Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2549
พรรคฝ่ายซ้ายกับโบสถ์คาทอลิก             
โดย ธนิต แก้วสม
 


   
search resources

Social




ความจริงอย่างหนึ่งที่ปรากฏในสังคมยุโรปตลอดมา คือ ความเกี่ยวข้องกันระหว่างศาสนากับการเมือง บางยุคศาสนามีอำนาจมากกว่าการเมือง บางยุคการเมืองมีอำนาจเหนือศาสนา บางยุคมีอำนาจเท่าเทียมกัน

อย่างในอาณาจักรโรมัน ศาสนากับการเมืองมีความใกล้ชิดกันมาก จักรพรรดิบางองค์ก็ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางศาสนาด้วย

ต่อมาเมื่อคริสต์ศาสนาได้เข้าไปแทนที่ศาสนาเดิมของโรมัน ทำให้การปฏิบัติต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป แต่ในแง่ความสัมพันธ์กับการเมืองนั้นยังมีอยู่ตลอดมา

ประเทศสเปนในฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของอาณาจักรโรมันก็ได้รับอิทธิพลทางความเชื่อของคริสต์ศาสนามาอย่างเหนียวแน่น นับเป็นเวลาเกือบสองพันปีมาแล้ว ที่คริสต์ศาสนานิกโรมันคาทอลิกได้มาฝังรากลึกในประเทศแห่งนี้

ก่อนศตวรรษที่ 19 นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ชื่นมื่นที่สุดสำหรับโบสถ์คาทอลิกในประเทศสเปน เพราะเป็นยุคที่ผู้นำประเทศคือกษัตริย์มีอำนาจเบ็ดเสร็จ และศาสนาคาทอลิกก็เป็นเหมือนศาสนาประจำชาติและประจำราชวงศ์ จึงได้รับการสนับสนุนในทุกด้านเป็นอย่างดี

ต่อมาเมื่อเกิดกระแสเสรีนิยมขึ้นมาในยุโรป ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีเสรีภาพทางความคิดและทางความเชื่อ ทำให้สังคมคาทอลิกต้องเปิดตัวเองออกสู่โลกกว้าง

แม้ว่าในกรณีของประเทศสเปนนั้นจะล่าช้าไปมาก เพราะต้องตกอยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการของนายพลฟรังโก้อยู่หลายสิบปี ทำให้มีการเริ่มใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ตามระบอบประชาธิปไตย เมื่อ 28 ปีมานี้เอง คือเริ่มเมื่อปี 1978

ที่สำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีระบุว่า "ชาวสเปนทุกคนมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา และไม่มีการกำหนดศาสนาใด เป็นศาสนาประจำชาติ" ภายใต้ระบบการเมืองแบบใหม่ ทำให้โบสถ์คาทอลิกต้องปรับตัวเองอย่างมาก อย่างน้อยก็ในสองประเด็นคือ การรักษาจำนวนผู้ศรัทธา และเรื่องของงบประมาณสนับสนุน

แน่นอนว่าโบสถ์คาทอลิกต้องประสบปัญหาพอสมควรในการปรับตัวให้เข้ากับระบอบการเมืองแบบใหม่ เพราะว่าโบสถ์คาทอลิกไม่ได้ขึ้นกับรัฐบาล แต่ขึ้นตรงกับสำนักวาติกันในกรุงโรม ฉะนั้นจึงไม่ได้มีหลักประกันที่ชัดเจนและแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องของงบประมาณทุกอย่างมีการทำเป็นข้อตกลง หรือสนธิสัญญาเป็นกรณีๆ ไป

แต่จะเป็นปัญหาหนักก็ต่อเมื่อพรรคที่ขึ้นเป็นรัฐบาลนั้นเป็นพรรคฝ่ายซ้าย พรรคฝ่ายซ้ายจะเป็นลักษณะของพรรคหัวก้าวหน้าประชานิยม หรือว่าเสรีประชาธิปไตย ส่วนพรรคฝ่ายขวาก็คือพรรคอนุรักษนิยม ในเบื้องหลังก็คือ พรรคคริสเตียน หรือพรรคคาทอลิกนั้นเอง

เมื่อทุกวันนี้พรรคฝ่ายซ้ายคือ พรรค PSOE (Partido Socialista Obrero Espanol) ได้เป็นรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ซาปาเตโร่ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับโบสถ์คาทอลิกไม่สวยงามเหมือนในอดีต

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รัฐบาลนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะล้มล้าง หรือทำลายโบสถ์คาทอลิกแต่อย่างใด เพราะทุกคนในคณะรัฐบาลก็นับถือคาทอลิกกันทั้งนั้น เพียงแต่ต้องการที่จะทำตัวเป็นกลางและถูกต้อง โดยยึดหลักตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

โดยประเด็นหลักๆ อยู่ที่การศึกษาและเรื่องของงบประมาณ สืบเนื่องมาจากว่ารัฐบาลสเปนเคยทำข้อตกลงไว้กับสำนักวาติกัน ในเรื่องของการสอนศาสนาคาทอลิก และการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลสเปน เมื่อปี 1976 ที่รู้จักกันในชื่อว่า Con-cordato-1976 ซึ่งทำกันก่อนกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นเมื่อมีรัฐธรรมนูญออกมาแล้วก็ควรจะทำการแก้ไขให้สอดคล้องกัน

ในกรณีเรื่องการศึกษาตามข้อตกลงนี้ เด็กนักเรียนจะต้องเรียนวิชาศาสนาทุกคน ซึ่งสอนโดยบาทหลวงที่โบสถ์เป็นคนกำหนด แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า มีเรียนเพียงศาสนาเดียว ส่วนเรื่องงบประมาณนั้น ก็กำหนดให้ผู้เสีย ภาษีสามารถแสดงความประสงค์ที่จะบริจาค 0.529% ให้กับโบสถ์ แต่ถ้ายอดไม่ถึงที่กำหนดไว้ รัฐบาลจะต้องสมทบให้ ซึ่งแต่ละ ปีก็มีเพียงประมาณ 30% เท่านั้นของจำนวน ผู้เสียภาษีที่บริจาคเงินส่วนนี้ และยอดรวม ที่ได้ก็จะไม่เกิน 200 ล้านยูโร แต่ตัวเลขที่โบสถ์ได้รับจากรัฐบาลทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่ที่ประมาณ 3,000 ล้านยูโรต่อปี

สิ่งที่รัฐบาลต้องการแก้ไขคือ ให้มีการสอนศาสนาคาทอลิกในโรงเรียนได้ แต่ต้องไม่ให้เป็นวิชาบังคับ ใครอยากเรียนก็เรียน ไม่เรียนก็ไม่เป็นไร และให้สอนเป็นวิชาเรียน ไม่ให้สอนเพื่อให้รับเป็นความเชื่อ ในส่วนของงบประมาณนั้นโบสถ์คาทอลิกควรจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง หรือถ้าจะสนับสนุนรัฐบาลก็ควรสนับสนุนทุกศาสนาให้เท่าเทียมกัน

แม้ว่าจะเป็นการปรับแก้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตาม ทางโบสถ์คาทอลิกย่อมไม่พอใจอย่างแน่นอน ฉะนั้นเมื่อมีการยกร่างแก้กฎหมายดังกล่าวหรือร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้อง โบสถ์ก็ออกมาเดินขบวนประท้วงทันที และยังมีการต่อปากต่อคำกันอยู่เป็นระยะๆ

อยากเช่นล่าสุด รัฐมนตรีกลาโหม โฆเซ่ โบโน ออกมาประกาศว่า "ประเทศสเปนเป็นประเทศที่ปฏิบัติต่อโบสถ์คาทอลิกดีแต่ที่สุดในโลก รัฐบาลไม่ได้มีหน้าที่ที่จะสนับสนุนการทำงานของโบสถ์ ต่อไปโบสถ์ควรจะหางบประมาณเอง ต้องปรับตัวให้สามารถพึ่งตนเองได้" และบอกว่า ตนเองนั้นเป็นคาทอลิก แต่ทำอย่างนี้ก็เพราะอุดมการณ์ทางการเมือง (เสรีประชาธิปไตย)

คำพูดนี้ได้รับการคำวิจารณ์อย่างรุนแรง และทางสภาคาทอลิกได้ส่งจดหมายตรงไปยังท่านรัฐมนตรี โดยบอกว่า "กรุณาทำอะไรให้มันสอดคล้องกับความเชื่อของตัวเอง"

ประเด็นอื่นๆ ที่โบสถ์แสดงความเห็นคัดค้านและต่อต้านเสมอมาคือเรื่องของการใช้ถุงยางอนามัย, การแต่งงานของเพศเดียวกัน, การทำแท้ง และล่าสุด การนำสเตมเซลล์มาใช้ในงานวิจัย

ประเด็นเหล่านี้ในความเห็นของโบสถ์คาทอลิก เห็นว่ามันไม่ถูกต้องเป็นเรื่องไม่ดี แต่ก็อธิบายไม่ได้เหมือนกันว่ามันไม่ถูกต้องหรือไม่ดีอย่างไร บาทหลวงบางคนก็อธิบาย ในทำนองที่ว่า ถ้าพระเยซูยังมีชีวิตอยู่ ก็คงไม่เห็นด้วยเช่นกันที่จะให้ทำอย่างนั้น

เรื่องราวความขัดแย้งเหล่านี้ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และคงจะหาข้อสรุปได้ยาก เพราะฝ่ายหนึ่งก็ต้องทำไปตามหลักการของประชาธิปไตย ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องคัดค้านด้วยความจำเป็นและเพื่อความอยู่รอด

ล่าสุดรัฐบาลยุโรปก็ได้มีคำสั่งให้รัฐบาลสเปนยกเลิกสิทธิพิเศษทางภาษีมูลค่าเพิ่มกับโบสถ์คาทอลิกโดยด่วน เพราะผิดกฎหมายของสหภาพ มิฉะนั้นจะไปฟ้องศาลสูงแห่งสหภาพยุโรป

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้พอจะได้ข้อสรุปในเชิงประวัติศาสตร์ว่า ศาสนาความเชื่อใดที่คงอยู่ เติบโต และเจริญรุ่งเรืองมาได้ด้วยการเมือง อาจจะต้องเสื่อมถอยและล่มสลายไปก็เพราะการเมือง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us