Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 มกราคม 2549
โออิชิประชุมบอร์ดชุดใหม่ก.พ.คู่แข่งมาร์เกตแชร์ต่ำ 5% ไม่รอด             
 


   
www resources

โฮมเพจ โออิชิ กรุ๊ป

   
search resources

โออิชิ กรุ๊ป, บมจ.
Green Tea




โออิชิ ยื่นเปลี่ยนแปลงบอร์ดต่อกระทรวงพาณิชย์ เตรียมเรียกประชุมภายในเดือนก.พ. กำหนดนโยบายหลังเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่ "ตัน" ลุ้นอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ระบุให้เป็นหน้าที่ของบอร์ด เผยโรงงานใหม่เตรียมเดินหน้าผลิตชาเขียวเพิ่ม ชี้ลดต้นทุนได้กว่า 20% หวังใช้เครือข่ายพันธมิตรต่อยอดธุรกิจในต่างประเทศ เชื่อสุดท้ายคู่แข่งที่มาร์เกตแชร์ต่ำกว่า 5% ต้องปิดตัวลง พร้อมอ้อนนักลงทุน ถือลงทุนระยะยาว

นายตัน ภาสกรนที ประธานกรรมการ บริษัท โออิซิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI กล่าวถึงขั้นตอนต่อไปหลังจากการขายหุ้นของบริษัทให้กลุ่มพันธมิตรใหม่ทั้งกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และกลุ่มทุนจากสิงคโปร์ว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการยื่นเพื่อขอเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ ก่อนจะมีการร่วมประชุมระหว่างคณะกรรมการเก่าและคณะกรรมการใหม่ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มพันธมิตรในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2549

ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนในระดับของกรรมการจะส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนในส่วนของตำแหน่งกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงินหรือ CFO แต่ในตำแหน่งประธานกรรมการ หรือ CEO ตนเองจะยังรั้งตำแหน่งเดิม โดยบริษัทจะยังมุ่งเน้นการพัฒนาและขยายการลงทุนในธุรกิจชาเขียวที่ยังมีแนวโน้มการเติบโตในอนาคตอีกมาก แม้ว่าอัตราการเติบโตจะไม่โดดเด่นเท่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

สำหรับการหารือในครั้งแรกของคณะกรรมการชุดใหม่จะมีการกำหนดนโยบายของบริษัท เพื่อให้สอดคล้องและรองรับกับเครือข่ายและ การประสานประโยชน์ของกลุ่มในอนาคต และจะมีการหารือเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลของบริษัทสำหรับงวดปี 2548 ซึ่งในระยะสั้นบริษัทยังไม่มีแผนการลงทุนเพิ่ม เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้มีการลงทุนเพิ่มสร้างโรงงานใหม่ประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งจะพร้อมเปิดได้ในช่วงเดือนมีนาคม 2549 นี้ โดยอาจจะทำให้บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้

ในส่วนของโรงงานใหม่ของบริษัทได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ประกอบกับการวางแผนในการสร้างโรงงานเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในรูปของต้นทุนการผลิตชาเขียวจากโรงงานใหม่ต่ำกว่าโรงงานเก่าประมาณ 20% โดยกำลังการผลิตในส่วนของโรงงานเก่าอยู่ที่ 30 ล้านขวดต่อเดือนต่อเครื่องจักร 4 เครื่อง ขณะที่กำลังการผลิตในโรงงานใหม่อยู่ที่ประมาณ 20 ล้านกว่าขวดต่อเดือน ต่อเครื่องจักร 2 เครื่อง โดยจะเริ่มรับรู้รายได้ได้ทันทีเมื่อมีการเปิดใช้

นายตันกล่าวอีกว่า การร่วมทำธุรกิจกับกลุ่มพันธมิตรในครั้งนี้จะส่งผลประโยชน์ในเรื่องช่องทางการขาย ตลอดจนการขยายธุรกิจของบริษัท โดยประโยชน์ที่ชัดเจนในเรื่องความเชี่ยวชาญในส่วนของโรงงานผลิตสินค้า เนื่องจากกลุ่มพันธมิตรมีการดำเนินธุรกิจในหลายประเทศและมีความชำนาญในเรื่องดังกล่าวค่อนข้างสูง

นอกจากนี้ในแง่ของต้นทุนสินค้าบริษัทจะมีการเข้ามาดูรายละเอียดในส่วนของรายการที่เป็นรายจ่ายในอันดับต้นๆ เพื่อต่อรองในส่วนของการสั่งซื้อสินค้าบางรายการให้ถูกลง เพราะบริษัทในกลุ่มของพันธมิตรถือว่าเป็นกลุ่มที่ใช้สินค้าบางรายการที่ค่อนข้างสูงทำให้ราคาซื้อสินค้าบางรายการต่ำกว่าบริษัท

"เราคงต้องใช้ประโยชน์ที่จะส่งผลต่อการขยายธุรกิจ ซึ่งในอนาคตเราอาจจะเห็นน้ำดื่มที่เป็นยี่ห้อโออิชิก็ได้ ในเรื่องของโรงงานเราก็ไม่ต้องสร้างใหม่แต่กลับสามารถเพิ่มสินค้าประเภทใหม่ๆ ตอนแรกๆ เราก็ต้องดูเรื่องที่ง่ายๆ ก่อนและค่อยขยายทีหลัง" นายตันกล่าว

ด้านการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ เครือข่ายของบริษัทในเครือของกลุ่มพันธมิตร คือช่องทางที่สำคัญที่จะต่อยอดการทำธุรกิจชาเขียวของบริษัท โดยเครือข่ายในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร จะเป็นกลุ่มที่เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้บริโภคต่างชาติรู้จักสินค้าภายใต้แบรนด์ โออิชิมากขึ้น

นายตัน กล่าวอีกว่า สำหรับแนวโน้มของธุรกิจชาเชียวในอนาคต กลุ่มที่มีมาร์เกตแชร์ต่ำกว่า 5% จะต้องปิดตัวลงไป เนื่องจากค่าใช้จ่ายทั้งในเรื่องต้นทุนสินค้ารวมถึงค่าทำการตลาด ซึ่งจะทำให้ไม่คุ้มทุน โดยสุดท้ายจะทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะชาเชียวเหลือแข่งขันกันเพียง 4-5 บริษัทเท่านั้น

ในส่วนของนักลงทุนที่จะยังลงทุนในหุ้นของบริษัทโออิชิ หรือกลุ่มที่ถือหุ้นของบริษัทโออิชิอยู่แล้ว คงต้องให้เวลาว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง หลังจากได้เปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท โดยสิ่งที่ต้องการจะย้ำให้ชัดเจนกลุ่มพันธมิตรที่นำโดยนายเจริญ สิริวัฒนภักดี มีบริษัทที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งการบริหารงานในธุรกิจชาเขียวจึงไม่น่าจะมีการปรับเปลี่ยน ทั้งนี้ต้องการให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ถือลงทุนในระยะยาว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us