|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ขุนคลังทนง ตีกรรเชียงเล่นบทลอยตัวตระกูลนายกฯขายหุ้นชินคอร์ป ปฏิเสธไม่รู้เรื่องเงื่อนงำแอมเพิล ริช ขายหุ้นให้ "พานทองแท้-พิณทองทา" โบ้ย สรรพากร-ก.ล.ต.-ตลาดหลักทรัพย์ฯแจกแจง เผยไม่หวั่น ปชป.จับขึ้นเขียงอภิปรายไม่ไว้วางใจ ด้านผู้บริหารชินคอร์ปร่อนหนังสือแจงตลาดหลักทรัพย์ไม่รู้ไม่เห็นข้อมูลอื่นใดนอกจากจดหมายแจ้งจากผู้ถือหุ้นใหญ่วันทำดีล 23 ม.ค.
นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ยังไม่ทราบรายละเอียด เรื่องการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น ในประเด็นที่เกี่ยวกับ บริษัท แอมเพิล ริช อินเวสเมนต์ จำกัด ขายหุ้นให้กับนายพานทองแท้ ชินวัตร และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งในเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่จะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมโดยเร็วที่สุด และชี้แจงข้อเท็จจริงให้สาธารณชนได้รับทราบ
ทั้งนี้ ได้สั่งการให้กรมสรรพากร และ ก.ล.ต. ชี้แจงทุกประเด็น โดยควรจะต้องตอบทุกคำถามที่ประชาชนสนใจ และที่สื่อมวลชนยังค้างคาใจอยู่ พร้อมกับย้ำว่า ไม่เกรงว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะนำเรื่องหุ้นชินคอร์ป มาเป็นประเด็นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตนเอง เพราะเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องที่ใหญ่โต และทุกอย่างจะมีคำตอบที่ชัดเจน เพราะเท่าที่ตนเองรับทราบ และได้รับ รายงาน ยังเชื่อว่าไม่มีอะไรที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
"ได้คุยกับกรมสรรพากร ก็บอกว่าทำทุกอย่างตามกฎหมาย ดังนั้น ตอนนี้ผมยังไม่มีอะไรที่เป็นปัญหา ยังไม่เห็นอะไรที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย"
อย่างไรก็ตาม นายทนงปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นว่า กฎหมายการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯยังเหมาะสมอยู่หรือไม่ โดยให้เหตุผลว่า ในฐานะคนของรัฐบาลมีหน้าที่รักษากฎหมาย ไม่ใช่วิจารณ์กฎหมาย แต่หากจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลให้กฎหมายสมัยขึ้นตามมาตรฐานสากลหรือไม่ หากเปลี่ยน แปลงแล้วถอยหลังเข้าคลองก็ไม่ควรจะเปลี่ยน นอกจากนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมด้วย
ทั้งนี้ หากอธิบดีกรมสรรพากรเห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ก็สามารถเสนอเรื่องให้ รมว.คลังพิจารณา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภาฯพิจารณา ต่อไป เพราะกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่น่าจะรู้เรื่องนี้ดีที่สุด
"การเสนอกฎหมาย อาจจะเสนอจากล่างขึ้นบน หรือจากบนลงล่างก็ได้ เพราะเราอยู่ในสังคมประชาธิปไตย ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น ซึ่งกรณีถ้ากรมสรรพากรเห็นว่าอาจเป็นช่องโหว่ทางกฎหมาย ก็สามารถเสนอเพื่อชี้ให้เห็นข้อดี ข้อเสียได้"
ทั้งนี้ ประเด็นที่มีข้อสงสัยในกรณีแอมเพิล ริช เกิดขึ้นหลังจาก นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยานายกรัฐมนตรีรายงานว่า บริษัทแอมเพิล ริช อินเวสต์เมนท์ส (Ample Rich Invest-ments Ltd) ได้แจ้งต่อสำนักงาน ก.ล.ต.เมื่อ วันที่ 23 มกราคม 2549 ว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 บริษัท Ample Rich ได้ขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ป จำนวน 329.2 ล้านหุ้น ให้แก่ น.ส.พิณทองทา และนายพานทองแท้ ชินวัตร คนละ 164.6 ล้านหุ้น ราคา 1 บาท/หุ้น โดยระบุในแบบฟอร์มว่าเป็นการซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ
แต่จากการตรวจสอบข้อมูลการซื้อหุ้นชินคอร์ปของตลาดหลักทรัพย์ฯพบว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคมไม่พบว่ามีรายการการซื้อขายหุ้นรายใหญ่ (บิ๊กล็อต) จำนวน 329.2 ล้านหุ้น ราคา 1 บาท/หุ้น ตามที่นางกาญจนาภาแจ้งต่อสำนักงาน ก.ล.ต.แต่อย่างใด จนกระทั่งวานนี้บุคคลทั้งสองได้ยอมรับว่า มีข้อผิดพลาดในการรายงานและได้ส่งแบบรายงานใหม่มาให้ ก.ล.ต.แล้ว (อ่านรายละเอียดข่าวหน้า 1 ประกอบ) ผู้บริหารชินคอร์ปออกตัวไม่ได้อินไซด์
ในวันเดียวกัน นางศิริเพ็ญ สีตสุวรรณ กรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า กรณีตลาดหลักทรัพย์ฯได้แจ้งให้บริษัทฯชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมกรณีการขายหุ้นของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจำนวน 1,487,740,120 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 49.595 ของทุนชำระแล้วของบริษัท ให้แก่บริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัทแอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด นั้น บริษัทขอชี้แจงข้อมูลว่า
1. บริษัทและคณะกรรมการของบริษัทรับทราบข้อมูลการขายหุ้นของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่จากจดหมายซึ่งนำส่งโดยตัวแทนของผู้ถือหุ้นใหญ่เมื่อ วันที่ 23 มกราคม 2549 ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาแผนธุรกิจประจำปี 2549 ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการเป็นประจำทุกปี
2. ตามที่กลุ่มผู้ซื้อกล่าวว่าได้มีการเจรจาเมื่อ 4-6 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น บริษัทไม่ทราบว่ามีการทำ Due Diligence หรือไม่
และ 3. การชี้แจงกรณีกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ขายหุ้นให้แก่กลุ่มสิงเทลและกลุ่มเทเลนอร์ว่าไม่เป็นความจริงแต่ประการใดนั้น บริษัทตรวจสอบข้อมูลโดยการสอบถามไปยังผู้ถือหุ้นใหญ่และได้รับการตอบปฏิเสธในเรื่องดังกล่าว
4. การชี้แจงกรณีกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ขายหุ้นให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ว่าบริษัทยังไม่ได้รับแจ้งหรือยังไม่ได้รับการยืนยันข้อมูลจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่นั้นบริษัทตรวจสอบข้อมูลโดยการสอบถามไปยังผู้ถือหุ้นใหญ่แต่ไม่ได้รับคำตอบยืนยันในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างไร
|
|
|
|
|