|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จุฬาฯ ควักกระเป๋า 2,700 ล้านบาท ปรับแผนฟื้นตึกจุฬาฯ ไฮเทคใหม่ หลังจากยืดเยื้อมากว่า 10 ปี เล็งผุดอาคารสำนักงาน เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ รับแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน พร้อมเดินหน้าตามแผนพัฒนา 20 ปี สร้างคอมเพล็กซ์ สยามสแควร์ ตลาดสามย่านและเจริญผล
แหล่งข่าวจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ ได้ปรับแผนการพัฒนาที่ดินบริเวณตึกจุฬา ไฮเทค สแควร์ใหม่ หลังจากที่ปล่อยทิ้งให้เป็นอาคารร้างมานานนับสิบปีโดยตามแผนเดิมหลังจากที่ทางจุฬาฯ ต้องการให้เอกชนร่วมลงทุน แต่ภายหลังโครงการดังกล่าวไม่คืบหน้าจึงได้ตัดสินใจจะลงทุนพัฒนาเอง โดยให้บริษัท รวมนครก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ด้วยงบประมาณเบื้องต้นจำนวน 300 ล้านบาท พัฒนาในส่วนของชั้นใต้ดินที่เป็นส่วนของที่จอดรถ และพื้นที่ชั้น 13 เพื่อใช้ในกิจการของจุฬาฯ กำหนดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2548 แต่เมื่อครบกำหนดการก่อสร้างมีความคืบหน้าเพียง 70% เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมบริเวณชั้นใต้ดินทำให้การก่อสร้างหยุดไปถึง 3 เดือน
นอกจากนี้ ทางจุฬาจึงเล็งเห็นว่าโครงการดังกล่าวยืดเยื้อมากว่า 10 ปี ประกอบกับที่ดินแปลงดังกล่าวมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ประกอบกับเมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินเปิดให้บริการจะมีสถานีขึ้นลงบริเวณหน้าโครงการพอดี ทำให้ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นศูนย์กลางสำคัญทางจุฬาฯ จึงเห็นว่า ควรจะพัฒนาโครงการให้แล้วเสร็จทั้ง 2 อาคารแทนที่จะพัฒนาแค่ชั้นใต้ดินจนถึงชั้น 3 ของอาคาร โดยจะต้องใช้เงินลงทุนต่อเนื่องทั้งสิ้น 2,700 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินงาน 2 ปีครึ่ง ขณะนี้ได้เปิดให้ผู้รับเหมาเข้ามาประมูลงานก่อสร้างแล้วโดยมีผู้รับเหมา 8 ราย สนใจประมูลงานก่อสร้างโครงการดังกล่าว เช่น บริษัท ซิโนไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง เป็นต้น
สำหรับเม็ดเงินลงทุน ทางจุฬาฯ มีแนวคิดที่จะยืมเงินจากคณะต่างๆ ที่มีเงินฝากในธนาคารคณะละประมาณ 20-40 ล้านบาท ซึ่งได้ดอกเบี้ยต่ำมาร่วมลงขันเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการก่อสร้าง เนื่องจากจุฬาฯ ไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินมาดำเนินการได้
"เงินที่จะใช้ในการลงทุนนั้นจะใช้ไม่มากนักพื้นที่ไหนเสร็จจะเปิดให้บริการก่อน ซึ่งจะมีรายได้เข้ามาใช้ในการก่อสร้างในระยะต่อๆ ไป โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนจริงๆ ประมาณ 50% ของเงินลงทุนทั้งหมด 2,700 ล้านบาท สำหรับอาคารทั้ง 2 อาคาร จะประกอบด้วย อาคารสูง 30 ชั้นด้านหน้า จะพัฒนาเป็นเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์จำนวน 250 ยูนิต ในเบื้องต้นจะทำเป็นเกรดเอ ส่วนอาคารด้านหลังสูง 40 ชั้นจะพัฒนาเป็นอาคารสำนักงานส่วนหนึ่งใช้ในกิจการของจุฬาฯ เช่น ศูนย์หนังสือ เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งจะปล่อยให้เอกชนเช่า นอกจากนี้ในพื้นที่โครงการจะพัฒนาเป็นพาร์ค แอนด์ ไรด์ สำหรับ ผู้ใช้รถไฟฟ้าใต้ดินด้วย"
นอกจากการพัฒนาโครงการจุฬา ไฮเทค สแควร์ ให้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของการพัฒนาพื้นที่รอบๆ จุฬาฯ ก็จะมีการดำเนินการควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน ประกอบด้วย การปรับปรุงพื้นที่บริเวณสยามสแควร์ให้เป็น โอเพ่น ชอปปิ้งมอลล์ ในสไตล์ไทยๆ ให้มีความแตกต่างกับสยามพารากอน และสยาม เซ็นเตอร์ โดยจะเริ่มปรับพื้นที่เป็นระยะๆ หลังจากที่ผู้เช่าเดิมเริ่มหมดสัญญาลง โดยเริ่มจากการพัฒนาพื้นที่ตรงหัวมุมถนนอังรีดูนังต์เป็นอาคารสูง 18 ชั้น เป็นอาคารจอดรถ ออฟฟิศ และพื้นที่พาณิชยกรรม โดยเจรจาให้ผู้เช่าเดิมเข้ามาลงทุนร่วม เพื่อย้ายผู้เช่าขึ้นมาไว้บนอาคารก่อนจะปรับปรุงพื้นที่ในส่วนอื่น ต่อไปจะเริ่มดำเนินการในปีนี้เช่นกัน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า พื้นที่บริเวณตลาดสามย่านจำนวน 17 ไร่ และพื้นที่บริเวณเจริญผลจำนวน 15 ไร่ จะพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ ในลักษณะเดียวกับอาคารจุฬา ไฮเทค สแควร์ ซึ่งในโครงการจะประกอบด้วยอะไรบ้างคงต้องศึกษาตลาดในช่วงที่จะเริ่มโครงการต่อไป ซึ่งทั้ง 2 โครงการจะทำในช่วง 35 ปีข้างหน้านี้ นอกจากนี้ จุฬาฯ ยังมีแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณข้างสนามศุภชลาศัย โดยการขยายถนนให้เป็นพื้นที่กว้าง 40-50 เมตร และพัฒนาเป็นย่านการค้าจุฬาฯ อเวนิว ที่จะเชื่อมต่อพื้นที่สามย่านกับสยาม
นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการเจรจาต่อสัญญาเช่าพื้นที่กับห้างฯมาบุญครองที่จะหมดสัญญาในอีก 7 ปีข้างหน้า สำหรับการพัฒนาโครงการจุฬา ไฮเทค สแควร์ทางสำนักงานทรัพย์สิน จุฬาฯ ได้เชิญนายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ในฐานะศิษย์เก่าจุฬาฯมาเป็นที่ปรึกษาโครงการด้วย
|
|
|
|
|