|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549
|
|
Co Q10 มาจากชื่อเต็ม Coenzyme Q10 ที่ครั้งหนึ่งคนญี่ปุ่นเคยเรียกว่า Vitamin Q นั้นเป็นที่รู้จักและใช้กันมานานกว่า 30 ปีโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจซึ่งเกือบร้อยทั้งร้อย จะได้ Co Q10 (ชื่อการค้า Neuquinone*) จ่ายมาพร้อมกับยาโรคหัวใจด้วยเสมอ มาในระยะหลังนี้เหตุไฉน Co Q10 ที่ว่า ถึงกลับมาปรากฏในเครื่องสำอางหลากยี่ห้อจนเลือกซื้อกันแทบไม่หวาดไม่ไหว ในขณะที่ชื่อของ Co Q10 ยังไม่คุ้นหูและดูเหมือนเป็นน้องใหม่มาแรงในแวดวงเครื่องสำอาง แต่สำหรับวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้วสารชีวภาพตัวนี้ดึงดูดความสนใจจากนักวิจัยทั่วโลกมาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษพอดีในปีนี้
ตำราชีวเคมีหลายเล่มกล่าวถึงการค้นพบ Co Q10 ที่สกัดจาก mitochondria ในเนื้อวัวได้เป็นครั้งแรกที่อเมริกาในปี 1957 โดย Professor Frederick Crane ซึ่งต่อมาพบว่า สารตัวเดียวกันนี้ถูกรายงานโดย Professor Morton จากฝั่งอังกฤษเช่นกัน โดยใช้ชื่อที่เรียกว่า Ubiquinone อีกหนึ่งปีหลังจากนั้น Dr.Karl Folkers ซึ่งทำงานอยู่ที่ Merck Inc. บริษัทผู้ผลิตเวชภัณฑ์ยาชั้นนำของอเมริกาเป็นคนแรกที่ยืนยันโครงสร้างทางเคมีที่ถูกต้องของ Co Q10 (figure 1)
ข้อจำกัดหลายอย่างของวิทยาการในสมัยนั้น ทำให้การสานต่องานวิจัยตลอดช่วง 20 ปีแรก หลังจากการค้นพบดำเนินไปด้วยความยากลำบาก เพราะกว่าจะสกัด coenzyme ชนิดนี้ออกมาให้บริสุทธิ์ได้ก็เหลือปริมาณเล็กน้อยไม่เพียงพอสำหรับการทดลอง ให้ได้ผลเป็นชิ้นเป็นอันเท่าที่ควรแถมยังมีปัญหาเรื่องความคงตัวในการเก็บรักษาเข้ามาเกี่ยวอีก
กุญแจดอกสำคัญที่นำไปสู่การไขปริศนา Co Q10 เริ่มต้นจากความสำเร็จของ Dr.Hideaki Fukawa ซึ่งวิจัยเกี่ยวกับวิตามิน อยู่ที่บริษัท Nisshin Seifun ประเทศญี่ปุ่น (บริษัทในเครือ Nisshin) ได้ค้นพบวิธีการสังเคราะห์ Co Q10 บริสุทธิ์และมีความคงตัว ได้ในปริมาณมากพอสำหรับใช้ในการวิจัยทางการแพทย์และการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งหลังจากปี 1980 เป็นต้นมา มีงานวิจัยใหม่ๆ จากอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เพิ่มจำนวนขึ้นแบบก้าวกระโดด
หากลองใช้ PubMed หรือ SciFider ซึ่งเป็นสอง search engine ที่มีฐานข้อมูลที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดในปัจจุบันพบว่า มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษอยู่ประมาณ 75% ภาษาอื่นๆ (ไม่รวมญี่ปุ่น) รวมกัน 5% และที่เหลืออีกราว 20% ตีพิมพ์ด้วยภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเสมือนแหล่งข้อมูลโบนัสและเป็นมรดกทางภูมิปัญญาสำหรับนักวิจัยญี่ปุ่นรุ่นใหม่ได้ใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในงานวิจัยต่อยอดโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านการสังเคราะห์ การควบคุมคุณภาพให้บริสุทธิ์ และคงตัวเหมือน Co Q10 ในธรรมชาติ รวมถึงผลวิจัยสำคัญๆ ทางเภสัชวิทยาคลินิก วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ความก้าวหน้าทางการแพทย์ เป็นต้น
ตัวอย่างหนึ่งในนั้นคือการประยุกต์ใช้ Co Q10 กับผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นครั้งแรกของโลกซึ่งจุดประกายความคิดและแนวทางการวิจัยด้านการแพทย์ในเวลาต่อมา
Co Q10 เป็นสารชีวภาพสำคัญที่พบในทุกเซลล์ของร่างกาย โดยปกติร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ Co Q10 ได้เองจากกรดอะมิโน (Tyrosine) ร่วมกับวิตามิน 8 ชนิดและแร่ธาตุอีกจำนวนหนึ่ง แต่หลังอายุ 20 ปีปริมาณการสร้าง Co Q10 จะลดลงต่ำกว่าระดับที่ร่างกายต้องการ Co Q10 ในอาหารที่มีมากในเนื้อวัว ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ผักขม ถั่วลิสงจะถูกทำลายโดยความร้อนที่ใช้หุงต้ม
ในญี่ปุ่นการบริโภค Co Q10 เป็นอาหารเสริมจึงเป็นหนึ่งในข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดต่างๆ เพื่อเสริมฤทธิ์กับยารักษาโรคหัวใจ ยิ่งไปกว่านั้น Co Q10 ยังช่วยลดความดันโลหิตสูง ใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานร่างกายได้ในระดับหนึ่งซึ่งกำลังวิจัยถึงแนวโน้มในการใช้เสริมการรักษาสำหรับผู้ป่วย HIV ในอนาคต
ทุกวันนี้ญี่ปุ่นส่งออก Co Q10 บริสุทธิ์ คุณภาพสูงที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารเสริมและเครื่องสำอางมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอาหารเสริม Co Q10 ในอเมริกานั้นใช้วัตถุดิบซึ่งนำเข้าจากญี่ปุ่น 100% หากดูที่ข้างขวดจะเขียนว่า Carefully Manufactured in USA แทนที่จะเป็น Made in USA
อาหารเสริม Co Q10 ที่วางขายในญี่ปุ่นและอเมริกา มีทั้งแบบที่เป็น Co Q10 อย่างเดียวขนาดตั้งแต่ 30-120 mg** และแบบที่รวมกับวิตามินและ/หรืออาหารเสริมชนิดอื่นๆ ซึ่งมีให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเลือกแบบใดก็ตาม ควรรับประทาน Co Q10 พร้อมหรือหลังอาหารทันทีเพื่อให้มีการดูดซึม เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากที่สุด เนื่องจาก coenzyme นี้ละลายได้ในไขมัน
คุณสมบัติสำคัญอีกประการของ Co Q10 เป็นผลมาจากโครงสร้างทางเคมีที่มีลักษณะเด่นในการจับกับอนุมูลอิสระในกระแสเลือดซึ่งช่วยป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดได้ในแต่ละวัน ร่างกายจำเป็นต้องหายใจ เอาออกซิเจนเข้าไปใช้เผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน ซึ่งกระบวนการหายใจดังกล่าวนี้เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดอนุมูลอิสระอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า แสง UV ความเครียดและสภาพแวดล้อมเป็นพิษ ล้วนเป็นปัจจัยภายนอกที่เพิ่มการเกิดอนุมูลอิสระภายในร่างกาย ซึ่งสวนทางกับปริมาณ Co Q10 ที่ลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้เป็นต้นเหตุของการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ซึ่งทำลายโมเลกุลต่างๆ ภายในเซลล์รวมถึงการเข้าจับและเปลี่ยนแปลง DNA บางส่วนอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็ง และหากอนุมูลอิสระนี้ไปจับกับ collagen ใต้ผิวหนังก็จะกลายเป็น สาเหตุการเกิดริ้วรอย
ด้วยเหตุนี้ Co Q10 จึงกลายเป็น hot issue และถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางอย่างไร้ข้อกังขา บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางของญี่ปุ่นต่างทราบดีถึงประสิทธิภาพในการ "ชะลอการเกิดริ้วรอย" ซึ่งประดุจสรรพคุณวิเศษที่มนุษย์ปรารถนากันมาเป็นเวลานาน กลยุทธ์ทางการตลาดของ Co Q10 จึงนำเสนอผ่านรายการเพื่อสุขภาพและความงามในโทรทัศน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหมุนเวียนกันมาให้ความรู้ในหลายแง่มุม จากนั้นปล่อยให้กระแสเป็นไปตามกลไกการโฆษณาแบบปากต่อปาก เพียงเท่านี้ Co Q10 ก็ติดตลาดและกลายเป็นจุดขายทรงพลังที่มีผลต่อการเลือกซื้อครีมบำรุงผิวของคนญี่ปุ่นภายในเวลาอันรวดเร็ว
Co Q10 ครีมแฝดต่างฝาของ Co Q10 อาหารเสริม ใช่ว่าจะเป็นเพียงเรื่องที่รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์เท่านั้นแต่ยังก่อให้เกิดอรรถประโยชน์หากรู้จักเลือกใช้อย่างเหมาะสม
* Neuquinone เป็นชื่อการค้าของ Co Q10 ผลิตโดยบริษัท Eisai วางขายครั้งแรกในโลก เมื่อปี 1974
** ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดปริมาณ Co Q10 มาตรฐานที่ร่างกายต้องการต่อหนึ่งวัน
|
|
|
|
|