Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 มกราคม 2549
เปิดแผน "ฮาวคัม" เทียบชินคอร์ป ปั้นลูกโอ๊ค ตามรอยแม้ว             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ฮาวคัม เอนเตอร์เทนเมนท์
โฮมเพจ ชินแซทเทลไลท์

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ชินแซทเทลไลท์, บมจ.
ฮาวคัม เอนเตอร์เทนเมนท์, บจก.
Telecommunications
3G
พานทองแท้ ชินวัตร




* จับตาเงิน 7.3 หมื่นล้านบาทจะโยกไปไหน
* SETTEL อนาคตไกลได้เงินทั้งโลก
* แผนปั้น "ฮาวคัม" ลุย Content ป้อนเครือข่ายชิน คอร์ป
* ขุนพล "พ่อ" รับบทกุนซือ ดัน "ลูกโอ๊ค" กุมบังเหียนธุรกิจครอบครัว

เงิน 7.32 หมื่นล้านบาท จากการขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ SHIN จำนวน 1,487 ล้านหุ้น คิดเป็น 49.595% ที่ราคาหุ้นละ 49.25 บาทของผู้ถือหุ้นใหญ่ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ให้กับกลุ่มเทมาเซกจากรัฐบาลสิงคโปร์ กลายเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายให้ความสนใจว่าเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปทำสิ่งใดต่อ

ที่แย้มกันออกมาแล้วคือเตรียมตั้งหน่วยงานเพื่อศึกษา วิจัย ช่วยเหลือทางด้านการเกษตร แต่ยังไม่มีการระบุจำนวนเงินที่จะใช้ในโครงการนี้

ดูเหมือนความตั้งใจในการซื้อหุ้น SHIN ของเทมาเซกในครั้งนี้เป้าหมายอยู่ที่ธุรกิจด้านโทรศัพท์มือถือที่ดำเนินการในนามบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC เป็นหลัก แต่ด้วยหลักประโยชน์สูงสุดในทางธุรกิจรูปแบบการเข้าซื้อจึงมุ่งมาที่ SHIN ที่เป็นโฮลดิ้งคอมปานีแทน ไม่ต้องเสียภาษีสักบาท แถมนโยบายของผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่ยังคงสภาพให้ทุกอย่างเป็นไปตามเดิม

ที่เหลืออย่างบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ITV และบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SATTEL จะตัดสินใจขายออกมาให้กับผู้สนใจภายหลังหรือไม่คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

กรณีของ ITV เริ่มมีผู้แสดงความสนใจที่จะเข้าซื้อหุ้นบ้างแล้วอย่างกลุ่มแกรมมี่ เพียงแต่รอเงื่อนไขในการเสนอขาย ส่วนที่คาดว่าคงไม่มีใครชำนาญพอที่จะเข้ามาซื้ออย่าง SATTEL อาจจะเป็นกลุ่มชินที่อาจกลับเข้ามาขอซื้อต่ออีกครั้ง เนื่องจากแผนเดิมที่เตรียมทำดาวเทียมไทยคม 5 ได้เริ่มเดินหน้าไปแล้ว ซึ่งธุรกิจนี้ถือเป็นธุรกิจแห่งอนาคต ลงทุนครั้งเดียวเก็บกินได้ตลอด และไม่ได้จำกัดลูกค้าแค่ในประเทศไทยเหมือนการให้บริการโทรศัพท์มือถือ แต่ธุรกิจนี้สามารถดึงลูกค้าได้ทั้งในประเทศและทั้งโลก

หากพิจารณาจากเหตุผลในการขายหุ้นชิน คอร์ป ออกไปด้วยเหตุจากเทคโนโลยี 3G ที่จะต้องใช้เงินลงทุนสูง แถมยังเสี่ยงต่อการสร้างตลาดของลูกค้าที่จะมาใช้บริการ ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นการหันมารุกธุรกิจผู้ให้บริการด้าน Content แทน แน่นอนว่าบริษัทใหม่ไฟแรงและเป็นที่กล่าวขานกันมากว่า 2 ปีคือ บริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ที่มีพานทองแท้ ชินวัตร เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้งานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐไปไม่น้อย เช่น การได้สัมปทานโฆษณาจากรถไฟฟ้าใต้ดินมหานครเป็นเวลา 10 ปี

แม้กระทั่งการได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการนำเข้าอุปกรณ์สวนสนุกจากกรมสรรพากร ขณะที่อีกเจ้าหนึ่งอย่างแม็ทชิ่ง สตูดิโอ กลับต้องเสียภาษี

ฮาวคัม บริษัทบันเทิงไม่จำกัด

19 พฤศจิกายน 2546 พานทองแท้ ชินวัตร เป็นประธานเปิดบริษัท ฮาว คัม เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับความบันเทิงครบวงจร ทั้งรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์โฆษณา คอนเสิร์ต ตลาดจนอีเวนต์ และออแกไนเซอร์

บริษัทมีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท มีผู้ถือหุ้น 6 ราย คือ พานทองแท้ 20% ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นันทสิทธิ์ แจ่มสมบูรณ์ 16% ดำรงตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายโปรดักส์ชั่น ไอยคุปต์ กฤตบุญญาลัย 16% ดำรงตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด สุศิษฎา ตันเจริญ 16% ดำรงตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทัศนาวลัย องอาจอิทธิชัย 16% ดำรงตำแหน่งประธานบริหารฝ่ายประชาสัมพันธ์ และพิณทองทา ชินวัตร 16%

สำหรับที่มาของชื่อบริษัท เจ้าตัวเล่าให้ฟังว่า ไม่มีความหมายอะไร แต่เริ่มจากการคุยกันถึงแผนงานต่างๆ แล้วนำไปให้ฝ่ายผลิตดู แล้วฝ่ายผลิตถามว่าคิดได้ยังไง (วะ) จึงเกิดคำว่าฮาว คัม ขึ้น

หลังจากเปิดบริษัทได้ไม่นานฮาวคัมได้เพิ่มทุนจดทะเบียน และแตกบริษัทลูกออกมาอีก 4 บริษัท คือ ฮาวคัมเอวี ดำเนินธุรกิจจัดอีเวนต์ (ปัจจุบันขายหุ้นทั้งหมดออกไปแล้ว) , ฮาวคัมมีเดีย ดำเนินธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้าน, ฮาวคัมสตูดิโอ ดำเนินธุรกิจสิ่งพิมพ์ และฮาวคัมไอพี ดำเนินธุรกิจคอนเทนต์เกี่ยวกับการดูหนังฟังเพลงในโทรศัพท์มือถือ

ในรอบกว่า 2 ปีที่ผ่านมากลุ่มบริษัทฮาวคัมประกาศเดินหน้าลุยโครงการต่างๆเป็นว่าเล่น ไม่ว่าจะเป็น การเปิดธุรกิจร้านถ่ายภาพสตูดิโอ SHE @ MOOD, ตั้งบริษัทโอกานิท เพื่อทำธุรกิจอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ร่วมกับตระกูลมหากิจศิริ, เข้ารับงานถ่ายภาพนิ่งประกวดมิสยูนิเวิร์ส, การเข้าไปรับสัมปทานพื้นที่โฆษณาภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน, การจับมือกับประวิทย์ มาลีนนท์ ประธานบีอีซี เวิลด์ นำรายการฮิการุ เซียนโกะ มาออกอากาศทางช่อง 3 ในทุกวันพฤหัส, ตั้งบริษัท มาสเตอร์ โฟน ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท ทำธุรกิจขายโทรศัพท์มือถือ VERTU ราคาเครื่องละ 1 แสนบาท

การลุยของฮาวคัมไม่หยุดเพียงแค่นี้ ความฝันอันบรรเจิดของ "เสี่ยโอ๊ค" ล่องลอยไปถึงการดึง "เฉินหลง" มาร่วมผลิตภาพยนตร์ร่วมกัน พร้อมเซ็นสัญญากับมีเดีย เอเชีย กรุ๊ป เมื่อราวปลายปี 2547 วางหวังว่าจะผลิตภาพยนตร์ให้ได้ปีละ 5 เรื่อง แต่เอาเข้าจริงๆจนถึงวันนี้ยังไม่เห็นหนังจากค่ายนี้ลงโรงเลยสักเรื่อง

ทว่า จอมโพรเจคน้อยยังคงเดินโครงการร้อยแปดพันเก้าต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ ที่เรียกเสียงฮือฮามากจากสาธารชนมากหน่อยก็คือโครงการสวนสนุกเคลื่อนที่ย่านรัชดาภิเษก ที่นำเข้าเครื่องเล่นมาจากอังกฤษ และแม้ว่าทางผู้บริหารจะบอกว่าพอมีกำไรอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าคงเข็ดเพราะจากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ไม่เห็นวี่แววของสวนสนุกดังกล่าวอีกเลย อย่างไรก็ดี แนวคิดการทำสวนสนุกของฮาวคัมยังไม่ได้มลายหายไปเพราะเมื่อเร็วๆนี้มีออกออกมาว่ากำลังจะไปทำสวนสนุกที่เรียกว่า Theme Park ขึ้นในสวนสนุกไนท์ซาฟารี เชียงใหม่

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ฮาวคัมเข้าไปลงทุน และเข้าไปดำเนินงาน แม้งานส่วนใหญ่จะทำแบบฉาบฉวยตามประสาลูกคนรวยที่มีเงินนับหมื่นล้านบาท แต่นั่นเป็นอดีตเท่านั้น เพราะอาจเป็นไปได้ว่านับจากวันนี้เป็นต้นไป ฮาวคัม อาจจะมาปรากฏตัวในรูปแบบการทำงานแบบใหม่ที่ชัดเจน และจริงจังมากขึ้น

สำหรับรายการที่ฮาวคัมผลิต ที่ผ่านมามีรายการการ I-Style ทางไอทีวี และล่าสุดมีรายการ ใครรักใคร หัวใจตรงกัน และเตรียมที่จะนำเอาศึกมวยปล้ำ WWE'Heat ลงจอทีวีอีกรายการหนึ่ง

จะเห็นได้ว่าฮาวคัมได้เริ่มให้ความสำคัญกับรายการในภาคบันเทิงมากขึ้น จากเดิมที่ให้น้ำหนักกับธุรกิจด้านโฆษณาและรับจัดงานเป็นหลัก รายการเหล่านี้ถือเป็น Content ที่สำคัญในอนาคต เนื่องจากระบบ 3G ของโทรศัพท์มือถือสามารถให้บริการชมรายการต่าง ๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือได้

รายการของฮาวคัมมีลูกค้าที่แน่นอนอย่าง ไอทีวี หรืออาจจะข้ามไปยังช่องอื่น ๆ ก็ได้ หากจะร่วมกับผู้ให้บริการอย่าง AIS ก็คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธ แถมรายการเหล่านี้ยังสามารถส่งต่อไปยัง iPTV (บริการชมข้อมูลหรือรายการทีวีบนอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท ซี. เอส. คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด และ บริษัท ชิน บรอดแบนด์ อินเตอร์เนต (ประเทศไทย) จำกัด หรือถ้าโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมได้รับความนิยมมากขึ้น รายการของฮาวคัมก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ ส่วนจะมีโปรโมชั่นให้ส่วนลดค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมของกลุ่มชินด้วยหรือไม่อีกไม่ช้าคงทราบ

การเตรียมการเพื่อให้บริการชมภาพยนตร์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ฮาวคัมได้เตรียมการมานานแล้วด้วยการตั้งบริษัท ฮาวคัมไอพี ขึ้นมาเพื่อดำเนินการถือเป็นการรองรับเทคโนโลยี 3G โดยมีบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารชิน คอร์ป เข้าให้คำปรึกษา

ดาวเทียม-มือถือ 3G ประตูสู่มัลติมีเดียคอนเทนต์

หากจะมองถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามามีผลต่อบริการรูปแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นอนาคต โดยเฉพาะเรื่องของมัลติมีเดียคอนเทนต์นั้น เทคโนโลยีที่น่าจับตาก็คือ ดาวเทียมและ 3G จึงมีความเป็นไปได้ว่าตระกูลชินวัตรน่าจะซื้อกิจการชินแซทเทิลไลท์กลับมาจากเทมาเสก เพื่อเป็นทางช่องทางสำหรับธุรกิจมัลติมีเดียคอนเทนต์ นอกจากนี้ก็จะอาศัยช่องทางจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำลังจะลงทุนทางด้าน 3G เพื่อให้เครือข่ายดังกล่าว

ธุรกิจดาวเทียมที่ชินแซทเทลไลท์ ถือเป็นธุรกิจที่กำลังก้าวขึ้นมาเป็นแหล่งรายได้สำคัญในอนาคตอันใกล้นี้ได้ โดยมีตัวไฮไลท์อยู่ที่ดาวเทียม "ไอพีสตาร์" เป็นหัวหอกในการสร้างรายได้ เนื่องจากเป็นดาวเทียมที่ใช้เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ สามารถเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ ในการให้บริการบนอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลหรือไอพี ถือเป็นแนวทางของธุรกิจที่ต่างมุ่งไปในเส้นทางดังกล่าว

นอกจากนั้นไอพีสตาร์ยังสามารถใช้เป็นระบบสื่อสัญญาณกับสถานีฐานโทรศัพท์มือถือในระบบจีเอสเอ็ม ที่พร้อมจะรองรับการให้บริการโทรศัพท์มือถือในยุค 3G ได้ด้วย

ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมที่ออกแบบมาให้บริการผู้ใช้บริการในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รองรับบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ถึง 4 ล้านจุดในทุกตารางเมตรของภูมิภาค แต่ถ้าเป็นการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะขยายเครือข่ายไปในพื้นที่ที่ห่างไกลได้ จึงสามารถที่จะตอบสนองกลุ่มผู้ใช้ตั้งแต่ระดับทั่วไป จนถึงภาคธุรกิจและภาคราชการทั้งหมด

ดร.ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร ชินแซทเทลไลท์ เคยกล่าวไว้ว่าดาวเทียมไอพีสตาร์สามารถทำให้เกิดกลุ่มผู้ใช้กลุ่มใหม่ สามารถบุกเบิกตลาดใหม่ และจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของชินแซทฯ หากสามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่วางไว้จะทำให้ชินแซทฯกลายเป็นเบอร์ 1 ของเอเชียในอุตสาหกรรมดาวเทียม

ก่อนหน้านี้แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจดาวเทียม เคยกล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ว่าธุรกิจไอพีสตาร์ถือเป็นดาวเทียมที่แตกต่างจากดาวเทียมทั่วไป ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษในลักษณะที่สามารถรองรับแมสโปรดักส์หรือแมสคอนซูเมอร์ ทำให้สามารถรองรับรูปแบบการให้บริการได้อย่างหลากหลายมากมาย

"ธุรกิจดาวเทียมของชินคอร์ปมีมูลค่ามหาศาลมาก"

ไอพีสตาร์มีความสามารถที่จะให้บริการได้มากมาย ไล่ตั้งแต่เรื่องของแอปพลิเคชั่นต่างๆ การเป็นแบ็กโบนอินเทอร์เน็ตที่ไม่ใช่เฉพาะคุมทุกพื้นที่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นแบ็กโบนอินเทอร์เน็ตที่สามารถคุมไปในทุกประเทศที่ดาวเทียมครอบคลุมอยู่ด้วย

ยิ่งไปกว่านั้นดาวเทียมของชินแซทเทิลไลท์ยังสามารถใช้เป็นโครงข่ายสำคัญของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ และรองรับเทคโนโลยีอนาคตอย่าง 3จีได้ด้วย รวมทั้งการให้บริการรูปแบบใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งเรื่องของไอพีทีวี และบริการอินเตอร์แอกทีฟต่างๆ

ดาวเทียมไอพีสตาร์สามารถให้บริการในประเทศไทยสามารถที่จะนำไปใช้บริการที่ไหนก็ได้ที่ดาวเทียมดวงนี้ให้บริการไล่ตั้งแต่จีน อินเดีย จนไปสุดที่นิวซีแลนด์ ยกตัวอย่างเช่นการให้บริการบรอดแบนด์ของไอพีสตาร์นั้น ถือเป็นคู่แข่งขันสำคัญกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ให้บริการได้เป็นอย่างดี

ไอพีสตาร์ยังจะมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงวงการโทรทัศน์ของประเทศไทยไปสู่ยุคดิจิตอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงระบบฟรีทีวีของเมืองไทย ซึ่งเทคโนโลยีดาวเทียมจะมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในครั้งนี้

หากตระกูลชินวัตรมีการซื้อกิจการดาวเทียมกลับมาจริง ดาวเทียมจะกลายเป็นช่องทางใหญ่ที่ตระกูลนี้สามารถจะพัฒนาธุรกิจรูปแบบใหม่ในลักษณะของมัลติมีเดียคอนเทนต์ตอบสนองกลุ่มลูกค้าดาวเทียมได้ด้วย และธุรกิจนี้จะกลายเป็นแหล่งรายได้มหาศาลให้กับตระกูลชินวัตรต่อไป

อีกช่องทางหนึ่งที่จะทำพาตระกูลชินวัตรไปสู่ธุรกิจในโลกไร้พรมแดน คือการพัฒนามัลติมีเดียคอนเทนต์ เพื่อรองรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือในยุค 3G ที่กำลังจะมาถึง และน่าที่จะเกิดขึ้นเร็วขึ้น จากการที่ชินคอร์ปได้ใช้บริษัทของครอบครัวชินวัตรอีกต่อไป ซึ่งทำให้ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน เรื่องของการออกใบอนุญาต 3G จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายมากขึ้น

ตลาดไทยพร้อมสู่ยุค 3G

โลกโทรศัพท์มือถือยุค 3G สามารถเข้ามามีบทบาทในการสร้างสีสันและแรงผลักดันการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ด้านไอเดียวและนวัตกรรมของรูปแบบทางธุรกิจและบริการที่จะเข้ามาเสริมกับการใช้งานเทคโนโลยีโทรศัพท์ในโลกแห่งอนาคตที่กำลังจะมาถึง ไม่ว่าจะเป็น การประชุมทางโทรศัพท์มือถือแบบเห็นหน้าคู่สนทนา วิดีโอสตรีม การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไม่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์

กระแสความต้องการใช้งาน 3G ทวีความต้องการมากขึ้นทุกขณะ ไม่เพียงแต่บรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยที่ประกาศว่าพร้อมที่ลงทุน 3G กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น เอไอเอส ดีแทค หรือออเร้นจน์ แต่ฝ่ายผู้ผลิตเครื่องลูกข่ายรายใหญ่ อย่างโนเกียได้ประกาศความพร้อมของเครื่องลูกข่ายและเครือข่ายที่พร้อมติดตั้งของ 3G

"การแข่งขันในยุค 3G โนเกียเชื่อว่าจะรุนแรงมาก จากผู้เล่นรายใหม่ๆ ที่เข้ามาสู่ตลาดเมืองไทย" สมชาย ธรรมศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

โนเกียได้มีการคาดการณ์ว่าการลงทุนทางด้านเครือข่าย 3G ในประเทศไทยภายใน 3 ปี จะมีมูลค่าสูงถึง 350 ล้านยูโร และเชื่อว่าตลาดเมืองไทยพร้อมแล้วที่จะไปสู่ยุค 3G

ปัจจัยที่ทำให้ภาพการลงทุน 3G ยิ่งชัดขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการแข่งขันของธุรกิจโทรคมนาคมไทยในขณะนี้ ในตลาดด้านเสียงได้เข้าสู่แมสมาร์เก็ต ตลาดโทรศัพท์มือถือจะเติบโตอยู่ที่ต่างจังหวัด สาเหตุจากราคาค่าโทร.ที่ต่ำลง ทำให้ฐานลูกค้าขยายตัวมากยิ่งขึ้น

ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นการใช้งานใน 2G จะไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้องการการใช้งานทางด้านเสียงได้อีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ผู้ให้บริการทุกราย หันมาเพิ่มโปรโมชั่นแคมเปญให้ผู้ใช้สามารถใช้งานด้านเสียงได้จำนวนมาก เป็นเหตุผลให้ต้องมีการลงทุนทางด้าน 3G เนื่องจากเครือข่าย 3G จะสามารถให้บริการปริมาณมากๆ ทางด้านเสียงอย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งในอนาคตเมื่อผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเข้าสู่ยุค 3G จะเกิดแพกเกจโปรโมชั่นใหม่ตามพฤติกรรมการใช้งานอีกมากมาย

ในยุค 3G การใช้งานทางด้านข้อมูลจะสามารถเสริมและสนับสนุนการสร้างประสบการณ์การใช้งานรูปแบบใหม่ได้เป็นอย่างดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ยิ่งในขณะนี้การใช้งานทางด้านข้อมูลมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมาก

ที่สำคัญหากมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นของ 3G จริงๆ ในปี 2549 เทคโนโลยี 3G จะไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป เนื่องจากได้มีการทดลองและมีการใช้งานจริงแล้วในบางประเทศ นอกจากนี้การลงทุนที่หลายคนคิดว่าจะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อลงทุนเครือข่าย 3G ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนดังกล่าวถูกกว่าการลงทุน 2G

"3G ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ที่จะลบของเดิมทั้งหมด เหมือนอย่างเช่นในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลงจากยุคอะนาล็อกมาสู่ยุคดิจิตอล แต่ 3G จะสามารถใช้งานได้ควบคู่กับการใช้งาน 2G ที่มีอยู่ได้ในขณะนี้ เป็นการลงทุนอัพเกรดเข้าไปในอุปกรณ์ที่มีอยู่มากกว่า"

สมชาย บอกว่าโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่มีฟีเจอร์ 3G ทั้งหมดจะสามารถใช้งาน 2G ได้ด้วย และจะไม่มีโทรศัพท์มือถือ 3G อย่างเดียววางขาย ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน ซึ่งในส่วนของโนเกียเตรียมวางจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ 3G ไม่ต่ำกว่า 20 รุ่นในปี 2549

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี 3G จะทำให้เกิดการผนวกรวมหรือการคอนเวอร์เจนในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น อินดัสทรีคอนเวอร์เจน จากอดีตที่โมเมนของหลากหลายอุตสาหกรรมจะแยกจากกัน ก็จะรวมกันเข้ามาในโลกของมือถือ อย่างเช่น การผนวกรวมระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับผู้ให้บริการด้านมิวสิค

ปัจจุบันนี้ผู้ให้บริการอย่างเอไอเอส ได้มีการเตรียมทีมงานที่จะรองรับการให้บริการโทรศัพท์ 3G เรียบร้อย และมีการออกบริการใหม่ๆ มาเพื่อสร้างการรับรู้และสร้างการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การใช้งาน 3G ที่กำลังจะมาถึง อย่างการเปิดให้บริการ การเปิดตัวบริการ "Barcode Access" Barcode Access เป็นการนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า "2D Barcode" (2 Dimension Barcode) ซึ่งเป็นการผลิตบาร์โค้ดพิเศษขึ้นโดยเฉพาะแตกต่างจากบาร์โค้ดทั่วไป โดยเป็นแบบ 2 มิติ มีแถบรหัสผสมกันทั้งแนวตั้งและแนวนอน พื้นที่เล็กกว่าบาร์โค้ดแบบเดิม แต่สามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่า และที่สำคัญจะเป็นข้อมูลที่อัพเดทและทันสมัย เพราะเจ้าของสินค้าสามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ใหม่ตลอดเวลา

"บริการ Barcode Access ถือเป็นช่องทางใหม่ที่เข้าถึงคอนเทนต์ในอนาคตได้ง่ายดายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุค 3G ที่กำลังจะมาถึง มัลติมีเดียคอนเทนต์จะเกิดขึ้นอย่างมากมาย"สุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาบริการธุรกิจสื่อสารไร้สายเอไอเอส กล่าว

ต่อไปหากตระกูลชินวัตรรุกธุรกิจมัลติมีเดีย ความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับทางเอไอเอส น่าจะทำให้ธุรกิจมัลติมีเดียคอนเทนต์บนโลก 3G เป็นเรื่องง่ายดายยิ่งขึ้น และถือเป็นช่องทางหนึ่งที่จะสร้างรายได้จากการพัฒนามัลติมีเดียได้อย่างมากมาย

ดาวเทียมและ 3G น่าที่จะเป็นช่องทางใหม่ให้กับกลุ่มฮาวคัม ได้กอบโกยบนโลกธุรกิจยุคใหม่ ที่พร้อมตอบสนองผู้คนในยุคดิจิตอลด้วยมัลติมีเดียคอนเทนต์ทุกอุตสาหกรรมธุรกิจมาไว้บนโลกเทคโนโลยีไร้พรมแดน

มีเดียพกพา

ทรงศักดิ์ เปรมสุข กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ไอทีวี ให้ทัศนะเกี่ยวกับการเติบโตของธรุกิจมัลติมีเดียในเมืองไทยว่า การเติบโตของธุรกิจคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือมีส่วนผลักดันให้มัลติมีเดียแพร่หลายอย่างกว้างขวาง โทรศัพท์มือถือกว่า 20-30 ล้านเครื่องหรือเกือบ 50% ของประชากรไทย และคอมพิวเตอร์ที่มีกว่า 20% ของผู้บริโภคไทย เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นโอกาสเติบโตของธุรกิจนี้

ทั้งนี้ ธุรกิจบันเทิงในปัจจุบันพยายามต่อยอดด้วยการสร้างธุรกิจที่เอื้อต่อกัน เช่น คนที่มีสื่อก็พยายามสร้างคอนเทนต์ คนมีคอนเทนต์ก็พยายามมีสื่อ โดยหัวใจสำคัญของการทำคอนเทนต์คือการสร้างคุณภาพ ส่วนเรื่องเงินทุนไม่ใช่สิ่งที่จะพิสูจน์ว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่

"มีถนนก็ต้องมีรถ ถ้ารถดีก็สามารถวิ่งไปได้ทุกถนน คอนเทนต์ก็เช่นกัน ถ้ามีคุณภาพที่ดีก็ไปได้ทุกสื่อ ซึ่งอนาคตสื่อก็มีมากขึ้น ทุกวันนี้เรามีโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต ในอนาคตทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีก็จะแพร่หลายมากขึ้นเหมือนในประเทศที่พัฒนาแล้ว" ทรงศักดิ์ กล่าว

สื่อใหม่ที่เกิดขึ้นจะใกล้ตัวผู้บริโภคมากขึ้น พบเห็นได้ในทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในบ้าน หรือ นอกบ้าน โดยปัจจัยความสำเร็จนอกจากจะมีคอนเทนต์ที่มีคุณภาพแล้วยังต้องกมีการเซกเมนต์ เนื่องจากผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกัน การซอยย่อยเซกเมนต์ทำให้เราเห็นโอกาสที่จะแสวงหาตลาดใหม่ๆโดยพัฒนาคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับตลาดนั้นๆ

ในขณะที่ ชาลอต โทณวณิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัม มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไม่ว่าสภาวะการณ์ในประเทศจะเป็นอย่างไรประชาชนก็ยังต้องการความบันเทิง ซึ่งไม่เพียงแค่ทีวี วิทยุ หากแต่ยังมีการอินทิเกรตไปยังสื่อใหม่ๆซึ่งเป็นเทรนด์ที่เห็นในต่างประเทศ ส่วนใครจะประสบความสำเร็จก็ต้องมาวัดกันที่ผลงาน และใครมีฐานลูกค้ามากกว่ากัน

*************

จุดจบดีลมหากาพย์ "ชินคอร์ป"

ดีลการขายหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชิน คอร์ปของตระกูลชินวัตรและตระกูลดามาพงศ์เริ่มมีข่าวลือออกมาช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2548 โดยมีกลุ่มผู้ซื้อที่มาจากทั้งประเทศจีนและประเทศสิงคโปร์ ซึ่งในช่วงนั้นมีการปฎิเสธข่าวลือการขายหุ้นจากทางชิน คอร์ปมาอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นในทำนองว่า ไม่ได้ปฏิเสธอย่างเต็มตัว

ห้วงเวลานั้นราคาหุ้นของชิน คอร์ปอยู่ต่ำกว่า 40 บาท แต่หลังจากวันที่ 8 ธันวาคม 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่มีข่าวแพร่สพัดออกมาค่อนข้างชัดเจนว่า จะมีดีลนี้เกิดขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่สนธิ ลิ่มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการได้ออกมาเปิดประเด็นถึงการเตรียมถ่ายโอนทรัพย์สินของทั้ง 2 ตระกูลออกนอกประเทศ ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำข่าวลือดังกล่าวให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

ถึงกระนั้น ทางทีมผู้บริหารชองชิน คอร์ปก็ออกมาปฏิเสธถึงข่าวลือดังกล่าวอยู่เนื่องๆ แต่ก็เริ่มมีท่าทีที่ออกลง จนมีการวิเคราะห์เนื้อหาในหนังสือที่ส่งถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการปฏิเสธข่าวลือที่หนาหูขึ้นทุกวันว่า ไม่ได้ยืนยันอย่างหนักแน่นเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา

จนกระทั่งปลายเดือนธันวาคม 2548 ข่าวการดีลดังกล่าวได้กระพือมากยิ่งขึ้น มีกระแสข่าวเล็ดลอดออกมาในหมู่ผู้ประกอบการธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่คู่แข่งว่า โดยมีรายละเอียดที่ค่อนข้างจะฟันธงว่า ดังกล่าวทางจบลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผ่านความเห็นชอบของผู้ปกครองของพานทองแท้และพินทองทา "พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร" เท่านั้น ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบเวลาว่างเพื่อนัดเข้าไปพูดคุยอย่างเป็นทางการอีกครั้ง แถมยังมีการข่าวลือถึงห่วงเวลาที่น่าจะจบดีลว่าน่าจะเป็นวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา เพราะหากล่วงเลยเวลาดังกล่าวไปแล้ว อาจจะทำให้ดีลนี้เลื่อนไปเป็นเดือน

โดยเฉพาะมีการมองไปข้างหน้าว่า เมื่อดีลนี้จบลง ผู้ขายจะนำเงินก่อนนี้ไปลงไปทำอะไร ซึ่งมีแหล่งข่าวที่รู้จักตระกูลชินวัตรเป็นอย่างดีเคยมองว่า น่าจะลงทุนในธุรกิจดาวเทียม ซึ่งเป็นธุรกิจอนาคต แล้วก็จะมีการนำเงินลงทุนในกลุ่มพลังงานบางส่วน

เมื่อประกอบกับการที่หนึ่งในตระกูลของผู้ที่จะขายได้ยกครอบครัวเดินทางไปประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่คาดกันว่าจะเป็นฐานของบริษัทผู้ที่จะขอซื้อหุ้นดังกล่าว ยิ่งมองถึงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมานานของผู้นำครอบครัว ประกอบกับแนวนโยบายการลงทุนของบริษัทดังกล่าวที่มองไกลถึงการลงทุนนอกประเทศ ทำให้เทมาเส็กของสิงคโปร์กลายเป็นคำตอบสุดท้ายของดีลนี้

ถึงแม้จะได้รับการปฏิเสธแบบน้ำขุ่นๆ จากผู้นำของครอบครัวว่า "ไปเพื่อพักผ่อนเท่านั้น ไม่มีเรื่องอื่น" แต่ก็ไม่สามารถลบแนวความคิดดังกล่าวไปได้เวลาล่วงเลยจากเวลานัดหมาย 10 มกราคม 2549 ไปไม่ถึง 2 สัปดาห์ ในที่สุดกระแสข่าวดีลการขายหุ้นชินคอร์ปจบลงเมื่อช่วง 11 โมงกว่าๆ ของวันที่ 23 มกราคม 2549 เมื่อทางบุญคลี ปลั่งศิริได้ยื่นแบบรายงานประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการต่อกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีรายละเอียดว่า ทางบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัดและบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัดได้ประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยทางบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัดเสนอหุ้นสามัญของชินคอร์ปเป็นจำนวน 1,158,540,120 หุ้น คิดเป็น 38.62%กับบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัดเสนอซื้อหุ้นสามัญของชินคอร์ปเช่นกันเป็นจำนวน 329,200,000 หุ้น คิดเป็น 10.97% รวมทั้งสิ้น 1,487,740,120 หุ้น หรือคิดเป็น 49.59%ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดจำนวน 2,999,833,427 หุ้น ณ วันที่ 4 มกราคม 2549 จากพินทองทา ชินวัตร บรรณพจน์ ดามาพงศ์ พานทองแท้ ชินวัตร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในราคาหุ้นละ 49.25 บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73.3 พันล้านบาท โดยมีระยะเวลาชำระราคาและการส่งมอบหุ้นจะดำเนินการเสร็จสิ้นในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2549 พร้อมทั้งยังได้ยื่นขอระงับการซื้อขายชั่วคราวในช่วงบ่ายของวันดังกล่าว

ช่วงบ่ายของวันดังกล่าว ทางเทมาเส็ก โฮลดิ้งได้ร่วมแถลงข่าวการเข้าซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถึงกับผู้บริหารชินคอร์ป พร้อมตัวแทนของตระกูล "ชินวัตร" และตระกูล "ดามาพงศ์"

เอส.อิสวาราน กรรมการผู้จัดการด้านการลงทุน กลุ่มบริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งเริ่มต้นกล่าวถึงความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนในชิน คอร์ปว่า ประเทศไทยกำลังขยายตัวจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจในการลงทุน ซึ่งชินคอร์ปฯ ก็เป็นบริษัทชั้นนำที่มีชื่อเสียง จึงเป็นโอกาสดีที่จะเข้าลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทย โดยรู้สึกเป็นเกียรติมาก และมีความมั่นใจในอนาคตของชินคอร์ป ทั้งนี้ เทมาเส็กฯ มีความตั้งใจที่จะใช้ประโยชน์ของเครือข่ายที่มีทั่วโลกและระสบการณ์ของเทมาเส็กฯ เข้ามาร่วมทำงานกับผู้บริหารของชินคอร์ป เพื่อสร้างผลกำไรสูงสุดให้ผู้ถือหุ้นชินคอร์ป

ขณะที่บุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากที่ทางเทมาเส็กเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ ถือเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนต่างประเทศมีความเชื่อมั่นในการบริหารของคนไทย โดยที่ผมจะยังคงทำงานในบริษัทต่อไป ซึ่งทิศทางธุรกิจของชินคอร์ปยังไม่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับกลุ่มเทมาเส็กเป็นบริษัทที่มีความเข้มแข็งทางการเงินมีเครือข่ายทั่วโลก จึงมีลู่ทางที่จะช่วยขยายการเติบโตของชินคอร์ปไปสู่ระดับโลก อย่างไรก็ตาม ชินคอร์ปยังเป็นบริษัทของคนไทย

"ทีมผู้บริหารจะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด"

การเปลี่ยนแปลงที่อย่างชัดเจนในวันแรกของการประกาศเข้าครอบงำกิจการก็คือ การตั้งคณะกรรรมการของชิน คอร์ปที่จะมีการเปลี่ยนแปลงใน 3 ตำแหน่ง โดยจะมีพงส์ สารสิน วิชิต สุรพงษ์ชัยและเอส.อิสวาราน เข้ามาแทนตำแหน่งบอร์ดเดิม 3 ท่าน

เอส. อิสวารานกล่าวยืนยันว่า จะมีการหารือกับผู้บริหารของชิน คอร์ปถึงแผนการในอนาคต ซึ่งขอให้ความมั่นใจว่า จะสนับสนุนให้ชิน คอร์ป เป็นบริษัทของคนไทย และมีความมั่นใจในการบริหารงานของนายบุญคลี ส่วนเรื่องบริษัทลูก เช่น ไอทีวี ชิน แซทเทิลไลท์ ซีเอส ล็อกซ์อินโฟร์ และไทยแอร์เอเชีย รวมทั้ง บริษัทแคปปิตอล โอเค ไม่มีนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลง โดยยังคงการบริหารงานในบริษัทลูกไว้เหมือนเดิม และจะมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดต่อไป สำหรับการขายหุ้นในครั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีความสนใจซึ่งกันและกันจึงมีการเจรจาซื้อขายหุ้นผ่านทางที่ปรึกษาทั้งหมด โดยเป็นการซื้อขายด้วยเงินสด ไม่มีการแลกหุ้นกันแต่อย่างใด

เมื่อพิจารณาถึงบริษัทที่เข้าถือหุ้นจากตระกูลชินวัตรและตระกูลดามาพงศ์ในครั้งนี้จะพบว่า มีโครงสร้างการถือหุ้นรวมถึงรายชื่อคณะกรรมการที่ใกล้เคียงกัน

โดยที่บริษัท กุหลาบแก้ว จำกัดได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นมีมติจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549 มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 1 แสนบาท โดยผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัท กุหลายแก้ว จำกัดมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2549 ทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท กรรมการของบริษัทประกอบไปด้วยวีรพจน์ วิเศษศิลปานนท์, เอส อิสวาราน, ทาน ไอ ซิง, สาไช ยูจูและบดินทร์ อัศวาณิชย์ ส่วนผู้ถือหุ้น 10 รายประกอบไปด้วยธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด บริษัท ไชเพรส โฮลดิ้งส์ จำกัด วีรพจน์ วิเศษศิลปานนท์, ศราวุธ กุลรัตน์, ศุภวัฒน์ ศรีรุ่งเรือง, บุญรัตน์ อภิวิศาลกิจ, สายฝน เจริญเกียรติ, อรุณี ธำรงค์ธนกิจและพิณประภัสร์ จาติกวณิช เช่นเดียวกับบริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ จำกัดที่จดทะเบียนเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2549 มีทุนจดทะเบียน 1 แสนบาทที่ต่างมีรายชื่อเป็นกรรมการเช่นกัน

บริษัท กุหลาบแก้ว จำกัดมีกลุ่มผู้ถือหุ้นหลักๆ 2 กลุ่มประกอบไปด้วยเทมาเส็ก โฮดดิ้ง เข้าถือหุ้นอยู่ 49% โดยที่เหลือ 51% เป็นกลุ่มนักลงทุนไทยโดยมีพงส์ สารสินเป็นรับเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 31% ที่เหลือเป็นของศุภเดช พูนพิพัฒน์ โดยบริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด

ทางบริษัท กุหลาบแก้ว จำกัดได้เข้าถือหุ้นในบริษัท ซีดาน โฮลดิ้ง จำกัด 41.1% บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้ง จำกัดถือหุ้น 48.99% และธนาคารไทยพาณิชย์ถือหุ้นในสัดส่วน 9.9%

ส่วนบริษัทแอสเปนมีเอส ไอสวารานซึ่งเป็นผู้บริหารด้านการลงทุนของบริษัท เทมาเส็ก, ไอ ทาน ชิง และไช ยู จู เป็นกรรมการบริษัทและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม โดยมีทุนจดรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ได้แก่ แอนเดอร์ตั้น อินเวสเม้นท์ พีทีเอ แอลทีดี ถือหุ้น 99.94% ของทุนจดทะเบียน โดยมีทุนจดทะเบียนบริษัทเพียง 1 แสนบาท

เมื่อดูโครงการการเข้าถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัทในชิน คอร์ปครั้งนี้จะพบว่า มีโครงข่ายความชาญฉลาดในการเข้าถือครองหุ้นโดยไม่กระทบต่อเนื้อหาทางกฎหมายแต่ประกาศใด ที่ยังคงความเป็นบริษัทคนไทยที่ถือหุ้นส่วนใหญ่อยู่

พงส์ สารสิน ตัวแทนกลุ่มนักลงทุนไทยในนามบริษัท กุหลาบแก้ว จำกัดบอกว่า บริษัทกุหลาบแก้วมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 160 ล้านบาท และได้รับสินเชื่อจากกลุ่มเทมาเส็กอีก 2 หมื่นกว่าล้านบาท ในการเข้าลงทุนซื้อหุ้นชินคอร์ปในครั้งนี้ซึ่งจะต้องมีการชำระเงินกู้ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ซึ่งการที่กลุ่มนักลงทุนไทยเข้ามาลงทุนในครั้งนี้ เพราะเห็นการเติบโตของธุรกิจโทรคมนาคมและเป็นบริษัทไทยที่ต้องการเข้าลงทุนในบริษัทของคนไทย เพื่อรักษาให้ชิน คอร์ป ยังเป็นบริษัทของคนไทยต่อไป

ทางด้านดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการเข้าร่วมลงทุนในครั้งนี้ว่า เนื่องจากเทมาเส็กฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารรายหนึ่งได้ชักชวนให้ธนาคารเข้าร่วมถือหุ้นชินคอร์ป ซึ่งธนาคารก็มีความมั่นใจในอนาคตของชินคอร์ป โดยพร้อมที่ทำงานร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯ

ขณะที่ดร.สุวรรณ วลัยเสถียรในฐานะตัวแทนของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ได้แสดงความคิดเห็นต่อการขายหุ้นของทั้ง 2 ตระกูลว่า การซื้อขายครั้งนี้เป็นผลดีต่อทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งช่วยให้ทั้งสองตระกูลถอนตัวจากชินคอร์ปโดยสิ้นเชิง ขณะเดียวกัน ชินคอร์ปก็ได้ผู้ร่วมลงทุนใหม่ที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์ ซึ่งต้องลงทุนในระยะยาวเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนขยับขยายธุรกิจในเอเชีย

"เป็นเรื่องของธุรกิจล้วนๆ"

ทั้งนี้หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การตกลงซื้อขายหุ้นครั้งนี้ได้ซื้อขายผ่าน 6 บริษัทหลักทรัพย์ ประกอบไปด้วยบริษัทหลักทรัพย์ยูบีเอส กิมเอ็ง ไทยพาณิชย์ ภัทร ธนชาติ และทรินีตี้ และรูปแบบการเจรจาครั้งนี้ เนื่องจากเป็นบริษัทขนาดใหญ่ และไม่เคยเกิดขึ้นในไทยมาก่อน จึงใช้หลักเกณฑ์จากต่างประเทศโดยเฉพาะฮ่องกง โดยนำรูปแบบจากกรณีกลุ่มพักโก้มาใช้กับไทยจึงทำให้มีการตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นคืนจากนักลงทุนรายย่อย 2 หลักทรัพย์ คือ ชิน คอร์ป และเอไอเอส ส่วนไอทีวี ชิน แซทเทิลไลท์และซีเอส ล็อกซ์อินโฟร์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ ในขณะที่อนาคตหากกลุ่มกุหลาบแก้ว จะมีการขายหุ้นให้กลุ่มอื่นหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่พิจารณาในช่วงเวลาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม วงเงินที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่จะใช้ในการเทนเดอร์ออฟเฟอร์ขึ้นกับผู้ถือหุ้นรายย่อยจะขายมากน้อยเพียงใด โดยช่วงเวลาที่จะทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ คือ 2 กุมภาพันธ์ - 23 มีนาคม 2549

ราคาเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ หุ้นชิน คอร์ปในราคา 49.25 บาทต่อหุ้น และซื้อวอแรนท์ของชินคอร์ป ในราคา 28.75 บาท ส่วนบริษัท แอดวานส์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จะซื้อในราคา 72.31 บาท เป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว แม้ว่าราคาจะต่ำกว่ากระดานซื้อขาย แต่เป็นไปตามกฎของการทำคำเสนอซื้อกรณีการครอบงำกิจการที่กำหนดให้ต้องทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์หุ้นของบริษัทในเครือด้วย

ภายหลังจากที่มีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการถึงการขายหุ้น มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างมาก แม้แต่ตัวผู้ก่อตั้งชิน คอร์ปก็ต้องรับถึงการขายหุ้นดังกล่าว

"การซื้อขายหุ้นเป็นเรื่องปกติ โดยเป็นเรื่องของทางลูกๆ ที่อยากให้พ่อทำงานให้บ้านเมืองเต็มที่จะได้ไม่ต้องถูกกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เขาประชุมกันเองและก็ตัดสินใจว่าขายดีกว่า" นั่นเป็นคำสารภาพของผู้ก่อตั้งชินคอร์ป พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีสถานะเป็นผู้นำรัฐบาลและผู้นำประเทศในวันนี้ หลังจากที่บ่ายเบี่ยง เลี่ยงตอบคำถามเรื่อยมาว่าข่าวนี้ไม่มีมูลความจริงเป็นเรื่องของการ "กุข่าว"

อำนาจรัฐเอื้อ เบื้องหลังดีล

สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อหรือคปส. แสดงความคิดเห็นต่อการขายหุ้นชินคอร์ปในครั้งนี้ว่า เป็นเรื่องที่ผิดปรกติมาตั้งแต่ต้นแล้ว มีเงื่อนงำที่ซับซ้อนและมีการวางแผนตะเตรียมการมาเป็นระยะเวลานานเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐ หากย้อนกลับไปดูการทำงานของพ.ต.ท.ทักษิณ นับตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระยะเวลา 4-5 ปีนี้มีการออกแบบกฎหมายให้สอดรับกับธุรกิจของตัวเองหรือไม่ เหมือนกับปูพื้นฐานมาแล้วเรียบร้อย มีการแปรสัญญาและแก้กฏหมายให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือหุ้นสิ่งที่เกิดขึ้นจะทำให้ประชาชนเสียหายทั้งขึ้นทั้งร่อง

"การขายหุ้นชินครั้งนี้ มันไม่ง่ายเหมือนการขายเสื้อผ้า การทำแบบนี้ทำให้เห็นถึงผลประโยชชน์ทับซ้อน เพราะกระบวนการที่ทำการโอนถ่ายหุ้นก็ไม่มีใครอธิบายอะไรได้

ขณะที่โสภณ สุภาพงษ์ สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานครได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ "สภาท่าพระอาทิตย์"ออกอากาศทางASTV ทีวีระบบดาวเทียมโดยมีความเห็นว่า การแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม ถือเป็นการขายชาติ ขายอนาคตลูกหลานไทยให้กับต่างชาติอย่างแท้จริง

"คลื่นความถี่ถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เป็นของสาธารณะ ซึ่งครอบคลุมไปถึงวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ออสเตรเลีย เป็นต้น ก็กำหนดให้ต่างชาติถือได้ไม่เกิน 25 %เช่นเดียวกัน"

โสภณยังกล่าวว่า อยู่ดีๆ รัฐบาลก็มาแก้ไขให้ต่างชาติถือหุ้นได้ถึง 49 เปอร์เซ็นต์ มันไม่มีเหตุผลอธิบายเพียงพอ เหมือนมีคำสั่งพิเศษ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us