Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2549
JRFU : Another try another goal             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
search resources

Sports
Japan Rugby Football Union




วงการกีฬารักบี้ฟุตบอลของญี่ปุ่น กำลังถูกปลุกและกระตุ้นให้แสดงบทบาทนำในระดับสากลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ท่ามกลางแรงเสียดทานและความท้าทาย ที่สะท้อนให้เห็นมิติของการพัฒนาทั้งในบริบทของเศรษฐกิจและสังคมด้วย

แม้ว่ารักบี้ทีมชาติของญี่ปุ่น จะได้รับการยอมรับว่าเป็นทีมชั้นนำในระดับ power house ของภูมิภาคเอเชียมาอย่างยาวนานและผูกขาดการเป็นตัวแทนของชาติเอเชียเพียงหนึ่งเดียวที่ผ่านการคัดเลือกในการเข้าร่วมแข่งขัน Rugby Union World Cup (RWC) มาโดยตลอด นับตั้งแต่เริ่มมีการจัดการแข่งขันในปี 1987 (รวม 5 ครั้ง : 1987, 1991, 1995, 1999 และ 2003)

แต่ผลการแข่งขันของทีมญี่ปุ่นใน RWC ทุกครั้งที่ผ่านมา ซึ่งไม่เคยสัมผัสกับคำว่าชัยชนะเลย และมีสถิติพ่ายแพ้อย่างหมดรูปให้กับนิวซีแลนด์ ด้วยผลคะแนนที่มากถึง 145-17 ในการแข่งขัน RWC 1995 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ส่งผลให้ชื่อเสียงของ The Cherry Blossoms ในระดับสากล เป็นเพียงทีมชั้นสอง (Tier 2) ของ International Rugby Board (IRB) ที่ด้อยบทบาทและมีค่าเป็นเพียงไม้ประดับของการแข่งขันในระดับนานาชาติเท่านั้น ก่อนที่ญี่ปุ่นจะเอาชนะไต้หวัน 155-3 ในการแข่งขันรอบคัดเลือกโซนเอเชีย สำหรับ RWC 2003 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2002 ซึ่งช่วยกอบกู้ชื่อเสียงของญี่ปุ่นในฐานะทีมชั้นนำแห่งเอเชียให้ฟื้นคืนกลับมาบ้าง

กีฬารักบี้เข้าสู่การรับรู้ของสังคมญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี 1899 เมื่อศาสตราจารย์ Edward Bramwell Clarke (1875-1934) ได้ร่วมกับ Tanaka Ginnosuke (1873-1933) ซึ่งต่างเป็นนักเรียนเก่าจากมหาวิทยาลัย Cambridge ประเทศอังกฤษ แนะนำกีฬานี้ให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัย Keio เพื่อเป็นกิจกรรมสันทนาการสำหรับฤดูใบไม้ร่วง โดยก่อนหน้านี้การเล่นกีฬารักบี้ฟุตบอลจำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ลูกเรือเดินสมุทรจากยุโรป และชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักอยู่ในเขตท่าเรือเมือง Kobe และ Yokohama

ความสนใจในกีฬารักบี้เริ่มขยายตัวขึ้นในหมู่นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งแม้พัฒนาการของกีฬารักบี้ในลักษณะดังกล่าวจะแตกต่างจากพัฒนาการของเบสบอล ที่ผลิดอกออกผลมาจากเมล็ดพันธุ์ที่บ่มเพาะในระดับโรงเรียนมัธยม หากแต่กรณีดังกล่าวได้เชื่อมโยงวิธีคิดและปรัชญาในเชิงสังคมวิทยาของญี่ปุ่นไว้อย่างน่าสนใจ

เพราะขณะที่เบสบอลเป็นประหนึ่งปฐมบทของการเรียนรู้บทบาทและความรับผิดชอบ เพื่อเข้าสู่สังคมที่กว้างใหญ่ในอนาคต ด้วยการเน้นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่นแต่ละรายในตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายเมื่ออยู่ในทีมรับ (defensive) พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้เล่นแต่ละคนแสดงออกซึ่งศักยภาพ ในเชิงปัจเจกอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้เล่นอยู่ในตำแหน่ง batter ในฐานะทีมบุก (offensive) โดยที่การรุกและรับในกีฬาเบสบอลดำเนินไปอย่างแยกส่วน

กีฬารักบี้ได้ส่งผ่านค่านิยมชุดใหม่อีกชุดหนึ่ง ที่แม้จะมีการจัดวางหน้าที่และความรับผิดชอบให้ผู้เล่นแต่ละตำแหน่งแล้ว รักบี้ยังมีลักษณะพลวัตแบบ chain reaction ที่สะท้อนและจำลองภาพความเป็นไปของพัฒนาการทางสังคมได้อย่างใกล้เคียงยิ่งขึ้นอีก

"One for all and all for one" กลายเป็นวลีที่นอกจากจะบ่งบอกลักษณะเด่นของกีฬารักบี้แล้ว กรณีดังกล่าวยังเข้ากันได้ดีกับวิถีปฏิบัติในองค์กรธุรกิจและสังคมของญี่ปุ่น ที่เน้นความรับผิดชอบร่วมกัน (collective responsibility) ภายใต้บทบาทและหน้าที่ที่แต่ละส่วนได้รับมอบหมาย ซึ่งดำเนินไปอย่างสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน ตลอดทั้งในกระบวนการรุกและรับ

ความนิยมในกีฬารักบี้ในหมู่นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย กลายเป็นจักรกลสำคัญที่ช่วยพยุงสถานะของกีฬารักบี้ให้มีที่อยู่ที่ยืนในสังคมญี่ปุ่น โดยการแข่งขันรักบี้ระดับมหาวิทยาลัยชิงชนะเลิศแห่งชาติ (University Championship) ซึ่งดำเนินต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 42 กลายเป็นการแข่งขันรักบี้ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดรายการหนึ่ง

ขณะที่ผลการแข่งขันกระชับมิตร (test match) ระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น Kanto Gakuin, Hosei และ Waseda กับมหาวิทยาลัย Cambridge จากอังกฤษ ในช่วงปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าทีมของมหาวิทยาลัยจากญี่ปุ่นเป็นฝ่ายกำชัยชนะทั้งสามนัด ด้วยผลต่างของคะแนนที่มากพอสมควร

อย่างไรก็ดี การพึ่งพิงอยู่เฉพาะพัฒนาการของทีมในระดับมหาวิทยาลัย ทำให้กีฬารักบี้ในญี่ปุ่นมีฐานะเป็นเพียงกีฬาประเภททีมที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับสามรองจากเบสบอลและฟุตบอล ในระดับที่ห่างไกลพอสมควร และไม่มีทีท่าว่าจะสามารถสร้างแรงกระตุ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของสังคมวงกว้างได้มากนัก

แม้ว่าจะมีการแข่งขันรักบี้ระดับสโมสร ชิงชนะเลิศแห่งชาติ (Japan Championship) ที่ดำเนินต่อเนื่องมานานกว่า 4 ทศวรรษ รวมถึงความพยายามผลักดันให้เกิดการแข่งขันรักบี้ระดับอาชีพในระบบ Top League ที่มีองค์กรธุรกิจเอกชนเป็นผู้สนับสนุน แต่การแข่งขันรักบี้ Top League ดังกล่าวเพิ่งเริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อปี 2003 ที่ผ่านมาเท่านั้น

ผลพวงจากความสำเร็จของสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (JFA : Japan Football Association) ที่ผลักดันให้เกิดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ J.League เมื่อปี 1992 และการได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก FIFA World Cup 2002 ในฐานะ เจ้าภาพร่วม (co-host) กับเกาหลีใต้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดมหกรรมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระดับโลกขึ้นในพื้นที่ของภูมิภาคเอเชีย กลายเป็น benchmark และตัวอย่างของการพัฒนาไปสู่ความเป็นสากลของวงการกีฬาญี่ปุ่นที่มีนัยสำคัญไม่น้อย

การก้าวเข้ามาของ Yoshiro Mori อดีตนายกรัฐมนตรี (เมษายน 2000-เมษายน 2001) เพื่อดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬารักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Rugby Football Union : JRFU) เมื่อเดือนมิถุนายน 2005 ได้สะท้อนภาพความพยายามของญี่ปุ่น ในการแสวงหาโอกาสเพื่อผลิตซ้ำพัฒนาการแห่งความสำเร็จอย่างก้าวกระโดดดังกล่าวอีกครั้ง

เป้าหมายเบื้องต้นและเร่งด่วนของ Yoshiro Mori ในบทบาทของนายกสมาคมรักบี้ JRFU อยู่ที่การเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน Rugby Union World Cup ในปี 2011 (RWC 2011) ภายใต้ภูมิหลังที่เขาเป็นอดีตนักกีฬารักบี้เมื่อครั้งศึกษาที่มหาวิทยาลัย Waseda และเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ทำให้หลายฝ่ายตั้งความหวังว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นส่วนเสริมให้ IRB มีมติเลือกญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่ RWC มิได้จัดขึ้นในประเทศ Tier 1 ของ IRB และเป็นครั้งแรกของเอเชียไปในคราวเดียวกัน

ประเด็นหลักที่ JRFU ได้หยิบยกขึ้นมาเป็นจุดเด่นในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน นอกจากจะอยู่ที่ความพร้อมของระบบ สาธารณูปโภค และสนามจัดการแข่งขัน ซึ่งเป็นมรดกจากการเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลก เมื่อปี 2002 แล้ว ข้อเท็จจริงของการเป็นชาติ เอเชียเพียงหนึ่งเดียวที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างต่อเนื่องทุกครั้งและจำนวนนักกีฬารักบี้ของญี่ปุ่น ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ JRFU รวมกว่า 125,000 ราย ซึ่งนับเป็นจำนวนที่มากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากอังกฤษ แอฟริกาใต้ และฝรั่งเศส ทำให้ข้อเสนอของญี่ปุ่นมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง

ความแหลมคมในข้อเสนอของญี่ปุ่นซึ่งถือเป็น highlight สำคัญอยู่ที่วาทกรรมว่าด้วยการขยายความนิยมของกีฬารักบี้ในระดับสากลด้วยวลี "Making Rugby a Truly Global Sport" ซึ่งสอดรับและเติมเต็มต่อเป้าหมายของ IRB โดยตรง ขณะเดียวกันข้อเสนอของญี่ปุ่น ยังได้กล่าวถึง commercial opportunities จากสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับบรรษัทและองค์กรชั้นนำของญี่ปุ่น ซึ่งบางส่วนได้ให้การสนับสนุนทีมรักบี้ใน Top League อยู่ในปัจจุบัน

ความพรั่งพร้อมตามข้อเสนอดังกล่าวน่าจะทำให้ญี่ปุ่นได้รับการพิจารณาและถูกเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน RWC 2011 อย่างไม่ยากเย็นนัก หากไม่ปรากฏชื่อของแอฟริกาใต้ ที่ได้รับสิทธิให้เป็นเจ้าภาพจัดการ แข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2010 (FIFA World Cup 2010) และนิวซีแลนด์ ที่กีฬารักบี้ ถือเป็นประหนึ่งกีฬาประจำชาติ ซึ่งต่างมีฐานะเป็น World Power House ในกีฬาประเภทนี้อย่างไม่มีใครกล้าปฏิเสธ

แม้ญี่ปุ่นจะพยายามแสวงหาการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง พร้อมกับการระบุว่า การเลือกให้ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน คือการเลือกอนาคต (A vote for Japan is a vote for future) แต่ในการประชุมของ IRB ที่กรุง Dublin สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เพื่อลงมติเลือกเจ้าภาพจากข้อเสนอของทั้งสามประเทศ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2005 ที่ผ่านมา ที่ประชุมของ IRB ได้ตัดสินใจเลือกให้นิวซีแลนด์ ได้รับสิทธิเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน WRC 2011 โดยชนะญี่ปุ่นไปด้วยคะแนนเสียงที่คาดว่าน่าจะเป็น 13-8 พร้อมกับข้อกังขาเกี่ยวกับความโปร่งใสในการลงมติ ครั้งนี้ด้วย

นอกจากนี้ ผลของการลงมติดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นการตัดสินใจบนฐานของ tradition over innovation โดยบางส่วนก้าวไปไกลด้วยการระบุถึงการตัดสินใจดังกล่าวว่าเป็น the most shortsighted decision of the year เลยทีเดียว

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอย่างยิ่งประการหนึ่งก็คือ ข้อเสนอของแอฟริกาใต้ถูกตัดออก จากผลของการลงคะแนนเสียงรอบแรก โดยมีเพียงญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ เหลือเป็นตัวเลือก ในการตัดสินเท่านั้น และทำให้เสียงสนับสนุน ที่ให้กับแอฟริกาใต้ในรอบแรกกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการลงคะแนนรอบสุดท้ายนี้

นิวซีแลนด์เคยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพร่วมกับออสเตรเลียในการจัด RWC ครั้งแรกในปี 1987 และได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพร่วมกับออสเตรเลียอีกครั้งในปี 2003 ก่อนที่จะเกิดปัญหาเรื่องสิทธิประโยชน์ จนทำให้นิวซีแลนด์ต้องสละสิทธิการเป็นเจ้าภาพ ร่วมครั้งนั้นไปโดยปริยาย โดยที่ยังไม่มีโอกาส ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเต็มตัวอย่างแท้จริงเลย แม้จะเป็นผู้ริเริ่มเสนอให้มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศในระดับโลกนี้ก็ตาม

จำนวนของสนามแข่งขันและปริมาณของโรงแรมที่พักที่มีอยู่อย่างจำกัด อาจเป็นข้อด้อยสำหรับนิวซีแลนด์ แต่นั่นอาจเป็นเพียงปัญหาในเชิงกายภาพของระบบสาธารณูปโภค ที่สามารถแก้ไขและปรับปรุงได้ไม่ยาก เมื่อเทียบกับข้อด้อยในกรณีของญี่ปุ่น ที่นอกจากจะไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดการแข่งขัน รักบี้ระดับนานาชาติมาก่อนแล้ว ยังมีปัญหาในเชิงคุณภาพ ว่าด้วยระดับการพัฒนาและความนิยมในกีฬาประเภทนี้ ที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาและปัจจัยแวดล้อมในการผลักดันไม่น้อย

กรณีดังกล่าว แม้จะมีลักษณะเป็นประหนึ่งคำถามเรื่องไก่กับไข่ แต่บางทีการเลือกให้นิวซีแลนด์ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน RWC 2011 อาจเข้ากันได้ดีกับบริบทของเกม ที่ต้องรุกไปข้างหน้าด้วยการส่งลูกรักบี้ไปข้างหลัง และดูเหมือนว่าบทบาทในการพัฒนากีฬารักบี้ให้เป็นกีฬาของโลก (global sport) จะถูกส่งต่อให้เป็นหน้าที่ของ JRFU ที่ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อผลักดันให้กีฬารักบี้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมทั้งระดับประเทศ และในระดับภูมิภาคเอเชีย ก่อนที่ญี่ปุ่นจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งต่อไปในปี 2015 หรือแม้กระทั่งในปี 2019

แต่นั่นย่อมไม่ใช่สิ่งที่ Yoshiro Mori ประสงค์ให้เป็น เพราะเขาเชื่อว่า "ในเมื่อทุกฝ่ายต้องการให้รักบี้เป็นกีฬาระดับโลก แล้วทำไมญี่ปุ่นต้องรออีก 5 หรือ 10 ปี ในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันด้วย"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us