Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง Dead man walking             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 


   
search resources

สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง




เจ้าของวาทะบ้าบิ่น ประชดประชัน ที่เรียกตัวเองในวันนี้ว่า "ซากศพเดินได้" หรือ Dead man Walking เป็นใครไปไม่ได้นอกจากนายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง อดีตเจ้าพ่อวงการเหล็ก ที่วันนี้กอบกู้ชีวิตธุรกิจ กลับคืนมาได้เกือบหมดแล้ว และประกาศ การกลับมาอย่างทรนงว่าในบรรดาธุรกิจที่เขาก่อหนี้สินยืมเงินคนอื่นมาสร้างนั้น สำเร็จทุกเรื่อง แม้จะกลายเป็นหนี้เสียหรือ NPLs ในเวลาต่อมาเพราะประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี ผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ต่างๆ ธุรกิจเหล่านั้นก็เริ่มกลับสู่สภาพดำเนินกิจการต่อได้แล้ว และคาดว่าในต้นปี 2546 นี้ เขาจะกลายเป็นนายสวัสดิ์คนใหม่ที่ปลดเปลื้องพันธนาการหนี้อุตสาหกรรมของเขาหมดสิ้น เหลือเพียงภาระหนี้ส่วนตัวที่ไปกู้และค้ำประกันการกู้ยืมต่างๆ เท่านั้น

ผู้ที่เคยมีโอกาสสนทนากับนายสวัสดิ์จะมองเห็นว่าเขาเป็นคนที่มีอารมณ์ขัน ชอบพูดเรื่องซีเรียสให้สนุกได้ แต่เขาก็เป็นคนทำงานจริงและก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาจนประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ด้วยความสามารถการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ แม้ปัจจุบันหลังปรับโครงสร้างหนี้ในกิจการต่างๆ เสร็จเรียบร้อย สัดส่วนการ ถือครองหุ้นในแต่ละกิจการของเขาจะหดลงเหลือเพียงเล็กน้อย แต่เขาก็พอใจ

ครั้งหนึ่งเขาเคยบอกกับวงสนทนานักข่าวจำนวนหนึ่งว่า "5 ปีมานี่ หากผมไม่มีอารมณ์ขัน หรือสร้างอารมณ์ขันให้กับตัวเองนี่ ผมตายแน่เลย อารมณ์ขันสร้างสีสัน ให้ตัวผมเอง และผมก็ไม่แคร์ใคร ผมขับ โรลสรอยซ์ของผมไปประชุม สีชมพูบ้าง แดง บ้าง คือไม่จำเป็นต้องหลบแล้ว"

บางคนถามว่าเขาไม่อายเจ้าหนี้บ้างหรือ ไม่กลัวถูกยึดรถหรือ เขาบอกว่า "สินทรัพย์ เหล่านี้เป็นของที่ซื้อหามาตอนที่เรารวย เป็นรางวัลแก่ชีวิตเรา เราไม่ได้ซื้อเดี๋ยวนี้ ผมฝันมาชั่วชีวิต และก็ทำงานหนัก เมื่อรวยขึ้นมาก็ซื้อเป็นรางวัลให้ตัวเอง เราต้องสนองสิ่งที่เราใฝ่ฝันและไขว่คว้า" เขาจึงไม่อายเจ้าหนี้แน่นอน และสวัสดิ์ก็ได้ชื่อว่าเป็นนักสะสมรถคลาสสิกตัวยงคนหนึ่งด้วยเช่นกัน

สวัสดิ์เป็นคนที่สร้างสีสันให้แก่แวดวงเจ้าหนี้-ลูกหนี้ NPLs หลังวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 คำพูดหรือวาทะเด็ดหลายครั้งของเขาถูกนำไปพาดหัวหนังสือ พิมพ์ได้เสมอๆ และเมื่อมีคนเขียนเกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจไทย คำพูดของเขาก็ถูกกล่าวขานอ้างอิงถึง ล่าสุดเขาบอกว่าเขาฝันที่จะหามุมสงบเงียบไปเขียนเล่าประสบการณ์การเป็นลูกหนี้ระดับชาติ โดยให้ชื่อหนังสือว่า "ฝ่าดงตีนของนายสวัสดิ์" หรือ Union Foot Wear"

ส่วนคำพูดที่ว่า Dead Man Walking เขาบอกว่าเป็นคนตายที่เดินได้ ก็คือไม่มีอะไรจะเสียอีกแล้ว

"ช่วงนั้นทุกคนใส่หน้ายักษ์เข้าหากัน คุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่มีใครคิดแก้ไขปัญหาประเทศจริงจัง คิดแต่ว่าอันนี้ทำแล้วจะเดือดร้อนไหม ปรับโครงสร้างหนี้แบบนี้จะเดือดร้อนไหม ทุกคนใส่หมวกกันน็อกหมด ดังนั้นบางทีผมก็เกิดอารมณ์เหมือนกัน ผมบอกพวกเขา (เจ้าหนี้) ว่าคุณคุยกับใครรู้หรือเปล่า กับซากศพที่เดินได้ เพราะไม่มีอะไรจะเสียอีกแล้ว เรียก dead man walking, nothing to loose

ช่วงนั้นผมคิดว่ามันจบแล้ว มันมืดเต็มที เป็นหนี้อยู่ 50,000 ล้านบาท แป๊บเดียว วันเดียวกลายเป็นแสนล้านบาทได้ ดอกเบี้ย 30% เป็นหนี้ขนาดนี้ก็ต้องทำธุรกิจข้ามชาติแล้ว คือกู้ชาตินี้ไปใช้คืนเอาชาติหน้า คือผมเป็นคนอารมณ์ขัน และสิ่งที่ผมพูดเล่นนี่มันก็เป็นข่าวหมด แต่ไม่มองว่าเราต้องสร้างอารมณ์ขันให้ตัวเองพอสมควร"

เขายังกล่าวถึงคำเปรียบเปรยที่มีคนว่านักธุรกิจแบบเขา ซึ่งใช้จังหวะเศรษฐกิจดี ขยายกิจการโดยการก่อหนี้ยืมสิน เมื่อเศรษฐกิจล่มจม นักธุรกิจเหล่านี้ก็ล้มบนฟูก ไม่มีใครต้องรับผิดทางสังคม มีแต่ความรับผิดทางกฎหมายจากภาระหนี้ และสังคมก็มองว่านักธุรกิจเหล่านี้ล้มบนฟูก คือไม่เจ็บตัวจากภาวะวิกฤติจริงๆ

เขาบอกด้วยว่าเขาเดินทางไปเจรจาหาพันธมิตรมาร่วมลงทุนในโรงเหล็กของเขา เดินทางไปถึง 3 โลกซึ่งหมายความว่าเดินทางรอบโลกมา 3 รอบแล้ว แต่ไม่ได้ใครมาร่วมลงทุน ในที่สุด กิจการเหล็กแห่งหนึ่งของเขาก็ควบรวมกับกิจการเหล็กอื่นๆ ในประเทศ ไม่ต้องหาต่างชาติรายใดมาเป็นพันธมิตร ส่วนกิจการเหล็กอีกแห่งจะระดมเงินรอบใหม่จากนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ไทย

ในกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ของกิจการของเขานั้น สวัสดิ์ยังได้เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการด้วยตัวเอง หรือมิเช่นนั้นก็เป็นหลานสาวของเขาเป็นผู้ทำแผน แต่ก็คือเขาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักอยู่ รวมทั้งเขายังได้เป็นประธานบริษัทฯ ต่างๆ ของเขาเช่นเดิม

มีคนชอบเปรียบเทียบกรณีของเขากับนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตเจ้าของกิจการปิโตรเคมีรายใหญ่ สวัสดิ์บอกว่า "เขากับผมก็มีเป้าหมายเหมือนกัน แต่วิธีการคิดของเขากับผมมันไม่เหมือนกันเท่านั้นเอง... ผมคิดง่ายๆ อย่างนี้ว่าชั่วโมงที่ผมรวยที่สุด ผมก็ทำงานวันละ 10 กว่าชั่วโมง เมื่อหลายปีที่แล้ว ผมไม่ได้ไปไหนเลย ไม่ใช่ว่าพอรวยแล้วก็ซื้อเรือยอชต์ เห็นไหม ออกนอกประเทศที 3-4 เดือน ไม่ใช่ ผมยังทำงานเหมือนเดิม เสร็จ จากงานนี้ ผมทำโครงการใหม่ เพราะฉะนั้นผมทำงานเหมือนเดิม

วันที่แย่ที่สุดผมก็ยังทำงานเหมือนเดิม เหมือนวันที่ผมรวย ผมไม่ได้นั่งสบายเลย เพราะฉะนั้นความรู้สึกที่ว่าเราแย่ มันไม่มี ทำงานหนักตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นเราก็เคย เพียงแต่ว่าหนักตอนวิกฤติการณ์นี่มันหนักอยู่อย่างหนึ่งคือต้องแบกรับอารมณ์ของเจ้าหนี้บางคนเท่านั้นเอง อย่างอื่นไม่มีปัญหาอะไรเลย ...เวลาผมเจรจาหนี้ ในห้องประชุมนี่ซีเรียสไม่เกินครึ่งชั่วโมง และผมก็ปรับอารมณ์ได้ ใช้ คำพูดที่มันรีแล็กซ์บ้าง และพอประชุม 2 ชั่วโมง แล้ว คอฟฟี่เบรก ใครจะทานกาแฟหรือไม่ ผมไม่ทราบ แต่ผมไปเข้าห้องน้ำก่อน"

เขายังให้นิยามวิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้ว่า "โดยส่วนตัว ไม่ใช่วิกฤติการณ์ทางด้านการเงิน ทางธุรกิจ นี่ส่วนตัวนะ พอเริ่มเจรจาผมรู้สึกว่ามันเป็นเกมของความอดทน ใครจะทนกว่ากัน ทนหมายความว่า วันนี้เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย แล้วค่อยๆ รับรู้ ตอนหลังก็มีกฎหมายออกมาเยอะแยะ รองรับว่าแฮร์คัท ไม่ผิดกฎหมาย ค่อยๆ ออกกติกามารองรับ ดังนั้นเจ้าหนี้ที่มาเจรจาจึงมา โอเค เขามีความสบายใจว่าเขาทำอะไรแล้ว ไม่มีชนักมา ติดหลังเขาตอนที่เขาออกไป

เพราะว่าคนไทยบางคนช่างพูดว่าทำไมลดหนี้คนนี้เยอะ คนนี้น้อย คนนี้ไม่ลด เขามีเหตุผล ไปดูว่าลดแค่นี้อยู่ได้นี่นา ไป ขอต่อรองให้แบงก์ลดเยอะๆ นี่ไม่ใช่ว่าคนนี้ได้เปรียบ เพราะสุดท้ายนี่ ลูกหลานเราเป็นคนรับภาระทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าแบงก์เสียนะ เพราะทุกอย่างโอนเข้าไปกองทุนฟื้นฟู เมื่อ 4 เดือนที่แล้ว รัฐบาลเพิ่งออกพันธบัตรสามแสนกว่าล้านไปกลบความเสียหาย เม็ดเงินจำนวนนี้ใครใช้คืน ก็คือเจเนอเรชั่นต่อไป เพราะฉะนั้น ดูซิว่าอันไหนไปได้ เราก็รับเลย อย่าง NSM นี่ ลดหนี้นิดเดียว เปลี่ยนหนี้เป็นทุนในราคาหนึ่ง เปลี่ยนดอกเบี้ยเป็นทุนในอีกราคาหนึ่ง เรา มีสองราคา เพราะฉะนั้น เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะบางแบงก์ก็บอกว่าดอกเบี้ยลดไม่ได้แล้ว เพราะไปลง book เป็นรายได้แล้ว และเสียภาษีไปแล้ว เราก็เลยคุยกันว่าดอกเบี้ยลดไม่ได้ก็ได้ แต่ว่าหุ้นราคาสูงนะ ดูแล้วเหมือนโง่ ทำไมตัดดอกเบี้ยไม่ได้ แต่มันทำไม่ได้ ก็ต้องยอมให้มีเป็นสองราคา"

เขาชมตัวเองว่า "นี่ผมเก่งไหม ผม ใช้วิธีปรับโครงสร้างหนี้แบบสำเพ็งบวกคลองถมนะ ไม่ใช่ลอนดอนคลับนะ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us