวก็ดูจะไม่สามารถรู้งานในวงการแพทย์ได้ทั้งหมด

ในปี 2537 ความคิดที่จะมีโรงพยาบาลของเอกชน ที่ลงทุนโดยกลุ่มนายแพทย์จริง ๆ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่งก็เกิดขึ้น คือกลุ่มโรงพยาบาลราชเวช

นายแพทย์ไพบูลย์ โชติประสิทธิ์ ประธานกรรมการกลุ่มโรงพยาบาลราชเวช ถือได้ว่าเป็นแกนนำในการรวมกลุ่มแพทย์ร่วม 200 คน จากโรงพยาบาลต่าง ๆ

โดยกลุ่มแพทย์ประมาณ 200 คนที่รวบรวมมานี้จะถือหุ้นรวมกัน 20% ที่เหลือกระจายผู้ถือหุ้นไปในกลุ่มนักธุรกิจและนักลงทุน

ความตั้งใจของกลุ่มผู้รวมตัวก่อตั้งโรงพยาบาลราชเวช จะมีแนวคิดเดียวกันคือ เน้นนโยบายให้การรักษาพยาบาลประชาชนทุกระดับ เป็นโรงพยาบาลที่แท้จริง มีระบบการดำเนินงานที่ได้มาตรฐานซึ่งรวมถึงราคาที่ได้มาตรฐาน ไม่แพงเกินความเป็นจริง จนคนทั่วไปไม่สามารถใช้บริการได้

"ในความเป็นจริงแล้ว แพทย์ส่วนใหญ่ต้องการช่วยคนไข้ แต่ปัญหาก็คือเมื่อเขาสังกัดโรงพยาบาลเอกชน เขาจะมีปัญหากับระบบการบริหารงานของดรงพยาบาล ทำให้ทำได้ไม่เต็มที่ เพราะต้องเป็นไปตามระบบ ราคามาตรฐานที่ว่าก็คือ ถ้าเทียบกับราคาของรถยนต์ แทนที่จะเป็นราคารถบีเอ็มดับบลิว รถเบนซ์ ก็ค่าเป็นราคาของรถญี่ปุ่น เช่น โตโยต้า เป็นต้น ตัวอย่างราคาทำคลอด รวมค่าห้อง ค่ารักษา จะตกประมาณ 10,000 บาทต้น ๆ" นายแพทย์ไพบูลย์ กล่าว

โรงพยาบาลที่จะเปิดดำเนินงานในกลุ่มราชเวช จะเปิดบริการไล่ ๆ กัน มีด้วยกัน 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลราชเวชอุบลราชธานี ขนาด 300 เตียง โรงพยาบาลราชเวช เชียงใหม่ ขนาด 400 เตียง และโรงพยาบาลราชเวช พญาไทขนาด 400 เตียง ซึ่งโรงพยาบาลแต่ละแห่งค่ารักษาพยาบาลก็จะต่างกันไป เช่นที่ อุบลราชธานี ค่าแรงจะถูกกว่าที่กรุงเทพฯ ประมาณ 20-30% การคิดค่ารักษาก็จะต้องถูกกว่า

ระบบการดำเนินงานบริหารงานของโรงพยาบาล จะมีแพทย์เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล มีรองผู้อำนวยการด้านบริหาร รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ ทั้งนี้ผู้บริหารเหล่านี้จะอยู่ภายใต้นโยบายของกรรมการบริหาร อีกที

"ความจริงแล้ว โรงพยาบาลราชเวช ที่ถนนพญาไทเป็นแห่งแรกที่ลงมือก่อสร้าง แต่จะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการเป็นแห่งที่สาม โดยปัจจุบันโรงพยาบาลราชเวชทั้งที่อุบลราชธานีและที่เชียงใหม่ได้เปิดบริการไปแล้ว เมื่อปี 2538 และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2540 ตามลำดับ จากการลงทุนทั้ง 3 แห่งรวม 3,300 ล้านบาท คาดการณ์ว่าจะต้องใช้ระยะเวลาดำเนินงานแห่งละอย่างน้อย 5 ปี จึงจะคุ้มทุน" นายแพทย์ไพบูลย์ กล่าว พร้อมกับเล่าถึงการดำเนินงานว่า

ในตอนเริ่มแรกที่จะลงมือออกแบบก่อสร้าง จะมีตัวแทนจากกลุ่มแพทย์ที่ลงทุนประมาณ 20-30 คน มาช่วยในการออกแบบ พร้อมกับนักออกแบบทั้งจากต่างประเทศและของไทย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการออกแบบและการก่อสร้างโรงพยาบาลโดยเฉพาะ รวมทั้งกลุ่มแพทย์ที่ชำนาญเฉพาะทางด้วย มาช่วยกันคิดในการออกแบบเพื่อให้เป็นที่สอดคล้องกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างและการดำเนินงาน

"ตัวอย่างแผนกผู้ป่วยนอก ควรอยู่ใกล้กับแผนกเอกซเรย์ หรือห้องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ห้องจ่ายยา เวชภัณฑ์แต่ละแผนกก็แยกเป็นสัดส่วนอยู่ใกล้กันเช่น แผนกอายุรกรรมควรจะอยู่ใกล้กับศัลยกรรม เพราะแพทย์ต้องมีการปรึกษากันในแต่ละแผนก ไม่ใช่จะต้องไปแผนกที่ต้องประสานงานกันประจำแต่ต้องเดินข้ามตึก และรวมทั้งต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมเพรียง"

นอกจากนี้จุดเด่นของกลุ่มโรงพยาบาลราชเวช ก็เห็นชัดนอกจากเรื่องทีมงาน ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มแพทย์จำนวนมากแล้ว ยังเน้นจุดขายในด้านของเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย เช่น เครื่อง AUTOMATE เครื่องมือทางห้องปฏิบัติการวินิจฉัยโรค เป็นเครื่องที่สามารถแสดงผลให้ผู้ป่วยทราบอย่างรวดเร็ว

"เครื่อง AUTOMATE จะมีใช้อยู่ในโรงพยาบาลต่างจังหวัดน้อยมาก เช่นที่อุบลราชธานี เมื่อโรงพยาบาลราชเวชไปเปิด นอกจากจะเป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยที่สุดในจังหวัด สถิติเรื่องแพทย์ก็มีเพิ่มขึ้นด้วย ตัวอย่าง ก่อนหน้าที่ราชเวชจะเปิดดำเนินงาน ไม่มีแพทย์ดมยา พอโรงพยาบาลราชเวชเปิด ก็ทำให้สถิติในจังหวัดอุบลราชธานีมีแพทย์ดมยาเพิ่มขึ้นทีเดียว 3 คน" นายแพทย์ไพบูลย์ กล่าว

เครื่องมือทันสมัยอื่น ๆ ยังประกอบด้วย เครื่องฟลูออโรสโคป เครื่องมือตรวจระบบทางเดินอาหาร เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องซีทีสแกน เครื่องแมมโมแกรมซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ฯลฯ รวมทั้งการลงทุนรถโมบายมูลค่ารวม 3 ล้านบาท พร้อมเครื่องมือที่ทันสมัยและบุคลากรชุดปฏิบัติงาน 8 คน

การมีเครื่องมือทันสมัยเพียงอย่างเดียวไม่ใช่เรื่องเพียงพอ เพราะเมื่อถึงเวลาหนึ่ง เครื่องมือที่เคยทันสมัยในปัจจุบัน ก็อาจจะล้าสมัยในอนาคต สิ่งที่โรงพยาบาลราชเวชตระหนักอีกด้านหนึ่งก็คือ การให้ความสำคัญกับการเผยแพร่วิชาการแพทย์ ในด้านการศึกษาวิจัยโรคต่าง ๆ

"เรามีการจัดตั้งศูนย์การแพทย์และอุบัติเหตุ ศูนย์โรคมะเร็ง ศูนย์โรคหัวใจ ฯลฯ เพราะการลงทุนศึกษาวิจัยโรคชนิดต่าง ๆ เหล่านี้ เรามีเป้าหมายเพื่อต้องการสร้างชื่อเสียงให้กับกลุ่มโรงพยาบาลราชเวชในทางการแพทย์ พร้อมกับพยายามรักษาคุณภาพการให้บริการที่ดีกับลูกค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และไว้วางใจให้กับลูกค้าในระยะยาวต่อไป เป็นการทำตลาดเสริมจากการประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลในทางอื่นไปด้วยในตัว" นายแพทย์ไพบูลย์ กล่าว

จากจุดมุ่งหมายของนายแพทย์ไพบูลย์ ที่จะสร้างโรงพยาบาลในฝัน หรือโรงพยาบาลเอกชนที่พร้อมจะช่วยผู้ป่วยทุกคนอย่างแท้จริงนั้นคงสรุปได้ว่า นอกจากจะต้องถึงพร้อมเรื่องเครื่องมือและวิชาการแพทย์แล้ว ยังต้องถึงพร้อมด้วยการบริการที่มัดใจให้คนกลับมาใช้บริการได้อีกในครั้งต่อ ๆ ไป จึงจะถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินงานอย่างแท้จริง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us