|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กระทรวงการคลังยันจีดีพีปี 49 โตอย่างต่ำ 5% ระบุราคา น้ำมันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียง 8% เทียบ กับปี 48 ที่เพิ่มจากปี 47 เกือบ 50% ขณะที่สินค้าทุนประเภทเครื่องจักรไฟฟ้า ธ.ค. ปี 48 ขยายตัวถึง 89% เชื่อดันส่งออก ปีนี้เติบโตดีกว่าปีก่อนแน่ ส่วน ภาวะเศรษฐกิจปี 48 ยังขยายตัวดีทั้งด้านอุปสงค์-อุปทาน คาดทั้งปีโตไม่ต่ำกว่า 4.3% แน่นอน
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจในปี 2549 นี้ จะขยายตัวได้ดีกว่าในปีที่ผ่านมา โดย สศค.ยังยืนยันประมาณการเดิม คือ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) อยู่ที่ 5% เป็นอย่างต่ำ โดยปัจจัยที่สนับสนุนประมาณการดังกล่าว มี 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1.ราคาน้ำมันดิบใน ตลาดโลกขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 58 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไม่ถึง 10% เมื่อ เทียบกับการขยายตัวของราคาน้ำมัน ในปี 2548 ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2547 เกือบ 50% ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน 1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะส่งให้เศรษฐกิจขยายตัวลดลง 0.17%
2. แนวโน้ม อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งสศค. ประเมินว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ
และ 3. สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่คาดว่าไม่น่า จะขยายตัวออกไปยังพื้นที่อื่น ดังนั้นจึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศมากนัก
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกอื่นๆ เช่น การลงทุนโครงการโครงสร้างพื้น-ฐานทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้าระบบประมาณ 2.9 แสนล้านบาทในปี 2549 นี้ โดยหากสามารถผลักดันให้มีการใช้เม็ดเงินได้อย่างน้อยประมาณ 70-80% ของวงเงินดังกล่าว ก็จะมีผล กระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก และการนำเข้า สินค้าทุน โดยเฉพาะเครื่องจักรไฟฟ้า และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ขยายตัวสูงถึง 89% และ 79% ตามลำดับ ในเดือนธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา ก็จะส่งผลให้การส่งออกในปีนี้ขยายตัวได้มากขึ้น เพราะโดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก อย่างไรก็ตาม สศค.จะประกาศประมาณการตัวเลข การขยายตัวของภาคการส่งออก รวมถึง ประมาณการเศรษฐกิจในปี 2549 อีก ครั้งในเดือน กุมภาพันธ์ 2549 นี้
สำหรับในปี 2548 สศค.ยังยืนยัน ประมาณการเดิมเช่นกันว่า จีดีพีจะโต 4.3% เป็นอย่างต่ำ ซึ่งจากตัวเลขจีดีพีในช่วง 9 เดือน หรือ 3 ไตรมาสแรก อยู่ที่ 4.4% ขณะที่ในไตมาสที่ 4 คาดว่า จะโตใกล้เคียงกับไตรมาส 3 คือ 5.3% ดังนั้น ทั้งปี จึงไม่น่าจะโตต่ำกว่า 4.3% อย่างแน่นอน
นายสมชัย กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจ ในเดือน ธันวาคม 2548 โดยรวมยังขยายตัวได้ดี เห็นได้จากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการคลัง ซึ่งพบว่าภาษีที่ เก็บจากฐานรายได้ที่จัดเก็บจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลขยายตัวดีในระดับสูงที่ 13.1% ต่อปี ซึ่ง สะท้อนถึงทิศทางการประกอบการของ ธุรกิจ และการจ้างงานที่อยู่ในเกณฑ์ดี ในขณะที่ภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคขยายตัวดีขึ้นที่ 3.7% เพิ่มขึ้นจากที่หดตัว 6.1% ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งสะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี
สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน บ่งชี้ว่าภาคการเกษตรขยายตัวดีขึ้น จากราคาสินค้าเกษตรที่ยังคง ขยายตัวอยู่ในระดับสูงที่ 24.4% ต่อปี และการจ้างงานภาคการเกษตรที่ขยาย ตัวดีขึ้นที่ 3.1% ต่อปี เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัว 1.6% ต่อปีในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายนยังขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะ จากการผลิตเพื่อการส่งออก แม้ว่าการ ผลิตเพื่อการใช้จ่ายภายในประเทศในบางอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง สำหรับภาคบริการเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติและการจ้างงานในภาคบริการที่ขยายตัวดีขึ้นที่ 0.5% ต่อปี หลังจากที่หดตัว 1.0% ในเดือนพฤศจิกายน
ส่วนเครื่องชี้เศรษฐกิจด้าน อุปสงค์พบว่า การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดีเช่นกัน ซึ่งสะท้อนได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้น 22.2% ต่อปี และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวดี 26.9% ต่อปี นอกจากนี้ การที่ดัชนีความ เชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่าง ต่อเนื่องได้แสดงถึงความมั่นใจของ ผู้บริโภคในอนาคต สำหรับการลงทุนภาคเอกชนในเครื่อง มือเครื่องจักรจาก การนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวในอัตราเร่งถึง 41.3% ซึ่งสะท้อนการลงทุนภาค เอกชนที่เริ่มมีการลงทุนใหม่มากขึ้น ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การ นำเข้าสินค้าทุนรวมทั้งสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีการขยายตัวในอัตรา เร่งส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าขยายตัวในอัตราสูงถึง 41.3% ต่อปีเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัว 11.6% ต่อปี ทำให้ดุลการค้ากลับมาขาดดุล 142.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับ เสถียรภาพเศรษฐกิจใน ประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี ตามอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำเพียง 1.4% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง แม้ว่าจะขยายตัวในระดับสูงที่ 5.8% ต่อปี ส่วนเสถียรภาพ เศรษฐกิจภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งจากทุนสำรองระหว่าง ประเทศที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 52.1 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือนธันวาคม
สำหรับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในปี 2548 ขยายตัวชะลอตัวลงจากปี 2547 เนื่องจากในช่วงต้นปีเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ค่อนข้างมาก แต่เศรษฐกิจไทยได้กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่ง ปีหลัง ภาษีจากฐานรายได้ที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลของ ทั้งปี 2548 ยังขยายตัวดีตามภาวะธุรกิจ และการจ้างงานที่ขยายตัว ต่อเนื่อง ขณะที่ภาษีจากฐานการบริโภคในปี 2548 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตและมาตรการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล สำหรับภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศในปี 2548 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2547 ตามมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ของไทยที่เพิ่มขึ้น
โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานสะท้อนภาคการผลิตในปี 48 ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีแม้ว่าในช่วงต้นปีจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก โดยการจ้างงาน ในภาคเกษตรหดตัวจากปัญหาภัยแล้ง ในช่วงครึ่งปีแรก แต่การที่ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนต่อเนื่องได้ ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องในปี 2548 สำหรับภาคอุตสาหกรรมยังคงใช้กำลังการผลิตอยู่ ในระดับที่สูงจากปีก่อน โดยเฉพาะ จากการผลิตเพื่อการส่งออกที่ปรับตัว ดีขึ้นจากอุปสงค์ต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับ ภาคบริการชะลอตัวจากปีก่อนตามการชะลอตัวของการท่องเที่ยวจากผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิในช่วงครึ่งปีแรก และเริ่มปรับตัวดีขึ้นและเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงครึ่งปีหลัง
ขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจด้าน อุปสงค์ของทั้งปี 2548 พบว่าการบริโภค ภาคเอกชนขยายตัว ในอัตราที่ชะลอตัวจากปีก่อน เนื่องจากได้รับแรงกดดันกำลังซื้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สำหรับการลงทุนภาคเอกชนพบว่า การลงทุนในหมวดก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ขณะที่การลงทุน ในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวเร่งขึ้น หลังจากใช้กำลังการผลิตในระดับที่สูง มาอย่างต่อเนื่อง
ด้านภาคการค้าต่างประเทศ ใน ปี 2548 มูลค่าการนำเข้าขยายตัวสูงเมื่อ เทียบกับมูลค่าการส่งออกเนื่องจากการ ขยายตัวที่เร่งขึ้นของสินค้าทุน วัตถุดิบ และน้ำมันดิบ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผล ของการเพิ่มขึ้นด้านราคา ส่งผลให้ดุล การค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลในปี 2548
เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยอัตราการว่างงานในปี 2548 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 1.9% ต่อปีจาก 2.1% ต่อปีในปีก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูง ขึ้น 4.5% ในปี 2548ตามราคาน้ำมันดิบ ที่ขยายตัวในระดับสูง แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2548 จะกลับมาขาดดุล ตามการขาดดุลการค้า แต่เสถียรภาพ เศรษฐกิจภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงจากทุนสำรองระหว่างประเทศได้ปรับเพิ่มขึ้นจาก 49.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2547 มาอยู่ที่ 52.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ เดือนธันวาคม 2548
|
|
|
|
|