|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แฉพฤติกรรมอำพรางตระกูลชินวัตรก่อนทักษิณเป็นนายกฯ สมัยแรกตั้งนอมินีแอมเพิลริชขึ้นมารับโอนหุ้นล็อตใหญ่ 11% จากนั้นทำตัวผลุบๆ โผล่ๆ ถือหุ้นชินคอร์ปบางจังหวะไปซุกไว้ที่คัสโตเดียน ก่อนขายเทมาเส็กฯ หุ้นโผล่เท่าเดิม ส่วนดีลขายชินคอร์ปฉาวไม่เลิกหลังแกะรอยเม็ดเงินเทมาเส็กฯ ของจริงใส่เงินฮุบชินคอร์ปหลังเทนเดอร์ฯ กว่า 70% "ศิริโชค-ปชป." ซัดทักษิณตั้งแอมเพิลริชเพื่ออะไรช่วงก่อนเลือกตั้งแอมเพิลริชล่องหน ชี้ดีลขายชินคอร์ปให้เทมาเส็กฯ เรื่องโอละพ่อให้กู้เงินซื้อหุ้นกันเอง ส่วนแอมเพิลริชขายหุ้นคืนสัมพันธ์ ชินวัตร จี้เข้าข่ายซุกหุ้น ใช้ข้อมูลภายใน
จากกรณีที่ตระกูลชินวัตรใช้ Ample Rich Investments Limited ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN ตลอดจนการขายหุ้นชินคอร์ปให้กลุ่มสิงคโปร์ในลักษณะซับซ้อน นอกจากสร้างความกังขาในประเด็นซุกหุ้นแล้ว ยังพบว่าพฤติกรรมการถือครองหุ้นชินคอร์ปของ Ample Rich Investments Limited มีพฤติการคลุมเครือและอำพราง สะท้อนภาพความไม่โปร่งใสอย่างชัดเจน
ย้อนที่มาแอมเพิลริช
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุถึง Ample Rich Investments Limited ว่า เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.2542 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รายงานการขายหุ้นจำนวน 32.92 ล้านหุ้น คิดเป็น 11.875% ให้แก่ Ample Rich Investments Limited ซึ่งระบุว่ามีพ.ต.ท.ทักษิณ ถือหุ้น 100%
การโอนหุ้นจำนวนดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างว่าจะนำหุ้นบางส่วนไปปิดโอนในกระดานซื้อขายต่างประเทศ
ข้อมูลดังกล่าวจึงถือเป็นการให้ข้อมูล Ample Rich Investments Limited (แอมเพิลริช) เป็นครั้งแรกของพ.ต.ท.ทักษิณต่อสาธารณชน ซึ่งเปิดเผยตามกฎระเบียบ ก.ล.ต. รวมทั้งได้แจ้งไปยังตลาดหลักทรัพย์ฯ
อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่า หลังจากนั้นไม่ปรากฏความเคลื่อนไหวของแอมเพิลริชอีกที่น่าสนใจแอมเพิลริช ซึ่งเคยถูกระบุว่าจะให้เป็นผู้สนับสนุนในการระดมทุนในสหรัฐอเมริกาก็ไม่ปรากฏข้อมูลว่าดำเนินการใด ๆ ต่อการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ
กระทั่งในปี 2544 ชินคอร์ปได้รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2/2544 ต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าชะลอแผนการระดมทุนในสหรัฐฯ ดังกล่าวลง แม้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปแล้วก็ตาม
"ในไตรมาส 1/2544 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารจำนวน 298 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 236 ล้านบาท จากจำนวน 62 ล้านบาท ในไตรมาส 2/2543 หรือเพิ่มขึ้น 381% ทั้งนี้เนื่องมาจากการตัดค่าจำหน่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเตรียมระดมทุนไปตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐฯ ที่เคยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการออกหลักทรัพย์ในงบดุลด้านสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนรวม 232 ล้านบาท เนื่องจากสภาวะตลาดทุนในสหรัฐอเมริกา มีความผันผวนอยู่มากทั้งสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอยู่ในสภาวะถดถอย จึงทำให้บริษัทฯ ชะลอการระดมทุนในสหรัฐฯ ออกไปก่อน" บมจ. ชินคอร์ปแจ้งไว้
แอมเพิลริชพฤติกรรมอำพราง
สำหรับความเคลื่อนไหวของแอมเพิลริชหลังจากที่พ.ต.ท.ทักษิณ โอนหุ้นจำนวน 32.92 ล้านหุ้น (พาร์ 10 บาท) ไปแล้ว รวมถึงที่มีการแจ้งในการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต.เมื่อวันที่ 12 ต.ค.2544 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ถือหุ้นแอมเพิลริช ที่จัดตั้งในบริชติช เวอร์จิ้นฯ เพื่อประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ ทั้งจำนวนจนถึงวันที่ 30 พ.ย.แล้ว โดยไม่มีการแจ้งว่าใครเป็นผู้ถือหุ้นแอมเพิลริชต่อจากพ.ต.ท.ทักษิณ
ที่น่าสนใจภายหลังชื่อของแอเพิลริช ก็ผลุบเข้าผลุบออกจากรายชื่อผู้ถือหุ้นชินคอร์ปเป็นระยะ ๆ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่ปรากฏจากตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า ภายหลังหุ้นจำนวน 32.9 ล้านหุ้น ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ที่โอนให้แอมเพิลริช ก็พบว่าปรากฏชื่อแอมเพิลริชในรายชื่อผู้ถือหุ้นชินคอร์ป ณ 31 ก.ค.2544 ถึง 2 ลำดับ คือ แอมเพิลริช ถือหุ้น 22.92 ล้านหุ้น หรือ 7.80% และแอมเพิลริช ถือหุ้น 10 ล้านหุ้น หรือ 3.40% ซึ่งหากนับรวมกันก็จะได้เท่ากับ
ต่อมาเมื่อมีการปิดสมุดทะเบียนวันที่ 29 พ.ย. 2544 ชื่อแอมเพิลริชกลับไม่ปรากฏเป็นผู้ถือหุ้นชินคอร์ป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 เม.ย.2545 ปรากฏชื่อแอมเพิลริช ถือหุ้นชินคอร์ปเพียงแค่ 229.2 ล้านหุ้น หรือ 7.80% เท่านั้น ในขณะที่สัดส่วนอีก 3.40% หายไป แต่อย่างไรก็ดี กลับมีชื่อ UBS AG SINGAPORE BRANCH-PB SECURITIES ถือหุ้นชินคอร์ป 101.43 ล้านหุ้น หรือ 3.45% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียง สัดส่วนที่หายไป
ณ 21 มี.ค.2546 แอมเพิลริช ยังคงถือครองหุ้นชินคอร์ป 7.80% และUBS AG SINGAPORE BRANCH-PB SECURITIES ถือหุ้นชินคอร์ปใกล้เคียง 3.45% ไปจนถึงปี 2547 รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ชินคอร์ป ก็ไม่ปรากฏว่ามีแอมเพิลริช แต่ปรากฏมี UBS AG SINGAPORE,BRANCH-PB SECURITIES CL ถือหุ้นชินคอร์ป 253.24 ล้านหุ้น หรือ 8.58% และ UBS AG, SINGAPORE BRANCH ถือ 100.09 ล้านหุ้น หรือ 3.39%
ทั้งนี้ ชื่อแอมเพิลริชหายไปจนเมื่อวันที่ 11 มี.ค.2548 ก็ยังไม่มีชื่อแอมเพิลริช แต่กลับกลายเป็นว่าแอมเพิลริช ถือหุ้นชินคอร์ปผ่านคัสโตเดียน ซึ่งก็คือ UBS AG SINGAPORE,BRANCH-PB SECURITIES CL และ UBS AG, SINGAPORE BRANCH ถือ 100.09 ล้านหุ้น หรือ 3.39%
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2548 รายชื่อผู้ถือหุ้นที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ชัดเจนทั้งชื่อและจำนวนหุ้น โดยมีการระบุไว้ชัดเจนว่า UBS AG,SINGAPORE BRANCH-FOR A/C AMPLE RI 329.2 ล้านหุ้น หรือ 10.98% ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับที่พ.ต.ท.ทักษิณ แจ้งไว้ครั้งแรกว่า ได้โอนหุ้นให้แอมเพิลริช คือ 329.2 ล้านหุ้น (32.9 ล้านหุ้น พาร์ 10 บาท)
แหล่งข่าวในวงการค้าหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยว่า เป็นที่รับรู้กันดีว่าการไปจัดตั้งบริษัทในเกาะบริติช เวอร์จิ้น ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยส่วนใหญ่นอกจากเรื่องการเลี่ยงภาษีแล้วยังมีเหตุผลสำคัญเพื่อปกปิดการถือครองหุ้นของเจ้าของกิจการ เพื่อความคล่องตัวในการดูแลหุ้นหรืออีกนัยหนึ่งคล้ายกับมีไว้เพื่อควบคุมการสร้างราคาหุ้นของบริษัทฯ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ
ส่วนโครงสร้างของกลุ่มเทมาเส็กฯที่จัดตั้งขึ้นมาสำหรับการซื้อหุ้นชินคอร์ปนั้น เมื่อพิจารณาจากเม็ดเงินลงทุนที่กลุ่มเทมาเส็กฯใส่เข้ามาทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านบริษัทคนไทยรวมทั้งหมดพบว่าสัดส่วนการลงทุนในหุ้นชินคอร์ปที่แท้จริงของเทมาเส็กฯ (Efective Rate) คิดเป็นกว่า 70% โดยไม่นับในส่วนของคนไทยที่เข้าไปถือหุ้นผ่านกุหลาบแก้ว และซีดาร์ (แม้ในส่วนของคนไทยเองก็ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นตัวแทนหรือนอมินี)
ทั้งนี้เม็ดเงินก้อนแรกที่เทมาเส็กฯใส่เข้าในส่วนที่เข้ามาซื้อชินคอร์ป 7.33 หมื่นล้าน เมื่อคำนวณจากการถือหุ้นโดยตรงและโดยอ้อมแล้วพบว่าสัดส่วนการลงทุนในชินคอร์ปที่แท้จริงอยู่ที่ 44%
ส่วนเม็ดเงินรอบที่สองที่เทมาเส็กจะต้องจ่ายอีกก้อนเมื่อมีการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ (รับซื้อหุ้นจากรายย่อย) โดยสมมติฐานว่ามีรายย่อยขายให้ทั้งหมด 1,500 ล้านหุ้น(100%) หรือ 51% ที่เหลือ ในราคา 49.25 บาท โดยเทมาเส็กฯจ่ายผ่านไซเพรส และกุหลาบแก้ว รวม 5.08 หมื่น หรือคิดเป็น 34.7% เข้าข่ายซุกหุ้น-อินไซเดอร์
ด้านนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะคณะกรรมการตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ป กล่าววานนี้ในเวทีเสวนาของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เรื่อง "ขายหุ้นชินคอร์ป 73,000 ล้านบาท ตรงไปตรงมาจริงหรือ" ว่า ตระกูลชินวัตรขายหุ้น 7.3 หมื่นล้าน ทำไมไม่เสียภาษี พรรคประชาธิปัตย์ได้ศึกษามาตั้งแต่ปี 2542 ที่มีการโอนหุ้นกันให้บริษัทที่เกาะบริติช เวอร์จิ้น ของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยถ้าดูในแง่มุมกฎหมายว่าหุ้นที่โอนโดยเสน่หาไม่ต้องเก็บภาษี แต่หากจะเก็บภาษีต้องขายก่อน แต่มาในวันนี้จึงเกิดคำถามว่าขายแล้วทำไมไม่เก็บภาษี
ประเด็นสำคัญ คือ การถือครองหุ้นโดยคนต่างชาติ เพราะบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ที่จัดตั้งโดยกองทุนเทมาเส็ก มีลักษณะถือหุ้นแทนหรือไม่ และเป็นการถือหุ้นในลักษณะให้เงินยืมมาถือหุ้น รวมทั้งประเด็นเรื่องนี้จะเข้าข่ายของการซุกหุ้น และเป็นการใช้ข้อมูลภายในมาหาผลประโยชน์หรือไม่
นอกจากนี้วันที่ 20 ม.ค. 2549 มีการแจ้งว่าแอมเพิลริช ขายหุ้นให้คนในครอบครัวชินวัตรหุ้นละ 1 บาท ต่อมาอีกไม่กี่วันก็เอาหุ้นจำนวนดังกล่าวบวกกับหุ้นที่มีอยู่เดิม ขายให้กองทุนเทมาเส็กฯ ซึ่งน่าจะเข้าข่ายเป็นลักษณะของการใช้ข้อมูลภายในซึ่งต้องสืบค้นต่อไปว่า แอมเพิล ริช สัมพันธ์อย่างไรกับตระกูลชินวัตร ถ้านายกฯ อ้างว่า ไม่มีอะไรเกี่ยวพันกัน การดำเนินการขายหุ้นดังกล่าวของครอบครัวนายกรัฐมนตรีก็เข้าข่ายการใช้ข้อมูลภายในแล้ว และอาจต้องถูกปรับ ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
"แต่ถ้าบอกว่า แอมเพิล ริช มีนิติสัมพันธ์ ก็เท่ากับซุกหุ้น ถ้าบอกไม่สัมพันธ์ก็ต้องบอกว่าเป็นการใช้ข้อมูลภายใน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก็ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง" นายศิริโชค กล่าว
เขากล่าวอีกว่า เมื่อปี 2542 ก.ล.ต.ก็เคยตรวจสอบแล้ว เพราะความเกี่ยวพันกับคดีซุกหุ้น ตอนนั้นเจ้าของ คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งนายบุญคลี ปลั่งศิริ ก็แจ้งว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้โอนหุ้นส่วนหนึ่งให้แอมเพิล ริช เพื่อการเตรียมลงทุนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหลักฐาน ถึง 2 ครั้ง แต่นายกฯ ไม่ได้มีแจ้งในบัญชีทรัพย์สินที่ให้ไว้กับป.ป.ช.ตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในสมัยแรกว่า ไม่มีการถือหุ้นในแอมเพิลริช
"ขณะนี้เรารู้แล้วว่า สาเหตุหนึ่งที่ต้องถือหุ้นในนามแอมเพิล ริช เพราะเป็นการถือหุ้นแทน เพื่อขายคืนราคา 1 บาท ที่จะนำไปทำกำไร"
นายศิริโชค กล่าวอีกว่า ที่เกิดขึ้นคือเหมือนครอบครัวชินวัตร ไปตกลงซื้อขายหุ้นกับกลุ่มเทมาเส็กเรียบร้อยแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นก็ไปซื้อหุ้นจากแอมเพิล ริช ในราคา 1 บาท ถ้าไม่มีนิติสัมพันธ์กันจะไปยอมขายได้อย่างไร เพราะในเวลาตั้งโต๊ะขายกลับขายในราคา 49.25 บาท ถ้าอ้างว่าเป็นบริษัทของครอบครัว ก็ต้องตอบว่าเงินที่เอาไปซื้อหุ้นแอมเพิล ริช นั้นมาจากไหน แล้วทำไมแอมเพิล ริช ไม่ขายให้เทมาเส็กโดยตรง ซึ่งตนเห็นว่าถ้าเป็นอย่างนั้น จะมีปัญหาในเรื่องการถือหุ้นโดยนายทุนต่างด้าวจะเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และถ้าขายโดยตรงก็จะต้องถูกเก็บภาษี ณ ที่จ่าย มากถึง 15% เพราะเป็นนิติบุคคล ที่จดทะเบียนในต่างชาติ ทางออกที่ปลอดภัยคือต้องขายให้บุคคลธรรมดา การโอนหุ้นครั้งล่าสุดสรรพากร พยายามพูดเรื่องการซื้อขายสินค้าราคาถูก เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แอมเพิล ริช เพราะคราวนี้จะมาอ้างว่าเป็นการโอนด้วยเสน่หาไม่ได้
อยากให้มองเรื่องนี้ในภาพกว้าง เพราะการแกะรอยเส้นทางเงิน ต้องย้อนตั้งแต่ปี 2542 ต้องถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณไปตั้งบริษัทแอมเพิล ริชนี้ขึ้นมาทำไม และเราก็ได้รับคำตอบ จากนายบุญคลีที่แจ้งไปยัง ก.ล.ต.ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ถือหุ้นในแอมเพิล ริช เพื่อต้องการที่จะนำหุ้นชินคอร์ปลงทุนใน ตลาดสหรัฐอเมริกา แต่จนถึงตอนนี้หุ้นชินคอร์ป ก็ไม่ได้ไปจดทะเบียนลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อเมริกา และเท่าที่ติดตามเรื่องนี้ยังพบว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของชินคอร์ปรายหนึ่ง คือ แอมเพิล ริช จำนวนหุ้น 11.88%
พอมาช่วงต้นปี 2548 ก่อนเลือกตั้ง แอมเพิล ริช ก็หายไปจากบัญชีผู้ถือหุ้น และมารู้เมื่อ 20 ม.ค.นี้เองว่า ไปถือหุ้นในนาม ยูบีเอส สิงคโปร์แบงก์ เท่ากับตอนนี้เราตามไม่ได้เลยว่า ใครเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของแอมเพิล ริช แล้วก็มีการขายหุ้นแอมเพิล ริช หุ้นละ 1 บาท ซึ่งตรงนี้ก็เป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ถือหุ้นแท้จริง ทั้งนี้หลังการขายหุ้น ตนคิดว่านายกฯ น่าจะนำเงินไปลงทุนที่ดาวเทียมไอพีสตาร์ต่อ เพราะมีผลประโยชน์มหาศาล
|
|
 |
|
|