Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540
"เอไอเอสหันกู้บาท ไม่หวั่นดอกเบี้ย 13%"             
 


   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
บุญคลี ปลั่งศิริ




ช่วง 2-3 ปีก่อนครั้งที่เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในยุคเฟื่องฟู บริษัทเอกชนไทยทั้งหลายแห่กู้เงินนอกเข้ามาขยายการลงทุนกันอย่างเอิกเกริก ด้วยว่าหาแหล่งเงินกู้ได้ง่ายมากทั้งจากญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐฯ ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกสุด ๆ ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของบริษัทมหาชนขนาดใหญ่จะอยู่ประมาณ 8-9% เท่านั้น

ทุกวันนี้ยุคสภาพคล่องล้นเหลือเป็นเพียงอดีตไปแล้ว เศรษฐกิจของไทยอยู่ในช่วงปรับตัว สถาบันการเงินทุกแห่งหันมาระดมเงินฝากในประเทศเป็นหลัก ธนาคารขนาดเล็กบางแห่งเสนออัตราดอกเบี้ยเงินฝากลูกค้าสถาบันรายใหญ่สูงถึง 12% ชนเพดานตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

ภายหลังที่รัฐบาลตัดสินใจปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว บริษัทที่มีหนี้ต่างประเทศเจ็บตัวกันทั่วหน้า เว้นแต่ใครไหวตัวทันป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไว้ก่อนก็รอดตัวไป

บุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหารสายธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมไร้สายกลุ่มชินวัตรเปิดเผยว่า บริษัทมีหนี้สินต่างประเทศประมาณ 70% ของหนี้สินรวม เป็นหนี้สินระยะ 3 ปีและ 5 ปี ดังนั้นการลอยตัวค่าเงินบาทย่อมทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทสูงขึ้น

อย่างไรก็ดีเพื่อป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) จึงหันมาระดมทุนภายในประเทศด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นอายุ 3-9 เดือน ให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 13%

บุญคลี กล่าวถึงเหตุผลในการออกหุ้นกู้ครั้งนี้ว่า "เพื่อใช้ในการขยายเครือข่ายทั้งในระบบอะนาล็อก และดิจิตอล เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้บริการมือถือที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งพัฒนาระบบดังกล่าวเพื่อเพิมประสิทธิภาพในการให้บริการให้ครอบคลุมพื้นที่ให้กว้างขวางขึ้น"

สาเหตุที่ออกเป็นหุ้นกู้ระยะสั้นเนื่องจากเป็นตราสารที่ทำให้บริษัทมีความคล่องตัวในการบริหารเงินโดยสามารถเลือกเวลา วงเงิน และอายุของหุ้นกู้ในการจำหน่ายแต่ละครั้ง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดและความต้องการของบริษัทได้

"ในภาวะที่อะไรก็ยังไม่แน่นอนอย่างนี้ เราคาดว่าต่อไปอัตราดอกเบี้ยจะมีการปรับตัวลง เพราะแะนั้นการออกหุ้นกู้ระยะสั้นนอกจากจะมีความเหมาะสมกับบริษัทเนื่องจากเรามีความจำเป็นต้องใช้เงินเป็นช่วง ๆ แล้ว ยังเหมาะกับสถานการณ์อีกด้วย" บุญคลีกล่าว

ทั้งนี้เอไอเอส ได้แต่งตั้งให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้จัดการการจำหน่ายและนายทะเบียน โดยการออกหุ้นกู้ครั้งนี้จะเป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ขายในราคาหน่วยละ 1,000 บาท มีวงเงินการจำหน่ายรวมทั้งโปรแกรมไม่เกิน 2,000 ล้านบาท เสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด โดยเสนอขายเป็นแบบหลายครั้ง ซึ่งจะทะยอยออกจำหน่ายตามความเหมาะสมของสภาวะตลาดและความต้องการใช้เงินของบริษัท

จากการเสนอขายครั้งแรก เอไอเอสสามารถจะระดมทุนเข้ามาได้ 1,387 ล้านบาท จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 1,000 ล้านบาท โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และบริษัทประกันชีวิต

อย่างไรก็ดี ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้กำลังมีปัญหากองทุนรวมตราสารหนี้ 8 กองปิดตัวลงแบ่งเป็นกองทุนรวมภายใต้การบริหารของ บลจ. บัวหลวง 4 กอง บลจ. วรรณ 3 กอง และ บลจ. บริหารทุนไทย 1 กอง มีการคาดการณ์กันว่าเหตุการณ์นี้จะต่อเนื่องไปยังกองทุนตราสารหนี้ค่ายอื่น ๆ อีก สาเหตุมาจากนักลงทุนตื่นตระหนกแห่ถอนเงินคืนจนกองทุนตราสารหนี้เหล่านั้นขาดสภาพคล่อง

ปรากฏการณ์ดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อตลาดสารหนี้ ซึ่งจะต่อเนื่องมายังบริษัทเอกชนที่ต้องการออกหุ้นกู้ระดมทุนในประเทศต่อไป โดยต้องออกหุ้นกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงและขายได้ยากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันนักลงทุนสถาบันจะให้ความสำคัญในเรื่องความเสี่ยงเป็นอันดับแรก และอัตราผลตอบแทนเป็นอันดับสอง โดยหลายฝ่ายเริ่มตระหนักมากขึ้นว่าอัตราผลตอบแทนยิ่งสูงนั่นหมายถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หลังจากหลงลืมกฎข้อสำคัญในการลงทุนข้อนี้ไปเสียนาน

สำหรับหุ้นกู้ระยะสั้นของเอไอเอส ซึ่งนับว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมากนั้น เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ซึ่งค่อนข้างมั่นคงเป็นบริษัทใหญ่ในเครือชินวัตร เป็นผู้นำตลาดมือถือ โดยมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% นอกจากนี้ยังมีอันดับความน่าเชื่อถือในการออกตราสารหนี้เงินตราต่างประเทศระยะยาวจาก Standard&Poor's ในอันดับ BBB

"ตราสารหนี้ในระยะหลัง ๆ นี้มีปัญหาอยู่มากเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องที่บริษัทไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้เมื่อครบกำหนดชำระ แต่หุ้นกู้ของเอไอเอสดีอยู่อย่างหนึ่งที่เป็นหุ้นกู้ระยะสั้น 3-9 เดือน เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ยังไม่แน่นอนเช่นนี้จึงยังสามารถขายได้ดี" นักลงทุนสถาบันรายหนึ่งออกความเห็น

อย่างไรก็ตามผลจากการที่ค่าเงินบาทลอยตัวนี้ ทำให้ต้นทุนของเอไอเอสเพิ่มสูงขึ้น 10-20% เป็นเหตุให้เอไอเอสต้องประกาศปรับราคาโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15% โดยจะเริ่มในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อให้ราคาใหม่ครอบคลุมกับต้นทุนใหม่ และมีกำไรเพียงพอที่จะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ได้อย่างไม่มีปัญหา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us