Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 มกราคม 2549
โจนส์ฯเตือนลงทุนคอนโดฯอันตราย ยอดขายอืดทั้งระดับบน-ปานกลาง             
 


   
search resources

โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย), บจก.
Real Estate




โจนส์ แลง ลาซาลล์ ประเมินยอดขายคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในชะลอตัว ทั้งตลาดราคาระดับปานกลางและระดับบน อย่างไรก็ดี ราคาเสนอขายเฉลี่ยโดยรวมในปีที่ผ่านมายังคงปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากโครงการที่เปิดตัวเข้ามาใหม่ในตลาด มีหลายโครงการที่เป็นโครงการระดับหรู

ผลการวิจัยจากโจนส์ แลง ลาซาลล์ ระบุว่า ปัจจุบันเขตกรุงเทพฯ ชั้นในมีคอนโดมิเนียมในโครงการที่สร้างเสร็จแล้วรวมทั้งสิ้น 47,500 ยูนิต และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 12,160 ยูนิต ทั้งนี้ โครงการที่สร้างเสร็จแล้ว มียอดขายเฉลี่ย 98% ส่วนโครงการที่เปิดตัวใหม่ ทั้งที่เริ่มการก่อสร้างแล้ว และที่ยังไม่เริ่มการก่อสร้าง มียอดขายเฉลี่ย 66%

สุพินท์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการ โจนส์ แลง ลาซาลล์ กล่าวว่า สภาพโดยรวมของตลาดคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน อยู่ในช่วงขาลง จากภาวะการชะลอตัวลงของยอดขายเฉลี่ยโดยรวม ซึ่งภาวะดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากปริมาณการซื้อที่ลดลง แต่เป็นเพราะซัปพลายในตลาดขยายตัวเร็วกว่าความต้องการ

"สำหรับในปีนี้ แนวโน้มในตลาดอาจดีน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ดี เชื่อว่าตลาดคอนโดมิเนียมจะยังคงไปได้ เนื่องจากผู้ประกอบการโครงการคอนโดมิเนียมที่มีอยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์สูง และมองออกว่า โครงการคอนโดมิเนียมลักษณะใดที่จะเป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้ซื้อ"

รายจากโจนส์ แลง ลาซาลล์ ระบุว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ ชั้นในมีคอนโดมิเนียมเปิดโครงการใหม่เฉลี่ยปีละ 6,000 ยูนิต ในขณะที่ยอดขายทั้งในโครงการที่มีอยู่เดิมและโครงการเปิดตัวใหม่ เฉลี่ยอยู่ที่ 5,500 ยูนิตต่อปี

ขณะที่เบ็ญจวรรณ สือวงศ์ประยูร หัวหน้าฝ่ายวิจัย โจนส์ แลง ลาซาลล์ แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ยอดขายเฉลี่ย 5,500 ยูนิตต่อปีในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นความต้องการที่มีอยู่สูงสำหรับคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน ทั้งนี้ ยอดขายในปี 2548 ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี สะท้อนให้เห็นการชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งมียอดขายรวมเพียงประมาณ 1,700 ยูนิตจากจำนวน 5,500 ยูนิตที่ขายออกไปในทั้งปี

การศึกษาของโจนส์ แลงก์ ลาซาลล์ พบด้วยว่า การพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมได้กระจายตัวออกไปในทำเลนอกเขตกรุงเทพฯ ชั้นในมากขึ้น โดยเฉพาะในทำเลที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดิน และโครงการดังกล่าวมีหลายโครงการที่ประสบความสำเร็จในด้านยอดการขาย และสามารถแย่งผู้ซื้อจากทำเลในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ยอดขายในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในชะลอตัวลง

"เมื่อมองกลับมาที่ตลาดคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน พบว่า ขณะนี้ มียูนิตเหลือขายทั้งในโครงการที่สร้างเสร็จแล้วและยังสร้างไม่เสร็จ คิดเป็นจำนวนรวม 5,300 ยูนิต โดยทฤษฎีแล้ว หากในปีนี้ไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่เข้ามาในตลาดอีกเลย จำนวนยูนิตที่เหลือขาย น่าจะสามารถขายได้หมดภายในปีนี้ แต่ในความเป็นจริงคือ ในบรรดาจำนวนยูนิตที่เหลือขายขณะนี้ ส่วนหนึ่งเป็นยูนิตที่ผู้ซื้อไม่ต้องการ และอาจจะขายออกยาก ขณะเดียวกัน ยังคงมีโครงการใหม่ๆ ที่เตรียมจะเปิดตัวเข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้"

ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นโครงการใหม่ๆ มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยในปีที่ผ่านมา มีการเปิดโครงการใหม่คิดเป็นจำนวนรวม 4,500 ยูนิต เมื่อเทียบกับปี 2547 ที่มีโครงการเปิดตัวใหม่คิดเป็นจำนวนยูนิตรวมกว่า 8,000 ยูนิต และ 5,500 ยูนิตในปี 2546 นอกจากนี้ จากภาวะที่ตลาดคอนโดมิเนียมเริ่มอ่อนตัวลง การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ย จึง มีความเป็นไปได้ว่า จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ลดลงในปีนี้

การสามารถปิดยอดการขายได้ช้าลง ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มสร้างแรงจูงใจดึงดูดผู้ซื้อเพื่อระบายยูนิตที่ยังเหลืออยู่ ด้วยการจัดโปรโมชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอราคาพิเศษไปจนถึงการเสนอส่วนลดให้แก่ผู้ซื้อ อย่างไรก็ดี พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่พยายามหลีกเลี่ยงกลยุทธ์การลดราคา เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นภาพลักษณ์ของโครงการ กลยุทธ์อื่นๆ ที่ผู้ประกอบการเลือกใช้ในปีที่ผ่านมา มีหลากหลายรูปแบบ นับตั้งแต่การลดสัดส่วนเงินดาวน์ให้น้อยลง การขยายเวลาช่วงโปรโมชั่นราคาพิเศษ ไปจนถึงกลยุทธ์อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับราคา เช่น การแถมเฟอร์นิเจอร์และการจับรางวัล

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการแข่งขันจะสูงขึ้น แต่จากการศึกษาของโจนส์ แลง ลาซาลล์ พบว่า ราคาเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในในปีที่ผ่านมา ยังคงปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากหลายๆ โครงการที่เปิดตัวใหม่เข้ามาในตลาด เป็นคอนโดมิเนียมระดับหรูหราและมีราคาสูง จึงดึงให้ราคาเฉลี่ยในตลาดปรับตัวสูงขึ้น

โดยปีที่ผ่านมา ราคาเสนอขายเฉลี่ยสำหรับคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในปรับตัวสูงขึ้นอีกเกือบ 10% จากตารางเมตรละ 65,800 บาท ณ เดือนมกราคม 2548 มาอยู่ที่ระดับ 72,100 บาทต่อตารางเมตร ณ เดือนมกราคมปีนี้ และเมื่อเทียบกับช่วงที่ระดับราคาตกต่ำสุดในปลายปี 2543 พบว่า ราคาเสนอขายได้ขยับสูงขึ้นถึงประมาณ 90%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us