แบงก์กรุงไทยตั้งเป้า 3 ปีเร่งขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิให้ได้ 180,000
ล้านบาท เพื่อเพิ่มขนาด ของสินทรัพย์ดีแหล่งรายได้ของธนาคาร เน้นปล่อยกู้ให้
กับภาครัฐ ตามด้วยเอสเอ็มอี ขณะที่ในปี 46 ตั้งเป้าปล่อย กู้เพิ่มขึ้นสุทธิ
70,000 ล้านบาทแย้ม ไต๋หากต้องการทำ ได้ตามเป้าต้องปล่อยกู้ถึงแสนล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ว่า หลังจากที่ธนาคารได้ปรับโครงสร้าง
ทุนครั้งสำคัญ โดยในเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ธนาคารได้ซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิ
(Warrant) คืนจากกองทุนฟื้นฟูฯจำนวนประมาณ 10,800 ล้านหน่วย ในราคาหน่วย
ละ 61 สตางค์ รวมเป็นเงิน 6,588 รวมถึงการแก้ปัญหาขาดทุนสะสม เกือบ 80,000
ล้านบาทลงมาเหลือขาดทุนสะสมเพียง 84 ล้านบาท
ขณะที่ด้านผลการดำเนินงาน ของธนาคาร ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ
โดย 9 เดือน(ม.ค.-ก.ย. 45)สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมาธนาคารมีกำไรสุทธิ
7,475.62 ล้านบาทสูงที่สุดเมื่อเทียบ กับธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ เพิ่ม ขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน
13,171.73 ล้านบาท หรือร้อยละ 231.24
ปัจจัยที่เกื้อหนุนให้ผลกำไรของธนาคารโดดเด่นกว่าธนาคารอื่น มาจาก ธนาคารมีภาระการตั้งสำรอง
ค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 99.84 เพราะธนาคารได้สำรองครบตามเกณฑ์ที่ธปท.กำหนด
อีกทั้งยังตั้งสำรองเกินไปอีกกว่า 5,000 ล้านบาท
ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าธนาคารกรุงไทยในยุคปัจจุบันกำลังเข้าสู่การ ดำเนินธุรกิจในเชิงรุกอย่างเต็มที่
ภายหลังธนาคารได้ปัดกวาดปัญหาต่างๆภายในธนาคารเป็นที่เรียบร้อย ประกอบกับปัญหาสินเชื่อ
ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ของธนาคารอยู่ในระดับที่ต่ำ ในเดือนพฤศจิกายน
2545 หนี้เสียอยู่ที่ 66,896.96 ล้านบาทหรือ 7.53% ของสินเชื่อก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่อยู่ในระดับ 72,874.45 ล้านบาทหรือ 8.27%
3 ปีปล่อยสินเชื่อสุทธิ 1.8 แสนลาน หวังเพิ่มสินทรัพย์ดี
โดยธนาคารได้จัดทำแผน 3 ปี ระหว่างปี 2546-2548 ตั้งเป้าขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิ
100,000-180,000 ล้านบาท หรือยอดสินเชื่อ สุทธิเพิ่มขึ้น 8-11% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าระบบที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะขยายตัวเพียง
2-3% โดยสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มขึ้นแบ่งเป็นสินเชื่อภาครัฐและสินเชื่อเอกชนในสัดส่วน
50 ต่อ 50
สำหรับแผนการปล่อยสินเชื่อ ในปี 2546 ธนาคารตั้งเป้าจะขยายสิน เชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิ
70,000ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อที่ปล่อยให้กับภาครัฐ 40,000 ล้านบาท ที่เหลือปล่อยกู้ให้
กับภาคเอกชนโดยจะเน้นการปล่อย สินเชื่อให้กับสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)
ส่วนสินเชื่อปล่อยกู้ให้กับธุรกิจจะให้ ความสำคัญเป็นอันดับสุดท้าย
อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าถ้าจะปล่อยสินเชื่อให้เพิ่มขึ้นสุทธิ 70,000 ล้านบาท
ธนาคารต้องปล่อยสินเชื่อ ใหม่ไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท เนื่องจากระหว่างปีจะมียอดสินเชื่อ
ชำระคืนเข้ามาด้วยทำให้ยอดสินเชื่อปรับตัวลดลง
ทั้งนี้ ในส่วนของธุรกิจเอสเอ็ม อี และธนาคารชุมชนธนาคารยังให้ ความสำคัญโดยสินเชื่อเอสเอ็มอีธนาคารตั้งเป้าจะปล่อยกู้ประมาณ
1,000 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่าการที่ธนาคารกรุงไทยเน้นปล่อยสินเชื่อให้แกภาครัฐส่วนใหญ่ก็จะปล่อยกู้ให้กับกระทรวงการคลังและปล่อยกู้
ให้กับรัฐวิสาหกิจและการปล่อยสินเชื่อภาครัฐถือว่าเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำ
เนื่องจากกระทรวงการคลังค้ำประกัน
นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการ ผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทยกล่าวว่า ในช่วงไตรมาส
3 ของปีนี้สินเชื่อของ ธนาคารขยายตัวมากถึง 12% ซึ่งถือ ว่าเป็นอัตราการเติบโตที่สูง
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เอกชนมีอัตราการขยายตัวเพียง 3% ในจุดนี้เมื่อนำมา เฉลี่ยแล้วดึงให้สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในไตรมาส
3 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.6%
สำหรับส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบที่ปรับตัวดีขึ้นเกิดจากธนาคารพาณิชย์ได้
มีการแก้ไขได้เพิ่มขึ้นทำให้ธนาคาร พาณิชย์มีรายได้เพิ่มขึ้นในจุดนี้ทำ ให้ส่วนต่างดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้นไปด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ยอดสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย ณ สิ้นไตรมาสที่ส
3 ที่ผ่านมา มียอดเงินให้สินเชื่อรวมดอกเบี้ยค้างรับ
819,780 ล้านบาท แต่หลักค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสูญ 54,323 ล้านบาท และหักค่าเผื่อการปรับมูลค่าจากการปรับโครงสร้างหนี้อยู่ที่
8,050 ล้านบาท รวมเงินให้สินเชื่อและดอก เบี้ยค้างรับสุทธิ 757,407ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีธนาคารกรุงไทยได้ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นเดือนละ
10,000 ล้านบาท โดยมีอัตราการขยายไม่ต่ำกว่า 10%
ขณะที่นายจำลอง อติกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า
ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิ 16,000
ล้านบาท ซึ่งสินเชื่อทื่ปล่อยเพิ่มขึ้นถือว่าเป็นสินเชื่อสูงกว่าเป้าทั้งปีที่ธนาคารตั้งไว้
สำหรับเป้าสินเชื่อในปี 2546 ธนาคารตั้งเป้าจะปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิ
18,000 ล้านบาท หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 5% โดยธนาคารยังเน้นปล่อยสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอี
อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกและสินเชื่อที่อยู่อาศัย