Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 มกราคม 2549
HPO เส้นทางเสริมความแกร่ง "ปตท."             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
Knowledge and Theory




- HPO : High Performance Organization ยุทธศาสตร์สร้างองค์กรสายพันธุ์แกร่งของ "ปตท."
- เปิดคัมภีร์โตได้โตดีไม่มีสะดุด ท่ามกลางภาวะผันผวนของสถานการณ์โลก
- 3 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ : เก่งในการตัดสินใจ-ความสามารถที่เหนือกว่า-กายวิภาคองค์กร
- อีก 5 ปีปตท.จะไปทางไหน? เป้าหมายคือยักษ์ข้ามชาติสัญชาติไทย ยืนตระหง่านบน 5 เสาหลักโมเดล HPO

HPO : High Performance Organization เป็นโมเดลการผลักดันองค์กรสู่ความเป็นเลิศของปตท. โดยถือเป็นการจัดวางเข็มไมล์แห่งความสำเร็จระยะที่ 3 เริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547-2551 สู่วิสัยทัศน์เป็นผู้นำในธุรกิจแยกก๊าซฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขณะที่ระยะที่ 2 ปีพ.ศ. 2539-2546 เดินอยู่บนเส้นทางพัฒนาระบบตามมาตรฐานสากล และระยะแรกปีพ.ศ. 2527-2538 เน้นพัฒนาพนักงานโดยใช้กิจกรรมเพิ่มผลผลิต

HPO เป็นศัพท์ทางบริหารจัดการที่หยิบยกมาพูดถึงกันเมื่อไม่นานมานี้ แต่ในบริบทของปตท. ถือได้ว่าเป็นความมุ่งมั่นตั้งใจจริงที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลายาวนาน และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

3 ปัจจัยความสำเร็จ HPO

อนนต์ แสงศิริทักษิณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์และพัฒนาองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจปตท.กระจายตัวครอบคลุมในหลายอุตสาหกรรมหลัก และมีความเชื่อมโยงกับ value chain หรือห่วงโซ่แห่งมูลค่ากับพลังงานของชาติอย่างแนบแน่น ดังนั้นการสร้างให้องค์กรเติบโตแข็งแรงจึงถือเป็นความจำเป็น และทำไม่ได้ง่ายมากนักในสถานการณ์โลกปัจจุบันนี้

วิสัยทัศน์ปตท. ตั้งใจที่จะสร้างองค์กรให้เข้มแข็งสู่ความเป็นเลิศ การใช้โมเดลของ HPO จึงมีนัยยะสำคัญในการบ่ายหน้าสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยมองผ่าน 5 เสาหลัก HPO คือ 1. information technology เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. innovation นวัตกรรม 3. knowledge management การบริหารจัดการองค์ความรู้ 4. leadership ภาวะผู้นำ และ 5. operational agility and excellence ความเป็นเลิศและฉับไวในการดำเนินการ

ผลงานวิจัยของบริษัทที่ปรึกษา "แอคเซนเชอร์" จากการสำรวจ CEO ทั่วโลก ด้วยการตั้งคำถามว่า "คิดว่าบริษัทของตัวเองเป็น HPO ไหม?" ผลตอบรับ 70% บอกว่าใช่ แต่พอได้อ่านคำนิยามที่เขียนไว้อย่างชัดเจนถึงองค์กรที่มีลักษณะเป็น HPO จาก 70% ที่ตอบรับแข็งขันในตอนแรกกลับลดฮวบลงเหลือเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยืนยันแม่นมั่นว่าองค์กรของตัวเองถอดแบบความเป็น HPO ออกมา

"หลักการง่ายๆ คือเป็นบริษัทที่มีผลงานโดดเด่นเหนือที่อื่นๆ ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือสภาวะใดๆ เศรษฐกิจดีหรือแย่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำของบริษัทกี่ครั้งก็ตาม บริษัทก็ยังสามารถยืนอยู่ได้ ภายใต้กลุ่มบริษัทที่เป็นธุรกิจแบบเดียวกัน ซึ่งบริษัทที่มีอายุยาวนานและคงความเป็นที่หนึ่งได้ เช่นบริษัท GE" อนนต์กล่าว

ปัจจัยความสำเร็จของ HPO

1. เป็นเรื่องของความได้เปรียบในการแข่งขันที่ต้องมีวิสัยทัศน์ และเป็นบริษัทที่เก่งกาจในเรื่องของตัดสินใจในการช่วงชิงโอกาสที่รวดเร็ว มีการใช้กระบวนการบริหารจัดการที่ทันสมัย ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่บอกว่าบริษัทมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน

2. ต้องมีขีดความสามารถที่เหนือกว่าผู้อื่น เพราะองค์กรที่มีขีดความสามารถเหนือผู้อื่น จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ดีกว่า เร็วกว่า และสามารถจะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง

3. High Performance Anatomy เป็นหัวใจซึ่งเกี่ยวข้องกับคน รู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นสินทรัพย์ในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Asset) เป็นการมองโดยใช้แนวคิดที่ว่า เราสามารถใช้ประโยชน์ในเทคโนโลยีสารสนเทศและคนเหมือนกับทรัพย์สินอื่นๆ ได้หรือไม่? หรือเราสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวคนได้หรือไม่? เราสามารถดึงความสามารถของคนออกมา เพื่อสร้างผลการดำเนินงานของบริษัทให้ทวีคูณขึ้นไปได้หรือไม่?

"องค์กรที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันต้องมีความเชื่อมโยงทั้ง 3 ปัจจัยนี้ควบคู่กัน แต่ผลสำรวจระบุเพิ่มเติมอีกว่า ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีก โดยสิ่งที่อยู่ในใจของ CEO เกือบทุกคนคือ มองว่าคนสำคัญที่สุด และบริษัทต้องให้ความสำคัญกับคนเป็นอันดับแรก

เหตุผลที่เป็นเรื่องของคน เพราะว่าคนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น จึงต้องวางคนให้ถูกกับงาน นอกจากนั้นจะต้องใช้ความสามารถของคนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะต้องถนอมรักษาคนเอาไว้ สร้างบรรยากาศแรงจูงใจให้คนอยากทำงาน"

นอกจากปัจจัยอื่นๆ อย่างเรื่องคนที่อยู่ในความคิดของ CEO ส่วนใหญ่แล้ว อีกประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องของ "นวัตกรรม" ซึ่งองค์กรเองก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากคน เป็นไปตามวงจรชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย การที่องค์กรสามารถยืนหยัดมาได้อย่างยาวนาน ก็เพราะมีนวัตกรรม รู้จักสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะทำให้องค์กรเติบโตอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เป็นสิ่งที่ CEO หลายคนมองข้ามไป อย่างเช่นเรื่องของ outsourcing เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ supply chain ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงลูกค้าที่ต้นทุนต่ำที่สุด มีประสิทธิภาพในเรื่องของความสัมพันธ์กับเครือข่ายประสิทธิภาพของการเชื่อมโยงภายในองค์กรเดียวกัน

อีก 5 ปี "ปตท." จะไปทางไหน?

วิสัยทัศน์ของปตท. ที่เริ่มปักธงตั้งแต่ 2 ปีที่แล้วคือ มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ หรือ HPO จากจุดยืนบริษัทพลังงานของไทย ทำธุรกิจแก๊ส น้ำมัน ปิโตรเคมี โรงกลั่น ในอดีตถึงปัจจุบันบริษัทมีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง

"วันนี้เราถามตัวเองว่าอีก 5 ปีข้างหน้าปตท. จะไปอยู่ตรงจุดไหน? และความฝันของเราคืออะไร? ถ้าเราต้องการเห็นความเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งวันนี้ ปตท. มีวัตถุประสงค์หลักๆ คือ ผู้ถือหุ้น ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ถือหุ้นสถาบัน ผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหมด เราจะสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นที่เป็นทั้งภาครัฐของประเทศ ประชาชน ผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหมดได้อย่างไร?

การตอบสนองให้ประเทศมีความมั่นคงในเรื่องของพลังงาน มีการจัดการในเรื่องของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร? เราคิดว่าถ้าเราอยู่กับที่คงจะทำหน้าที่นี้ไม่ได้ เราต้องเติบโตอย่างต่อเนื่องและการเติบโตต้องเติบโตอย่างมีคุณภาพ จุดนี้เป็นที่มาว่า ทำไม? ปตท. จึงต้องการเป็นองค์กร HPO

เรื่องของอดีตไม่ได้รับประกันความสำเร็จในอนาคต แต่จะเห็นได้ว่าการพัฒนาของ ปตท. เป็นไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ความสำเร็จเกิดขึ้นจากการที่เรามีผู้นำที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์ในการสร้างองค์กรให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง"

คำถามที่ว่าอนาคตปตท.มองตัวเองไว้อย่างไร? เป็นการมองลึกเข้าไปในความหมายของ HPO ในแบบปตท. โดยมองว่าถ้าบริษัทจะสร้างองค์กรให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง รากฐานธุรกิจจะต้องแข็งแรง มีวิสัยทัศน์ และต้องสร้างผู้นำที่สามารถพบกับทุกความเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำที่จะต้องมีขีดความสามารถในการทำงานสู่เป้าหมายนั้นได้สำเร็จ

ประเด็นที่ปตท.ให้น้ำหนักมากคือเรื่องของ "นวัตกรรม" จากรากฐานการเติบโตที่ฝังรากมากนานกว่า 27 ปี ถามว่าปตท.จะมีอายุยืนยาวจากนี้ไปได้อีกนานแค่ไหน? ประเด็นของนวัตกรรมจะเป็นตัวตอบโจทย์และเสริมสร้างให้ปตท.เติบโตแข็งแรงไปอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงการหันมาเน้นในเรื่องของ "การบริหารจัดการองค์ความรู้" ที่ฝังอยู่ในตัวคน จากการที่คนซึ่งอยู่ทำงานตั้งแต่รุ่นแรกกำลังจะเกษียณออกไป แต่องค์ความรู้ในอนาคตจำเป็นต้องได้รับการต่อยอด ปตท. จึงพัฒนาเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นบริหารจัดการเป็นกลุ่ม วางระบบ Enterprises Resource Planning และเชื่อมเครือข่ายการจัดการหลังบ้านกับกลุ่มธุรกิจทั้งหมด

"วันนี้เรากำลังมองการใช้ประโยชน์เก็บเกี่ยวจากเทคโนโลยี นำเทคโนโลยีไปสร้างความได้เปรียบต่อไป เพราะเราจำเป็นต้องพัฒนา เปรียบเทียบ และสร้างให้เราอยู่ในจุดที่สูงสุดเหนือคู่แข่ง เพราะฉะนั้น เหล่านี้คือ 5 เสาหลักที่เราปลูกฝังไว้เพื่อสร้างองค์กร ดังนั้น คำจำกัดความของบริษัทที่เป็น HPO ก็คือ เป็นที่หนึ่งและต้องเป็นที่หนึ่งตลอดกาล ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับปตท."

เป็นความท้าทายที่มาพร้อมกับเส้นทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ก็เป็นเส้นทางเดียวที่ทอดยาวไกลไปสู่ปลายทางแห่งความแข็งแกร่ง

*************

เรียบเรียงจากงานสัมมนา "Thailand HR Knowledge Sharing Day & Exposition 2005" จัดโดย สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ปลายเดือนพ.ย.2548 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us