|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติเกาะติดธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มสัดส่วนหุ้นของต่างชาติ เผยยังไม่มีรายใดยื่นขออนุญาต ขณะที่กรุงศรีฯ ยอมรับกำลังเจรจาจีอีควบรวมกิจการเพื่อรับมือการแข่งขันในอนาคต ค่ายกสิกรไทยปฏิเสธควบรวมไทยพาณิชย์ ส่วนบัวหลวงยันคงเพดาน ต่างชาติ 48%
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่า การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงข่าวการควบรวมกิจการธนาคารพาณิชย์ที่กำลัง แพร่สะพัดว่า ณ ขณะนี้ยังไม่มี ใครหรือธนาคารพาณิชย์แห่งใด มาขออนุญาตเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติเกิน 25% ของทุนจดทะเบียน ซึ่งหากมีการดำเนินการของธนาคารใดก็จะต้องขออนุญาต จาก ธปท.ก่อนจึงจะดำเนินการได้
"ติดตามดูเรื่องนี้อยู่เหมือน กัน แต่ยังไม่เห็นมีใครขอเข้ามาอย่างเป็นทางการเพราะหากจะถือสูงกว่า 25% ตามกฎหมายต้องมาขอผมก่อนไม่ว่าจะเคยขอถือหุ้นเกิน 25% เป็นกรณีพิเศษมาแล้วหรือไม่ เพราะมีบางธนาคารที่ สัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างประเทศมากกว่า 25% แต่นั่นเป็นเพราะมาขอเป็นกรณีพิเศษ อาจจะเป็น 32% หรือ 49% ก็ต้องมาคุยกับผมใหม่" ผู้ว่าการ ธปท.ระบุ
ขณะที่นายทนง พิทยะ รมว. คลัง กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่อง ดังกล่าว แต่มองว่าสถาบันการเงิน ไทยต้องแข็งแรงพอ ซึ่งหากธนาคาร ใดคิดว่าแข็งแรงพอแล้วก็ไม่จำเป็น ต้องควบรวม นอกจากนี้ทางการเองมีการควบคุมสัดส่วนการถือหุ้น ของนักลงทุนต่างชาติอยู่แล้ว กรุงศรีฯเจรจาจีอีควบรวมกิจการ
แหล่งข่าวจากธนาคารกรุง-ศรีอยุธยากล่าวว่า จากกระแสข่าว ของบริษัท จีอีมันนี่ ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน จะเข้ามาซื้อกิจการหรือถือหุ้นใหญ่ในธนาคารแทนกลุ่มรัตนรักษ์ น่าจะเป็นในลักษณะของการควบรวมกิจการ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งมากกว่าที่จะเข้ามาฮุบกิจการ หรือเข้ามาซื้อหุ้นกลุ่มรัตนรักษ์เพื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นแบงก์ต่างชาติ
อย่างไรก็ตาม การเจรจาหรือ ข้อสรุปดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าภายในมีนาคม นี้อาจจะมีแนวทางหรือข้อสรุปกว้างๆ เพื่อให้ฝ่ายปฏิบัติ ทั้งในเรื่องการเจรจาการจ้างที่ปรึกษาเข้ามาดูรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
ขณะนี้มีการคุยในระดับผู้บริหารระดับสูงและกลุ่มรัตนรักษ์โดยตรง แต่เป็นเพียงการเจรจาระหว่างกลุ่มบุคคลโดยยังไม่ต้องใช้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินหารือกัน ทั้งสองฝ่ายต่างมีความเห็นในแนวเดียวกันว่าธุรกิจของธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันที่สูง ธนาคาร กรุงศรีอยุธยาและจีอีมันนี่ได้มีธนาคารจีอีรายย่อยที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยจำเป็นต้องหาคู่เป็น พันธมิตรเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงศรีฯมี นโยบายที่จะลงมาจับกลุ่มลูกค้ารายย่อย 2-3 ปีที่ผ่านมา จนลูกค้า ของธนาคารเริ่มปรับเปลี่ยนเป็น Young Generation รวมทั้งผู้ที่เริ่มต้นการทำงานใหม่ๆ ในขณะเดียวกันธนาคารจีอีมันนี่ถือเป็นธนาคารที่ได้ใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจใหม่ๆ ฐานลูกค้าของธนาคารยังมีน้อยและจำกัดอยู่ในวงแคบๆ ดังนั้นทั้งคู่จึงเจรจา เพื่อนำจุดแข็งของแต่ละแห่งเข้ามา เสริม และปิดช่องว่างของแต่ละแห่งในการให้บริการหมดไป เช่นธนาคารกรุงศรีอยุธยาต้องการที่จะได้เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์รายย่อยใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้า ในขณะที่ธนาคารจีอีรายย่อยก็ต้อง- การเครือข่ายและฐานลูกค้าของธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่มีอยู่สูง
KBANK ปฏิเสธควบรวม SCB
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวถึงการควบ รวมกิจการกับธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ว่า ยังไม่ได้มีอะไรที่เป็นในแนวทางนั้น ข่าวที่ออกมาเป็นเพียง ข่าวลือ อย่างไรก็ตาม การควบรวม กิจการถือว่าเป็นโจทย์ทางธุรกิจ ของผู้บริหารของธนาคารแต่ละแห่งจะต้องนำไปพิจารณา ขึ้นอยู่กับข้อดีข้อเสียของการรวมกิจการ
ด้านนายเดชา ตุลานันท์ กรรมการรองผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวธนาคารอาหรับ จะเข้ามาถือหุ้นในธนาคารกรุงเทพ ว่า ธนาคารยังคงยืนยันที่จะเป็นธนาคารพาณิชย์ของคนไทย โดยมีกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นของคนไทย ส่วนกลุ่มผู้ถือหุ้นต่างชาติจะเข้ามานั้น ในฐานะที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจธนาคารกรุงเทพเองมีอยู่หลายกลุ่มธุรกิจ โดยสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติที่อยู่ในธนาคารกรุงเทพขณะนี้อยู่ที่ระดับประมาณ 48% และคาดว่าจะอยู่ใน ระดับนี้
"แบงก์เราถือว่าโชคดีที่มีกลุ่ม ผู้ถือหุ้นต่างชาติถือ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นนักธุรกิจหรือ พ่อค้า ไม่ใช่กลุ่ม nominee หรือ กลุ่มกองทุน ดังนั้นการเข้ามาถือหุ้นเพื่อ ให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่น โดยไม่ต้องการที่จะเข้ามามีอำนาจหรือ มีบทบาทในการเข้ามาร่วมบริหารธนาคาร โดยผู้ถือหุ้นต่างชาติรายใหญ่ที่สุดคือกลุ่มเทมาเส็ก ซึ่ง ก็ถือในส่วนไม่เกิน 5% ซึ่งปัจจุบัน ธนาคารมีความมั่นคง สามารถทำธุรกิจได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุน หรือขายกิจการเงินกองทุน ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 เพียงพอสามารถ รองรับบาเซิล 2 และการเปิดเสรีทางการเงินได้ และการที่ธนาคารได้ติดต่อกับต่างชาติก็เพื่อทำธุรกิจ หรือเป็นพันธมิตรในการเอื้อธุรกิจ และบริการให้แก่ลูกค้าของธนาคาร ไม่ใช่เพื่อเข้ามาถือหุ้นใหญ่หรือครอบครองกิจการ"
|
|
|
|
|