|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549
|
|
ทักษิณ ชินวัตร เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มที่สร้างความมั่งคั่งใหม่รุ่นล่าสุด ในยุคที่เรียกกันว่า Globalization วิถีและจิตสำนึกของกลุ่มความมั่งคั่งใหม่นี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจเสมอ
เรื่องของทักษิณ ชินวัตร เกิดขึ้นที่ประเทศไทยในช่วงกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก่อเกิดห่วงโซ่แห่งความสัมพันธ์หลายมิติ
การสื่อสาร
"หนึ่ง กรุงเทพฯ กับเมืองใหญ่ในโลก ในฐานะกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการส่งออกเกษตร เป็นแหล่งประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งเป็นตลาดอันกว้างใหญ่ของสินค้าสมัยใหม่ โลกสมัยใหม่จึงผนึกกรุงเทพฯ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของวังวนอันสลับซับซ้อนนั้น
สอง กรุงเทพฯ กับหัวเมืองใหญ่ในประเทศไทย มิติแห่งความสัมพันธ์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นภาพย่อส่วนแห่งความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับกรุงเทพฯ กับโลก
ห่วงโซ่นี้ร้อยรัดด้วยระบบสื่อสารสมัยใหม่"
ผมเคยอรรถาธิบายเรื่องนี้ไว้เมื่อ 8 ปีที่แล้ว
กลุ่มธุรกิจใหม่เกิดขึ้นภายใต้ที่ระบบสื่อสารของการพัฒนาครั้งใหญ่ Information super highway กำลังสร้างอย่างขนานใหญ่ของประเทศตนเองและกำลังข้ามผ่านไปเชื่อมระดับโลก ประเทศไทยเปิดสัมปทานสื่อสารใหม่หลายรูปแบบ เป็นสัมปทานที่มูลค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์พื้นฐาน ดาวเทียม และสื่อสารไร้สาย
2533
มีนาคม บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) ได้รับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่
2534
กรกฎาคม บริษัทชินวัตรแซทเทลไลท์ ได้รับสัมปทาน ดาวเทียมไทยคม
พฤศจิกายน AIS เข้าตลาดหุ้น
2537
มกราคม ชินวัตรแซทเทลไลท์ เข้าตลาดหุ้น
ตลาดหุ้น
2531
อัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจไทย (GNP) ทะยานขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 13.2%
2533
ดัชนีตลาดหุ้นไทยทะยานขึ้นมาตั้งแต่ปี 2531 และทะลุ 1,000 จุด ในปีนี้ เป็นปีที่มีบริษัทจดทะเบียนถึง 214 บริษัท มูลค่าการซื้อขายต่อวันโดยเฉลี่ย 2,500 ล้านบาท
การระดมทุนจากตลาดหุ้นของกลุ่มชินวัตรเกิดขึ้นหลายครั้งในหลายกิจการในตลาดหุ้น ความมั่งคั่งเพียงไม่กี่ปีที่สะสมได้มากกว่ากลุ่มทุน (ในฐานะครอบครัว) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่ว่าจะเป็นโสภณพนิช หรือล่ำซำ ด้วยซ้ำ ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการระดมเงินจากการเปิดขึ้นของตลาดเงินโลก
วิกฤติการณ์ที่รุนแรงในปี 2540 ไม่ได้หยุดยั้ง Globalization แต่อย่างใด โดยเฉพาะในเรื่องการสื่อสาร ซึ่งถือเป็น Driver สำคัญของระบบนี้ เพียงแต่ปิดตลาดการเงินรวมทั้งตลาดหุ้นช่วงสั้นๆ ช่วงหนึ่ง
จากนี้ไปห่วงโซ่แห่งความสัมพันธ์ของระบบสื่อกำลังผ่านมิติในพรมแดนภูมิศาสตร์ของประเทศ ไปสู่ระบบภูมิภาคมากขึ้น
จึงเป็นเรื่องที่อรรถาธิบายได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณี Telenor กับ DTAC หรือ AIS กับ Singtel
หรือแม้แต่มิติของตลาดการเงิน โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้น ในความคิดของผู้มั่งคั่งในยุคนี้ คงต้องคิดไกลและกว้างกว่าความเป็นเจ้าของกิจการ มองตลาดหุ้นกว้างกว่าประเทศไทย พวกเขาคิดเรื่อง "มูลค่าปัจจุบัน" กับโอกาสใหม่ของพวกเขา ที่มากับความผันแปร มากกว่าความมั่นคงที่มีโอกาสน้อย
เช่นเดียวกัน เรื่องนี้อรรถาธิบายเบื้องหลังการตัดสินใจของตัน โออิชิ หรือทักษิณ ชินคอร์ปได้
|
|
|
|
|