Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
Innovations in Competitive Manufacturing             
 





บนเส้นทางแห่งการปรับปรุงโรงงานอเมริกัน

ไม่เกินความจริงที่จะกล่าวว่า การผลิตของสหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษ 1970 พ่ายแพ้อย่างราบคาบให้แก่คู่แข่งจากญี่ปุ่น ซึ่งมีความคล่องตัวและมีสำนึกในเรื่องคุณภาพมากกว่า มีหนังสือหลายเล่มที่กล่าวถึงการฟื้นตัวของการผลิตในสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น แต่คุณค่าของ Innovations in Competitive Manufacturing อยู่ที่การให้ภาพรวมการผลิต ของสหรัฐฯ อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอน โดยผู้เชี่ยว ชาญในแวดวงการผลิต ใน Innovations in Competitive Manufacturing ซึ่งมีศาสตราจารย์ Paul M. Swamidass แห่ง มหาวิทยาลัย Auburn เป็นบรรณาธิการ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ ด้านการผลิตกว่า 40 คนได้เขียนถึงนวัตกรรมการผลิตทั้งหมด ที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1980-2000 ซึ่งมีทั้งหมด 34 นวัตกรรม ตั้งแต่การผลิตแบบ lean manufacturing และการควบคุมคุณภาพแบบ total quality management ไปจนถึง concurrent engineering การผลิตแบบ mass customization การวางแผนทรัพยากร และการใช้เครื่องจักรอย่างยืดหยุ่น

กลยุทธ์การผลิตสมัยใหม่

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนช่วยฟื้นการผลิตของสหรัฐฯ คือ การคิดค้นพัฒนากลยุทธ์การผลิตใหม่ๆ ขึ้น โดยมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่เพื่อลดค่าใช้จ่าย และลดการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด (minimization) เท่านั้น หากแต่นักพัฒนากลยุทธ์การผลิตในทุกวันนี้ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพ ความยืดหยุ่น การพึ่งพา และความเหมาะสมในด้านเวลาด้วย ทั้งนี้พวกเขาพยายามจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าเดิม สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ามากขึ้น และแนะนำสินค้าใหม่ได้รวดเร็วขึ้น เป้าหมายใหม่ๆ ของการผลิตเหล่านี้สามารถวัดผลได้โดยดูจากค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการผลิตที่เหนือกว่า ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการจัดการคำสั่งซื้อ ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต/การขนส่ง

ทักษะสำคัญ 7 อย่าง

การคิดค้นพัฒนากลยุทธ์การผลิตสมัยใหม่และการนำไปใช้ให้ได้ผล จำเป็นต้องอาศัยทักษะที่สำคัญ 7 อย่าง ได้แก่ ความสามารถในการปรับปรุง (improvement) ความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรม (innovation) ความสามารถในการรวมหรือประมวล (integration) ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ได้อย่างรวดเร็วและสามารถถ่ายทอดแก่ผู้อื่น (acuity) ความสามารถในการควบคุม (control) ความคล่องแคล่ว (agility) และความกระตือรือร้นที่จะร่วมมือ (responsiveness)

ทั้งนี้ 3 ทักษะแรก เป็นทักษะสำคัญสำหรับการปรับปรุงการผลิตในระยะยาว ซึ่งผลที่ได้คือบริษัทบรรลุความสำเร็จในกลยุทธ์การเติบโต ส่วน 4 ทักษะหลังเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงการผลิตประจำวัน

ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

หนังสือเล่มนี้ยังให้ความสำคัญอย่างมากต่อประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตได้แก่ การผลิตแบบ lean production แนวคิดที่ได้รับการปรับปรุงใหม่เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ supply chain แนวคิดที่ได้รับการปรับปรุงใหม่เกี่ยวกับการคำนวณต้นทุน และประเด็นเรื่องคุณภาพ แต่ละประเด็นจะแบ่งเป็นหลายบท แต่ละบทกล่าวถึงองค์ประกอบหนึ่งของประเด็นนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ในหัวข้อกระบวนการผลิตแบบ lean manufacturing จะแบ่งออกเป็นหลายบท แต่ละบทจะกล่าวถึงองค์ประกอบหนึ่งของ lean manufacturing ได้แก่ just-in-time manufacturing, การนำ lean manufacturing ไปใช้, total productive maintenance, การผลิตแบบ cell manufacturing, และ predictive maintenance

อธิบายด้วยกรณีศึกษา

หนังสือเล่มนี้ใช้วิธีอธิบายด้วยกรณีศึกษาที่ลงลึกในรายละเอียดเพื่อให้ความกระจ่างมากขึ้น เช่นการอธิบายความหมายของ cell manufacturing ว่าหมายถึง การแบ่งโรงงานออกเป็น "หน่วยผลิต" หรือ manufacturing cell ซึ่งแต่ละหน่วยผลิตจะเน้นการผลิตสินค้าเพียงหนึ่งชิ้นหรือหนึ่งประเภทเท่านั้น อาจจะดูแห้งแล้งและน่าเบื่อ แต่การใช้กรณีศึกษาทำให้สามารถกล่าวถึงคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตแบบนี้ ซึ่งช่วยเพิ่มสีสันให้แก่การอ่าน

ผู้เขียนบทที่ว่าด้วยกระบวนการผลิตแบบ cell manufacturing กล่าวถึงประโยชน์ของการผลิตแบบนี้ว่า เป็นการเพิ่มความสามารถให้แก่คนงาน เพราะแทนที่จะต้องทำงานกับเครื่องจักรเพียงเครื่องเดียว คนงานจะต้องเรียนรู้กระบวนการทำงานทั้งหมดของหน่วยผลิตหนึ่งๆ และต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม คนงานยังได้มีโอกาสฝึกทักษะการบริหารบางอย่าง เช่น การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจจ้างงาน การประเมินระดับความสามารถของผู้สมัคร และการเลื่อนตำแหน่ง

นอกจากจะใช้กรณีศึกษาแล้ว ผู้เขียนยังใช้แผนผังช่วยในการอธิบายด้วย ทำให้สามารถเข้าใจแนวคิดต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว อย่างเช่น คุณสามารถจะเข้าใจกระบวนการผลิตแบบ cell manufacturing ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ภายในเนื้อหาที่กินความยาวเพียง 10 กว่าหน้าเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us