|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กสท ยอมขายไทยโมบาย 1900 มูลค่า 1,310 ล้านบาท หากทีโอทียอมรับหนี้สิน ส่วนสิทธิความถี่ เจรจา กทช. เอาเอง ขอเดินหน้าธุรกิจซีดีเอ็มเออย่างเต็มตัว ไม่อยากลงทุนซ้ำซ้อน ด้านกลุ่มสามารถสนใจร่วมเป็นพันธมิตรด้านการตลาดเต็มตัว อาศัยจุดแข็งไอโมบายและความสำเร็จการเปิดตลาดมาเลเซีย กัมพูชา อินโอนีเซีย
นายธีรศักดิ์ กาญจนศักดิ์ชัย คณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า การที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สามารถได้ข้อสรุปเสนอซื้อไทยโมบาย 1900 ในสัดส่วนหุ้นที่ กสท ถืออยู่ 42% และสิทธิคลื่นความถี่ของ กสท อีก 50% ในราคา 1,310 ล้านบาท ทาง กสท พร้อมรับและยินดีที่จะขาย เพื่อให้เกิดข้อยุติและเป็นการลดการลงทุนซ้ำซ้อน ที่ขณะนี้ กสท จะเดินหน้าให้บริการธุรกิจซีดีเอ็มเออย่างเต็มตัว ทั้งนี้ มูลค่าที่ ทีโอที เสนอมานั้น ทางบอร์ด กสท จะเร่งให้ข้อสรุป
"เราพร้อมที่จะขายอยู่แล้ว และบอร์ดเองก็เห็นชอบมานานแล้ว หากตัวเลขที่เสนอมาหักลบกลบหนี้ทั้งหมด และทีโอทีรับภาระเอง กสท ก็ยินดีที่จะรับข้อเสนอ ส่วนเรื่องสิทธิความถี่ ทางทีโอทีก็จะต้องเป็นผู้ไปดำเนินตกลงกับทางคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เอาเอง"
นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที กล่าวว่า หนี้สินจำนวนดังกล่าว หากซื้อขายเสร็จสมบูรณ์แล้วทีโอทียินดีแบกรับภาระหนี้ไว้เองทั้งหมด โดยบอร์ดทีโอทีให้ดำเนินการผ่านคณะกรรมการบอร์ดของไทยโมบาย ก่อนให้ส่งเรื่องต่อไปยังบอร์ดของ กสท เพื่อพิจารณาเห็นชอบในการซื้อขายในครั้งนี้ ซึ่งเรื่องนี้บอร์ดต้องการได้ข้อสรุปภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้
ทั้งนี้หนี้สินของไทยโมบายนั้น เป็นหนี้ที่เกิดจากการจ้างบริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำระบบบิลลิ่ง 1,400 ล้านบาท และบริษัท ซีเมนส์ ในการนำซื้ออุปกรณ์จำนวน 700 ล้านบาท
"ตัวเลขที่เสนอไปถือว่าเหมาะสมแล้ว ทีโอทีจะยืนยันอยู่ราคานี้ จะไม่มีการต่อรองอีกเมื่อเทียบกับภาระหนี้สิน 2,100 ล้านที่มีอยู่ ถ้าทุกอย่างได้ข้อสรุป 1 มี.ค. ทีโอทีก็เริ่มเดินหน้า ทำตลาดไทยโมบายในรูปบริการ 3จีทันที"
สำหรับแผนธุรกิจทีโอทีนั้น ได้มีการวางแผนรองรับไว้แล้ว เพื่อให้ทีโอทีมีความชัดในการลงทุนในธุรกิจดังกล่าว ทั้งการทำตลาด ปรับระบบไป สู่ 3จี การเจราจาหาพันธมิตร โดยเป็นลักษณะของการร่วมดำเนินงานเพื่อให้ไทยโมบายสามารถทำธุรกิจแข่งขันกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นได้ โดยเฉพาะการทำตลาดบริการ 3จี
นายจง ดิลกสมบัติ กรรมการผู้อำนวยการสายธุรกิจการสื่อสารข้อมูลและอุปกรณ์สื่อสารไอที บริษัท สามารถ อินโฟมีเดีย จำกัด กล่าวว่า การที่ทีโอทีจะเปิดโอกาสหาพันธมิตร เข้าร่วมลงทุน หรือให้บริการทางการตลาดกับไทยโมบาย 1900 ทางกลุ่มสามารถฯ อาจจะมีแนวทางเข้าไปนำเสนอรูปแบบการเป็นพันธมิตรร่วมกัน แต่ในระหว่างนี้จะต้องขอดูโมเดลทางธุรกิจที่จะดำเนินกันว่าจะทำในลักษณะใด ซึ่งกลุ่มสามารถมีความพร้อมรองรับ ทั้งในรูปแบบการทำตลาด ช่องทางจำหน่าย ผู้จัดหาเครื่อง ประกอบกับในปัจจุบันเป็นผู้ดำเนินการทางการตลาดบางส่วนให้กับไทยโมบาย อาทิ รับชำระเงิน จดทะเบียนเลขหมาย คอลเซ็นเตอร์
"การเปิดโอกาสของไทยโมบาย ทางกลุ่มก็สนใจที่จะเข้าเป็นพันธมิตร แต่ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือรายละเอียดที่ชัดเจนออกมาถึงเรา หากเป็นการร่วมทุนเราก็ไม่พร้อม แต่ทำเป็นการทำการตลาดหรือสนับสนุนช่องทางในส่วนนี้กลุ่มสามารถก็มีความพร้อม เพราะที่ผ่านมาสามารถและไทยโมบายก็มีการดำเนินงานบางส่วนร่วมกัน การเข้าใจตลาดจึงไม่ยากมาก และเราก็มีโมเดลที่ประสบความสำเร็จในประเทศมาเลเซีย กัมพูชา"
ส่วนการที่ไทยโมบายจะเดินหน้าไปสู่ 3จี ในจุดนี้ทีโอทีจะต้องพิจารณาจุดยืน และความพร้อมในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าไปทำ การตลาด เพราะตลาดการแข่งขันมือถือในปัจจุบันยังมีช่องว่างอีกมาก ถึงแม้ว่าโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ จะมีการออกโปรโมชันออกมาจำนวนมาก แต่ในจุดนั้นเป็นเพียงแค่ลูกเล่น หากมีการพิจารณาเปรียบเทียบแล้ว อัตราราคานั้นไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก
ทั้งนี้ ธุรกิจไทยโมบาย 1900 หลังจากที่ได้ออกแคมเปญ "ใครไม่มีมือถือยกมือขึ้น" ตั้งแต่ปี 2547 ที่มีผลการตอบรับจากลูกค้า ที่เข้ามาสอบถามในร้านไอโมบาย เป็นจำนวนมาก แต่ในขณะนี้มียอดที่ลดน้อยลง ซึ่งในส่วนนี้ได้แสดงถึงไทยโมบายนั้นสามารถเดินหน้าแข่งขันหาตลาดได้ โดยเฉพาะตลาดระดับล่าง เพียงแต่ไทยโมบายหาบริการเสริมอื่นเข้ามา สร้างจุดเด่นเสริมความสนใจให้เป็นทางเลือก
"หากทีโอทีปรับด้านการตลาด ในขณะนี้ออกแคมเปญออกมาอีก มีการทำตลาดเข้าถึงเซกเมนต์หรือทำกิจกรรมตลาดออกมา จะมีผลการตอบรับที่ดี เพราะตลาดลูกค้าในเขต กทม. ปริมณฑล ยังมีช่องว่างทางการแข่งขันอยู่จำนวนมาก ดังนั้นหากทีโอทีสามารถกำหนดทิศทางได้ การแข่งขันเพื่อสร้างตลาดรองรับ 3จี ก็จะเข้าไปยืนในจุดนั้นได้"
|
|
|
|
|