โฉมใหม่ทีทีแอนด์ที ใช้กลยุทธ์โทเทิ่ล โซลูชั่น เป็นเพื่อนพึ่งพิงบริการด้านโทรคมนาคมทุกรูปแบบของลูกค้า
ในรูปลักษณ์ T-Trends ที่ผนึกบริการเสริมหลากรูปแบบ หลังทำให้ตลาดฮือฮาด้วยบริการโชว์เบอร์
มาคราวนี้ใช้ T-SMS บริการส่ง SMS ระหว่างโทรศัพท์พื้นฐานกับโทรศัพท์มือถือเอไอเอส
ดีแทค หรือกับแฟกซ์ อีเมล แต่หมัดเด็ดไตรมาสแรกปีหน้า เตรียมบริการ T-Buddy
ทำให้เบอร์บ้านกับเบอร์โทรศัพท์มือถือเป็นเบอร์เดียวกันด้วยหลักการแบบพีซีที
แต่บริการระดับโทรศัพท์มือถือเอไอเอส
ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีทีแอนด์ที กล่าวถึงแผนธุรกิจในปีหน้าว่าทีทีแอนด์ทีต้องให้บริการในลักษณะเป็นโทเทิ่ล
โซลูชั่นให้กับลูกค้าซึ่งจะเห็นทีทีแอนด์ที เป็นที่พึ่งบริการด้านโทรคมนาคม
ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์พื้นฐาน อินเทอร์เน็ต บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอด
แบนด์ แม้กระทั่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ตาม
"กลยุทธ์ไม่ได้มุ่งเน้นการขายลูกค้าใหม่ แต่จะเน้นลูกค้าที่ทำรายได้สูง
เลขหมายไม่ใช่เครื่องพิสูจน์ ความสำเร็จ เรื่องธุรกิจต่อไปไอพี ดาต้าอยู่ในระบบเดียวกัน
เราจะมุ่งเรื่องเสียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องไปมัลติมีเดีย อยู่บ้านก็ต้องสั่งซื้อของได้"
รายได้ในปีนี้ของทีทีแอนด์ที อยู่ที่ประมาณ 6,800 ล้านบาท ประมาณ 70% มาจากบริการด้านเสียง
หรือโทรศัพท์พื้นฐาน ที่เหลืออีก 30% เป็นบริการโทรศัพท์สาธารณะ บริการเสริมด้านต่างๆและการขาย
อุปกรณ์
"การแข่งขันปีหน้ารุนแรง ทีทีแอนด์ที ไม่อยู่นิ่ง เราต้องดูว่าบริการอะไรที่จะทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี
หรือกรณีการให้บริการทีทีแอนด์ทีโชว์เบอร์เรียกเข้าซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างคุณภาพการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น"
ทีทีแอนด์ที รุกหนักด้านบริการเสริมที่เป็น ตัวทำให้รายได้ต่อเลขหมายเพิ่มมากขึ้น
จากปัจจุบันที่รายได้ต่อเลขหมายประมาณ 570 บาท หลังประสบความสำเร็จกับบริการทีทีแอนด์ทีโชว์เบอร์
ด้วยยอดคนใช้บริการประมาณ 1 แสน เครื่อง ทีทีแอนด์ทีรุกตลาดรุนแรงขึ้นด้วยบริการ
T-SMS บริการรับส่งข้อความเป็นตัวอักษรทั้งภาษาไทยได้ 70 ตัวอักษรและภาษาอังกฤษได้
160 ตัวอักษร ระหว่างโทรศัพท์พื้นฐานกับโทรศัพท์พื้นฐานด้วยกัน,โทรศัพท์พื้นฐานกับโทรศัพท์มือถือในระบบของเอไอเอสกับดีแทค,
โทรศัพท์พื้นฐานกับแฟกซ์และระหว่างโทรศัพท์พื้นฐานกับอีเมล
ทีทีแอนด์ทีเลือกเปิดบริการ T-SMS ที่ จ.เชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 20-22
ธ.ค.ที่ผ่านมา ภายใต้งานที่เรียกว่า T-Trends ซึ่งถือเป็นการนำเอาบริการเสริมหลากหลายรูปแบบมาโชว์
T-SMS คาดว่าจะมีผู้ใช้ปีแรกประมาณ 4-5 หมื่นเครื่อง รายได้ในปีแรกประมาณ
70 ล้านบาท จากการคิดค่าบริการส่งข้อความครั้งละ3 บาท ทั่วประเทศและคิดจากประมาณการคนส่งเฉลี่ย
3-5 ครั้งต่อวัน ซึ่งลูกค้าที่สนใจใช้บริการต้องเป็นลูกค้าทีทีแอนด์ที และต้องซื้อหัวเครื่องโทรศัพท์ที่มีหลายยี่ห้อในหลายระดับราคาตั้งแต่
2 พันกว่าบาทขึ้นไป
T-SMS หรือเรียกอีกชื่อว่า Fix SMS เป็น บริการที่แพร่หลายในยุโรปมาก รวมทั้งในเอเชีย
อย่างฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซียที่มีแผนจะปิดให้บริการเช่นกัน ทีทีแอนด์ที
เลือกใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์จากบริษัท ZTE Corporation ซัปพลายเออร์จากจีน
ภายหลังคัดเลือก จากซัปพลายเออร์ 7 บริษัท ด้วยมูลค่าสัญญาเริ่มต้น 12 ล้านบาท
พร้อมรองรับการส่งได้ 2 หมื่นข้อความต่อชั่วโมง
ความน่าสนใจของ T-SMS อยู่ที่เทคโนโลยี ที่ใช้อยู่บนแพลตฟอร์มการส่ง SMS
หมายถึงผู้ให้บริการด้านคอนเทนต์ของโทรศัพท์มือถือผ่าน SMS ก็สามารถมาให้บริการผ่าน
T-SMS ของทีทีแอนด์ทีเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ยอดฮิตอย่างชินนี่ดอทคอม
ซึ่งเป้าหมายด้านการตลาดของ T-SMS ในช่วงแรกคือฐานลูกค้าของโทรศัพท์มือถือที่มีอยู่ประมาณ
15-16 ล้านเครื่อง เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่คุ้นเคยกับการส่ง SMS อยู่แล้ว
แต่ในอนาคตเมื่อจำนวนเครื่องโทรศัพท์พื้นฐานที่รองรับการส่ง T-SMS มีกว้าง
ขวางขึ้น ก็จะยิ่งมีการใช้งานส่งข้อความระหว่างโทรศัพท์พื้นฐานด้วยกันเองมากขึ้น
"ต่อไป T-SMS ก็ส่งภาพกราฟิก โลโก ริงโทนต่างๆ ได้เหมือนโทรศัพท์มือถือเพราะอยู่บน
SMS เหมือนกัน"
ประโยชน์ทางตรงที่ T-SMS จะได้ในรูปการ ใช้งานแทนเพจเจอร์ที่ปัจจุบันด้วยโครงสร้างค่าบริการและเทคโนโลยี
ไม่สามารถที่จะแข่งขันในตลาดได้ มีผู้ให้บริการคืนสัมปทานเกือบหมดแล้ว แม้กระทั่งรายใหญ่อย่างโฟนลิ้งค์
บริการนี้ยังได้เปรียบเพจเจอร์ทั่วๆไปตรงที่หากส่ง SMS เข้า โทรศัพท์มือถือ
ถึงแม้ปิดเครื่องหรืออยู่นอกพื้นที่ให้บริการ ข้อความดังกล่าวก็ยังถูกบันทึกในความจำอยู่สามารถเรียกดูข้อความภายหลังได้
T-SMS จะเป็นประโยชน์ทั้งกลุ่มลูกค้่าตาม บ้านและการใช้งานเชิงธุรกิจด้วยโครงสร้างค่าบริการที่เสียเพียงค่าบริการรายเดือน
30 บาทค่า ส่งข้อความละ 3 บาท แต่สามารถส่งไปยังเลขหมายปลายทางได้จำนวนมากและทั่วประเทศ
ภายใต้บริการเสริมที่มีอยู่หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น T-Variety ที่ให้บริการด้านออดิโอเท็กซ์
T-Box อุปกรณ์ที่ทำให้ทีวีกลายเป็นจอคอมพิวเตอร์ต่ออินเทอร์เน็ตพร้อมแป้นกดไร้สาย,บริการเว็บโฟนทั้งที่เป็นโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์สาธารณะ
ยังมี T-Netซึี่งเป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ตร่วมกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.)
โดยเริ่มทดลองตลาดใน 21 จังหวัดด้วยค่าบริการที่ถูกมากเพียงชั่วโมงละประมาณ
3 หรือ 4 หรือ 5 บาท ก่อนที่จะขยายบริการไปทั่วประเทศ
ไฮไลต์ของทีทีแอนด์ทีในปีหน้า น่าจะเป็นเรื่องบริการทีเรียกว่า T-Buddy
หรือบริการที่ทำ ให้เลขหมายโทรศัพท์บ้านกับโทรศัพท์มือถือเป็นเลขหมายเดียวกัน
คอนเซ็ปต์ธุรกิจดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วในต่าง ประเทศโดยจะเป็นการเหมาแอร์ไทม์ล็อตใหญ่จากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ
แล้วนำมาทำตลาด พ่วงไปกับบริการหรือสินคัาหลักของตัวเองที่มีอยู่
ทีทีแอนด์ที ย้ำชัดเจนว่าไม่สนใจให้บริการโทรศัพท์พกพาพีซีที แบบที่ทีเอให้บริการในกรุงเทพฯ
เนื่องจากระบบไม่มีความยืดหยุ่นที่ดีเพียงพอทั้งด้านเทคนิคและการตลาด แต่หลักการเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
ในกรณีที่นำมาปรับใช้กับเทคโนโลยีที่สามารถทำให้เบอร์บ้านกับเบอร์โทรศัพท์มือถือเป็นเบอร์เดียวกันได้
โดยที่หากโทร.เข้าเบอร์บ้านอาจให้กด 0 แต่หากโทร.เข้าเบอร์โทรศัพท์มือถืออาจกด
1 หรือไล่ไปตามลำดับอีกกี่เลขหมายก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมด้านเทคนิคและการตลาด
บริการลักษณะเช่นนี้จะเป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานกับโทรศัพท์มือถือ
ซึ่งได้ประโยชน์ร่วมกัน 2 ฝ่าย ด้านผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถรับประกันรายได้แน่นอนจากค่าบริการหรือแอร์ไทม์
ได้ ไม่มีปัญหานี้สูญ ไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องการดูแลลูกค้า หรือการออกบิลค่าใช้โทรศัพท์
ผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน ก็เท่ากับมีบริการใหม่เพิ่มขึ้นเป็นเครื่องมือการตลาดที่เหนือ
กว่าคู่แข่ง สามารถทำตลาดในลักษณะการบันเทิง บริการหลากรูปแบบ ภายใต้เบอร์โทรศัพท์พื้นฐานเพียงเบอร์เดียว
พร้อมทั้งสามารถขยายฐานลูกค้า ตามเข้าไปมีรายได้ แม้ลูกค้าจะเดินทางจาก พื้นที่บริการในภูมิภาค
เข้ามายังกรุงเทพฯ ซึ่งภาย ในไตรมาสแรกของปี 2546 ลูกค้าของทีทีแอนด์ทีในภูมิภาคน่าจะมีโอกาสได้สัมผัสกับบริการดังกล่าว
ซึ่งอัตราค่าบริการต้องอยู่ในระดับที่แข่งขันได้อยู่แล้ว
นายสุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ ผู้จัดการสำนักธุรกิจการให้บริการเสริมแบบ Non-Voice
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสหรือเอไอเอสที่ไปร่วมงาน T-Trends ของทีทีแอนด์ที
ที่เชียงใหม่กล่าวว่าการส่ง SMS หรือข้อความสั้น เป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและเอไอเอสได้พัฒนารูปแบบ
SMS ให้สนองตอบกับการใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นบันเทิง ธุรกิจรวมทั้งธุรกรรมด้านการเงิน
แต่ที่ผ่านมาการส่ง SMS ถูกจำกัดวงอยู่เฉพาะระหว่างโทรศัพท์มือถือ เอไอเอสจึงร่วมกับทีทีแอนด์ทีเพื่อพัฒนา
SMS ให้ส่งถึงกันได้ระหว่างโทรศัพท์พื้นฐานกับโทรศัพท์มือถือของเอไอเอส ไม่ว่าจะเป็นจีเอสเอ็ม
แอดวานซ์,วัน-ทู-คอลและจีเอสเอ็ม 1800 โดยลูกค้าของเอไอเอสที่จะส่งข้อความไปยังโทรศัพท์พื้นฐานของทีทีแอนด์ที
จะเสียค่าบริการเพียงครั้งละ 2 บาทเท่านั้น
"เป็นความต้องการของเอไอเอสที่จะผนวก เอาเทคโนโลยีสื่อสารต่างๆ เข้ารวมกับเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย
เพื่อให้โทรศัพท์มือถือเป็นเหมือนผู้ช่วยส่วนบุคคล ในการรวบรวมข้อมูล ข่าวสารจากทุกๆเครือข่ายสื่อสาร
ภายใต้คอนเซ็ปต์ Unified Message ที่ลูกค้าสามารถรับส่ง Messageทุกรูปแบบจากทั่วทุกมุมโลก
ด้วยโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว"