บริษัทเอ.พี.เอฟ โฮลดิ้งส์เข้าซื้อหุ้นบล.ยูไนเต็ดจากกลุ่มตระกูลว่องกุศลกิจ 25.43% เตรียมเริ่มทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์กลาง ก.พ.นี้ในราคาหุ้นละ 8.04 บาท เผยไม่มีแผนเปลี่ยนแปลงการบริหารงาน หวังดึงเม็ดเงินทุนจากญี่ปุ่นเข้ามา สนับสนุนธุรกิจหลักทรัพย์ ยืนยันไม่มี การนำบริษัทออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ขณะที่ที่ปรึกษาทางการเงินประเมินจะใช้เงินในการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ กว่า 1 พันล้านบาท
นายกุลวัฒน์ เจนวัฒนวิทย์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) (US) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2549 ที่ผ่านมากลุ่มตระกูลว่องกุศลกิจได้ขายหุ้น บล.ยูไนเต็ดให้กับบริษัท เอ.พี.เอฟ.โฮลดิ้งส์ จำกัดโดยเป็นการตกลงซื้อขายรายการใหญ่(บิ๊กล็อต) จำนวน 42.92 ล้านหุ้นหรือ 25.43% ของทุนที่เรียกชำระแล้วของบริษัทในราคาหุ้นละ 8.04 บาท โดยกลุ่มตระกูล ว่องกุศลกิจที่ขายหุ้น 5 รายได้แก่บริษัท ยูฟินเวส, บริษัททีเอ็มอีแคปปิตอล, บริษัทซิตี้ โฮลดิ้งส์, บริษัททาวน์ โฮลดิ้งส์และนายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ
ทั้งนี้ สาเหตุที่กลุ่มว่องกุศลกิจขายหุ้นในครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากเรื่องของ ราคาหรือเงินที่จะได้รับ แต่เห็นว่าเมื่อ กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามาบริหารแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทั้งผู้ถือหุ้นใหญ่, บริษัทและพนักงานของบริษัทเนื่องจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่นั้นมี ความต้องการที่จะเข้ามาลงทุนระยะยาว รวมถึงได้มองว่าภายในอนาคตธุรกิจหลักทรัพย์จะมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น
ดังนั้น บริษัทจึงต้องเตรียมความ พร้อมที่จะรองรับนอกจากนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ก็ไม่ใช่ธุรกิจหลักของกลุ่มตระกูลว่องกุศลกิจแต่อย่างใด
นายกุลวัฒน์กล่าวว่า จากการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัททำให้กรรมการบางส่วนได้ยื่นลาออกซึ่งประกอบด้วยนายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ, นายวีระเจตน์ ว่องกุศลกิจ, นาง วิไลวรรณ ตันติธรรม และตนเองและได้มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่คือ นาย มิทซิจิ โคโนชิตะซึ่งจะเข้ามาเป็นประธาน กรรมการ, นายทัตซิยะ โคโนชิตะ เข้า มาเป็นประธานกรรมการบริหาร,นายเเจเรมี คิม ซาน เหลียวเป็นกรรมการ และเข้ามาดูแลในด้านวาณิชธนกิจและมีนายโอซามุ ชิเกมัทซึเข้ามาเป็นกรรมการอีกคนซึ่งกรรมการใหม่ดังกล่าว จะเข้าแทนกรรมการที่ลาออกไป
ในส่วนของธุรกิจหลักทรัพย์นั้น ยังเป็นนางสาวสุดธิดา จิระพัฒน์สกุล เป็นผู้ดูแลเหมือนเดิม ส่วนตนเองหลังจากลาออกจากกรรมการบริษัทแล้วก็จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับคณะกรรมการบริษัทแทน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกรรมการ แต่ในแง่ของการบริหารงานก็ยังเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
"กลุ่มตระกูลว่องกุศลกิจถือได้ว่าเป็นผู้ก่อตั้งบล.ยูไนเต็ดขึ้นมาซึ่งใน ช่วง 8 ปีที่ผ่านมานั้นก็ได้มีกลุ่มที่เข้ามา ติดต่อเพื่อที่จะซื้อหุ้นบล.ยูไนเต็ดอยู่ ตลอดเวลา แต่ที่ตัดสินใจให้กับบริษัท เอ.พี.เอฟ.โฮลดิ้งส์ เพราะเห็นว่าจะเกิด ประโยชน์กับทุกฝ่าย" นายกุลวัฒน์กล่าว
นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเอ.พี.เอฟ.โฮลดิ้งส์ จำกัด เปิดเผยว่า สาเหตุที่สนใจเข้ามาลงทุนในบล.ยูไนเต็ดเพราะเห็นว่าประเทศไทยมีความน่าสนใจลงทุนมาก ประกอบกับค่าพี/อี เรโชของตลาดหุ้น ไทยอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับค่าพี/อี เรโชของตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่สูงกว่ามากและหลังจากทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์แล้ว ก็ยังมีแผนที่จะให้บล.ยูไนเต็ดเป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯเหมือนเดิม
ทั้งนี้ การที่บริษัทเอ.พี.เอฟ.โฮลดิ้งส์เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบล.ยูไนเต็ด เชื่อว่าจะช่วยทำให้เกื้อหนุนธุรกิจได้โดยเฉพาะการดึงเงินทุนจากญีปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพราะขณะนี้ก็มีนักลงทุนญี่ปุ่นสนใจที่จะเข้ามาลงทุน ในประเทศเป็นจำนวนมากซึ่งเชื่อว่าจะทำให้มาร์เกตแชร์ของบล.ยูไนเต็ดสูงขึ้นได้ในอนาคตจากปัจจุบันที่บล. ยูไนเต็ดมีมาร์เกตแชร์ประมาณ 1% เศษ
สำหรับบริษัทเอ.พี.เอฟ.โฮลดิ้งส์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2548 โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในกิจการต่างๆ ทั้งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และไม่จดทะเบียนและบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทยซึ่งบริษัทเป็นหนึ่งในบริษัทในกลุ่ม ของ Asia Partnership Fund ซึ่งเป็น บริษัทบริหารกองทุนส่วนบุคคลจัดตั้ง เพื่อการลงทุนระยะยาวในพันธบัตรรัฐบาล หุ้นและอสังหาริมทรัพย์ในประเทศต่างๆในทวีปเอเซีย โดยโครง สร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทเอ.พี.เอฟ โฮลดิ้งส์นั้นจะมีบริษัทซันวา เวิลด์ เซอร์วิสซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของคนไทยถือหุ้น 51% ที่เหลือเป็นผู้ลงทุนจากญี่ปุ่น
นายยรรยง ตันติวิรมานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เบเคอร์ทิลลิ่ เอฟ เอ เอส(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่บริษัทเอ.พี.เอฟ.โอลดิ้งส์เข้ามาถือหุ้นในบล.ยูไนเต็ดเกินกว่า 25% ดังนั้น ตาม เกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)จะต้องทำคำเสนอซื้อ(เทนเดอร์- ออฟเฟอร์) จากผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เหลือ ทั้งหมดของบริษัทจำนวน 125.89 ล้าน หุ้นหรือ 74.57% โดยจะรับซื้อประมาณ กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2549 เป็นเวลา 45 วันทำการ ในราคาหุ้นละ 8.04 บาทโดยจะมีบล.กสิกรไทยเป็น ตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ และ คาดว่าต้องใช้เงินประมาณ 1 พันล้านบาทเศษ ในการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ โดยเงินจะนำมาจากการกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ
ทั้งนี้ การที่บริษัทเอ.พี.เอฟโฮลดิ้งส์ เข้ามาถือหุ้นในครั้งนี้จะไม่ติดไซเลนต์ พีเรียด แต่อย่างใดแต่บริษัทก็มีแผน ที่จะลงทุนระยะยาวรวมถึงจะต้องระบุ ในแผนงานถึงการระยะเวลาการลงทุน ให้กับก.ล.ต.ได้รับทราบอีกด้วย
|