Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 มกราคม 2549
"ทนง"แขวะเศรษฐกิจไทยเรื่องหมาๆต้องช่วงชิงตำแหน่งจ่าฝูงจัดการปัญหา             
 


   
search resources

ทนง พิทยะ
Economics




เศรษฐกิจปีจอจะดูหรือไม่ดูเป็นเรื่องที่ไม่อาจฟันธงได้เพราะจากบทเรียนสอนให้เห็นแล้วว่าความไม่แน่นอนมักเกิดขึ้นเสมอทั้งเป็นผลจากภายในและภายนอกประเทศ แต่กระนั้นก็ตามเศรษฐกิจปีจอที่เปรียบเสมือนสุนัขไทย มีความต้องการจ่าฝูงที่แข็งแกร่ง แม้ในภาวะของการแก่งแย่งความเป็นจ่าฝูงจะมีอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ตัวที่แข็งแกร่งสุดเท่านั้นที่จะเป็นผู้นำ

การออกมาประเมินภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ดูเหมือนว่ารัฐต้องการสร้างขวัญและกำลังใจให้ภาคธุรกิจและประชาชนได้รับรู้ว่าสถานการทางการเมืองและเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบันนี้ยังไม่น่าห่วง แม้จะอยู่ภายใต้แรงกดดันของกลุ่มคนจำนวนหนึ่งก็ตาม แต่รัฐก็ยึดมั่นไม่หนี ไม่ท้อ ไม่ลาออก พร้อมดำเนินการสานนโยบายที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวตามเป้า

ในงานสัมมนา โค้งแรกเศรษฐกิจปี 49 ที่จัดขึ้นเพื่อแรกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจครึ่งแรกระหว่างรัฐและเอกชนนั้น เห็นพ้องต้องกันไปในทิศทางเดียวว่า ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดี ซึ่งเป็นผลดีที่ได้รับต่อเนื่องมาจากปลายปี 2548 ที่อาการไข้เศรษฐกิจเริ่มบรรเทาลง

ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า เศรษฐกิจประเทศไทยได้ผ่านช่วงมรสุมหนักไปแล้วในปี 2548 แต่ที่ผ่านมาได้เป็นเพราะว่ารัฐบาลมีความแข็งแกร่ง ขณะเดียวกันภาคธุรกิจก็ไม่ย่อท้อต่อภาวะปัญหาที่เข้ามารุมเร้า จึงทำให้ปีที่ผ่านมาประเทศไทยสามารถฝ่าฝันอุปสรรคนานัปการไปได้ด้วยดี ซึ่งถ้าวัดเป็นอัตราการเติบโตของจีดีพีนั้นอยู่ที่ 4.5%

ส่วนในปีนี้มรสุมที่รุมเร้าคงมีรุนแรงเช่นปีที่ผ่านมา แต่ความกังวลต่อภาคการเมืองก็เป็นอีกประเด็นที่ทำให้ภาคธุรกิจและประชาชนเกิดความกังวล ซึ่ง ทนง บอกว่า "สำหรับผมมองว่าการเมืองไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่ประทบต่อเศรษฐกิจและประเทศในปีนี้ แต่อยู่ที่ความร่วมมือร่วมใจจากภาครัฐและเอกชนต่างหากที่จะประสานและเดินไปด้วยกันซึ่งจะเป็นผลให้เศรษฐกิจเกิดการขับเคลื่อน"

แม้ว่าขุนคลังจะออกมายืนยันถึงสถานการทางการเมืองที่ไม่น่าเป็นห่วงก็ตาม แต่ในภาพของความเป็นจริงนั้นไม่อาจฟันธงได้ว่าปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพราะผลพวงจากม็อบและเสียงขัดค้านรัฐบาลจากคนกลุ่มหนึ่งได้เริ่มทวีจำนวนคนมากขึ้น และภาพที่เกิดขึ้นนี้ก็ยังไม่อาจสรุปได้ถึงตอนจบของเรื่อง

แต่กระนั้นก็ตาม ไม่เพียง ขุนคลังเท่านั้นที่ออกมายืนยันว่าปัญหาการเมืองไม่น่าห่วง สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ประทานเจ้าหน้าที่บริหาร นครไทยสตริปมิล ก็เป็นอีกท่านที่ออกมากล่าวว่าปัญหาการเมืองขณะนี้น่าเป็นห่วง

เพราะสิ่งที่เป็นห่วงนั้นคือเรื่องของมิติสหประชาชาติคว่ำบาตรอิหร่านในอีก 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นราคาน้ำมันอาจขึ้นไปถึง 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลได้ และจะกลายเป็นปัญหากับทั่วโลก

ย้อนกลับมาที่คำกล่าวจากขุนคลัง เมื่อตัดปัญหาเรื่องการเมืองออกไป ท่านว่าสิ่งสำคัญนอกจากการขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าไปด้วยนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศแล้ว สิ่งที่มองข้ามไม่ได้เพราะเป็นฐานหลักของการเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคงถาวรคือการขจัดปัญหาความยากจน

เป็นปัญหายากสำหรับการแก้ไข ทนง บอกว่า การที่นายกรัฐมนตรีไปอาจสามารถไม่ได้หมายถึงว่าจะแก้ปัญหาความยากจนได้ในทันที แต่เป็นการเข้าไปดูและรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาสู่แนวทางในการจัดการแก้ไข

"อย่างงานของ 1 ตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนในต่างประเทศก็ทำ แต่ใช่ว่าจะสำเร็จได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เขาก็ใช้เวลาเป็น 5-10ปี รัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือไปดูแลจัดระบบ ไม่เพียงแต่ใส่เงินเข้าไปแต่ต้องสอนให้รู้จักการออม ฉะนั้นสิ่งที่ทำในวันนี้จะยังไม่เห็นผลในทันที แต่จะเห็นผลในวันหน้า"

ทุกวันนี้การขยายตัวก็เกิดเฉพาะที่เมืองหลวงเพียงอย่างเดียว และเป็นเช่นนี้มาเรื่อยทำให้พื้นที่ชนบทในต่างจังหวัดไม่มีโอกาสได้เติบโตหรือขยายตัว เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนเพิ่มขึ้น ดังนั้นต่อไปนโยบายใหม่ที่รัฐจะส่งเสริมคือ การให้1อำเภอมี 1โรงปุ๋ยอินทรีย์ 1 จังหวัดมี 1 โรงงาน 1 ภาคมี1อุตสาหกรรม ซึ่งในแต่ละโรงงานหรือแต่ละอุตสาหกรรมก็จะเข้าไปสำรวจว่าประชาชนพื้นที่ดังกล่าวมีความถนัดในเรื่องใด

โดยท้าย ทนงได้บอกว่า ในครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยไม่น่าเป็นห่วง อัตราการขยายตัวปีนี้ไม่น้อยกว่า 4.5%แต่ถ้าได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนอีกเชื่อว่าจีดีพีที่ 5.5 % คงได้เห็นแน่นอน

แต่กระนั้นก็ตาม ขุนคลัง มองว่า ในช่วง 6 เดือนแรกเศรษฐกิจจะขับเคลื่อนได้ดี แต่ในช่วง 6 เดือนหลังเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและทำนายได้ยากแต่เชื่อว่าอาจมีการชะลอตัวลง ซึ่งรัฐก็จะพยายามวางแผนและออกนโยบายมาเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนให้เศรษฐกิจเกิดการขับเคลื่อน

อีกด้าน โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ เองก็เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกจะขยายตัวได้ดี และทั้งปีจะขยายตัวได้ 4.5-5%

โฆษิต บอกว่าสิ่งที่น่ากังวลสำหรับปีนี้คงเป็นเรื่องของการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเรื่องของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราเงินเฟ้อ นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย ฉะนั้นรัฐบาลจะวางนโยบายให้ชัดเจนซึ่งจะช่วยภาคธุรกิจให้วางแผนดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง

"การทำธุรกิจต้องมองเสถียรภาพเพราะมีความหมายและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมาก อย่างนโยบายการเงินที่ทำอยู่ในปัจจุบันส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากการรักษาเสถียรภาพนั่นเองเพราะฉะนั้นเรื่อวงนี้สำคัญมากสำหรับภาคธุรกิจ"

แต่กระนั้นก็ตามสำหรับภาคธุรกิจในปีนี้มองว่าจะต้องมีการขยายธุรกิจเพื่อรองรับกับกระแสโลกาภิวัฒน์ และการเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น การเตรียมตัวไม่ใช่การจับจ้องมองผลกระทบเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการสร้างฐานและความแข็งแกร่งให้กับภาคธุรกิจ

"กระแสโลกที่เป็นเช่นนี้เราไม่มีทางหลีกเลี่ยงมันได้ไม่ว่าอย่างไรมันก็ต้องเข้ามากระทบแน่นอน และจากนี้ไปมุมมองต่อโลกก็ต้องเปลี่ยนไปด้วยไม่ใช่มองโลกด้านเดียว"

โฆษิต กล่าวในตอนท้ายว่า 2 แนวทางสำหรับการต่อสู้กระแสโลกาภิวัฒน์ และการเปิดเสรี คือการสร้างภูมคุ้มกันให้แก่ภาคธุรกิจหมายถึงการสร้างฐานเศรษฐกิจและธุรกิจให้มีความแข็งแกร่ง และอีกแนวทางคือ การบริหารความเสี่ยง ต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ และถ้าสามารถทำต้นทุนได้ถูกกว่าคู่แข่งย่อมเป็นความได้เปรียบ แต่ทั้งนี้ในเรื่องของความเสี่ยงในแต่ละธุรกิจก็จะแตกต่างกันอออกไป ซึ่งก็อยู่ที่แต่ละแห่งจะจัดการอย่างไร

"แต่ในส่วนของผมในฐานะภาคการเงิน การลดต้นทุนนั้นคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยซึ่งในระยะยาวทำให้เกิดการประหยัด เพราะในความหมายของการลดต้นทุนของผมนั้นไม่ได้หมายความว่าไม่ลงทุนอะไรเลย"

ปีจอครานี้ไม่ว่าจะเป็นสุนัขดุหรือไม่ดุ สุนัขไทยหรือสุนัขเทศก็ตามแต่ ขุนคลังก็ยังบอกว่าเศรษฐกิจไทยสามารถฝ่าฝันไปได้ ซ้ำยังเปรียบด้วยว่าเศรษฐกิจปีนี้เป็นเหมือนสุนัขไทยที่ต้องการจ่าฝูงในการนำ และถ้าจ่าฝูงแข็งแกร่งก็ย่อมนำพาลูกฝูงผ่านวิกฤติไปได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us