Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 มกราคม 2549
คลังขายฝันเมกะโปรเจกต์ดึงนักลงทุนเยอรมันลงขัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กระทรวงการคลัง
Investment
Transportation




คลัง-ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินหน้า โรดโชว์ขายฝันเมกะโปรเจกต์ระบบราง ดึงนักลงทุน เยอรมันร่วมลงทุน

นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) (MFC) ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการระบบขนส่งมวลชน เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะเดินทางไปนำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) เกี่ยวกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ของรัฐบาล ที่ประเทศเยอรมนีระหว่างวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์นี้ โดยเนื้อหาหลักของการโรดโชว์จะเน้นไปที่โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน 7 สาย ซึ่งมีการให้ข้อมูลรายละเอียดในเชิงลึกว่าจะต้องมีการลงทุนอะไรและอย่างไรบ้างรวมทั้งจะอธิบายถึงแหล่งที่มาของเงินทุนด้วย

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแหล่งที่มาของเงินทุนนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการสรุปที่ชัดเจนว่าจะมาจากช่องทางใดบ้าง โดยอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลจากนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งจะมีการสรุปข้อมูลตรงนี้อีกครั้งหนึ่งว่าแหล่งที่มาควรมาจากช่องทางใดบ้าง

"ทางเราเป็นผู้ดูแลในเรื่องการให้คำแนะนำถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่าจะใช้หลักในการคัดเลือกอย่างไร ซึ่งการคัดเลือกหลักๆ จะดูจาก 3 ข้อ คือ 1.ด้านวิศวกรรมว่าจะมีการก่อสร้างอะไรยังไงบ้าง 2.ดูว่าจะเอาเงินมาจากไหน และ 3.การบริหารจัดการ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในช่องเฟสแรกคือขั้นตอนของการคัดเลือกผู้มาดำเนินงานและรูปแบบของการก่อสร้างเท่านั้น" นายพิชิตกล่าว

สำหรับในเรื่องของการบริหารจัดการ ตอนนี้ถือเป็นเรื่องยังไม่ได้มีการพูดคุยกันมากเท่าไร ซึ่งในระยะยาวคงต้องหารือกันอีกว่าใครจะมาเป็นผู้ดูแลตรงนี้ โดยเฉพาะคนที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ (เร็กกูเรเตอร์) และผู้กำกับดูแล (โอเปอเรเตอร์) ซึ่งในส่วนของผู้กำกับดูแลนั้นขณะนี้อยู่ในช่วงที่กฤษฎีกากำลังร่างกฎหมายอยู่ โดยอาจให้เอกชนไปทำหรือให้รัฐบาลเข้ามากำกับดูแลก็ได้

ส่วนในเรื่องของแหล่งเงินทุนนั้นอาจไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งเงินทุนจากรัฐบาลทั้งหมด เพราะอาจเปิดให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้มากขึ้น ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นที่นิยมกันมากในต่างประเทศอยู่แล้ว ทั้งนี้เงินลงทุนสำหรับโครงการรถไฟฟ้า 7 สาย ปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั้งหมดประมาณ 4.2 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 2.8 แสนล้านบาท และระบบราง อีก 1.4 แสนล้านบาท

นายพิชิต กล่าวว่า การเดินทางไปโรดโชว์ที่เยอรมนีในครั้งนี้ เป้าหมายหลักคือการเข้าไปพบนักลงทุนในประเทศมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีผู้สนใจเข้ามาร่วมประมูลเพื่อขอร่วมให้บริการในรถไฟฟ้าทั้ง 7 สายนี้ก็ได้ ซึ่งในประเทศเยอรมนีเอง ถือเป็นประเทศที่มีนักลงทุนรายใหญ่ๆ ค่อนข้างมาก

ทั้งนี้ ในช่วงก่อนหน้า บลจ.เอ็มเอฟซี ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ศึกษาแนวทางการระดมทุนโครงการรถไฟฟ้า 7 เส้นทาง ซึ่งประกอบด้วย 1. สีเขียวอ่อน ระหว่างพรานนก-สมุทรปราการ 2. สีเขียวเข้ม ระหว่างบางว่า-สะพานใหม่ 3. สีน้ำเงิน วงแหวน-จรัญสนิทวงศ์ 4. สีม่วง บางใหญ่ ราษฎร์-บูรณะ 5. สีส้ม บางกระปิ-บางบำหรุ 6. สายสีแดงเหนือ-ใต้ ระหว่าง รังสิต-มหาชัย และ 7. สายสีแดง ตะวันตก-ตะวันออก ระหว่าง ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ ได้เสนอแนวคิดในการระดมทุนโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การลงทุนโดยรัฐบาล และการเปิดสัมปทานให้กับภาคเอกชน

สำหรับวงเงินลงทุนในส่วนของระบบราง 2.8 แสนล้านบาท ส่วนแรกจะเปิดสัมปทานให้กับภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นค่าเซ้งพื้นที่จะเปิด Open Bid คิดเป็นเงินประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาท ส่วนที่สองจะออก Revenue Bond ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการเก็บภาษีเฉพาะคนที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบขนส่งราง เช่น ภาษีป้ายรถยนต์ในกรุงเทพฯ คาดว่าจะมีเงินเข้ามาประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาท

ส่วนที่สาม เป็นรายได้ที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่ของกรมธนารักษ์ ในส่วนใกล้เคียงกับบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทั้ง 7 สาย ซึ่งจะออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ให้กับนักลงทุนที่สนใจ คาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้ามาเพิ่มเติมประมาณ 8 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us