Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2549
An Oak by the window โพสต์กูเกิ้ล             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
www resources

Google Inc. Homepage

   
search resources

Google.com
Web Sites
Google Inc.




โพสต์โมเดิร์น เป็นคำที่ใช้โดยเหล่านักปรัชญา, นักสังคมวิทยา, นักวิจารณ์ศิลปะ และนักวิจารณ์สังคม เพื่ออ้างถึงบางแง่มุมสภาวะของศิลปะร่วมสมัย, วัฒนธรรม, เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นผลมาจากชีวิตในปลายศตวรรษที่ 20 ต่อเนื่องถึงต้นศตวรรษที่ 21 ที่มีความพิเศษในตัวของมันเอง คุณลักษณะเหล่านี้รวมถึงโลกาภิวัตน์, บริโภคนิยม และการกระจายอำนาจด้วย

ในทางเศรษฐกิจเอง โพสต์โมเดิร์นแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการผลิตเป็นจำนวนมากและสื่อสารมวลชนที่มีอยู่อย่างดาษดื่น, การรวมกันของระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่เป็นการรวมในแง่มุมต่างๆ ของการผลิต, การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก และการเคลื่อนย้ายจากระบบเศรษฐกิจแบบเน้นการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการบริการ

ในแง่การติดต่อสื่อสารด้วยระบบดิจิตอลแล้ว เทคโนโลยีถูกมองว่าเป็นคุณลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์ความก้าวหน้าของชาติตะวันตกมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 1700 นับแต่เมื่อ อดัม สมิธ ชี้ว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นสาเหตุสำคัญของความมั่งคั่งของประเทศ

สิ่งบ่งชี้ของโพสต์โมเดิร์นในเรื่องการติดต่อสื่อสาร เกิดขึ้นครั้งแรกผ่านการเติบโตอย่างรวดเร็วของการกระจายสัญญาณภาพและเสียงทางโทรทัศน์ ในขณะที่คลื่นลูกที่สองคือ แนวความคิดโพสต์โมเดิร์นที่มาพร้อมกับการถือกำเนิดของการติดต่อสื่อสารด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งทำให้แต่ละปัจเจกบุคคลสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมและเรื่องราวของตนเองขึ้นมาได้

โพสต์โมเดิร์นจึงเกี่ยวพันกับในหลายๆ แง่มุมทั้งทางเศรษฐกิจ, สังคม และวัฒนธรรม

แต่ตอนนี้ผมกำลังสนใจสิ่งที่ผมขอเรียกว่า โพสต์กูเกิ้ล

โพสต์กูเกิ้ลในความหมายของผม หมายถึงยุคหลังซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการเติบโตอย่างเต็มที่ของกูเกิ้ลในปัจจุบัน ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ, สังคมและวัฒนธรรมหลังการก้าวเข้ามามีอิทธิพลอย่างเต็มรูปแบบของกูเกิ้ล

ทำไมผมถึงสนใจประเด็นนี้หรือครับ

ถ้าเราติดตามความเคลื่อนไหวอย่างโดดเด่นของกูเกิ้ลซึ่งมีฐานบัญชาการอยู่ที่ "กูเกิ้ล เพล็กซ์" ในแคลิฟอร์เนีย จะเห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนถึงระดับที่ผมกลัวว่าจะเป็น การคุกคาม

นับจากการปฏิวัติระบบการเสิร์ชเอ็นจิ้น หรือระบบการค้นหาข้อมูลที่ทำให้กูเกิ้ลขึ้นมาแซงหน้ายักษ์ใหญ่ในวงการขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็น ยาฮู (http://www.yahoo.com), อัลตา วิสต้า (http://www.altavista.com) และเสิร์ชเอ็นจิ้นอีกหลายราย ขึ้นมาเป็นหมายเลขหนึ่งในวงการ ด้วยประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลในระดับที่สร้างความพึงพอใจให้คนเกือบค่อนโลก

หลังจากนั้นเรื่องราวของกูเกิ้ลก็เข้ามาอยู่ในความรับรู้ของเราเกือบทุกวัน

การสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ด้วยการนำพีซีราคาถูกมาจัดระบบทำงานร่วมกัน บวกกับการออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อสร้างระบบการค้นหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของกูเกิ้ล

การประกาศสงครามฟรีอีเมลด้วยการมอบพื้นที่เก็บอีเมลมากถึง 1 กิกะไบต์บนจีเมล (http://gmail.com) ซึ่งเป็นฟรีอีเมล์ของกูเกิ้ลเอง พร้อมกับประสิทธิภาพในการใช้งานซึ่งผสานจุดแข็งในการค้นหาข้อมูลของกูเกิ้ลเข้ากับระบบการจัดการอีเมล ซึ่งส่งผลให้ยักษ์ใหญ่อย่าง ฮอตเมล (http://www.hotmail.com) และ ยาฮูเมล (http://mail.yahoo.com) ต้องให้พื้นที่แก่ผู้ใช้เพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยเท่าด้วยเช่นกัน และต้องปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ของกูเกิ้ลเอิร์ธซึ่งสร้างความอกสั่นขวัญแขวนให้กับระบบการรักษาความปลอดภัยทั่วโลก ที่ทำให้กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศต่างๆ ต้องออกมาประท้วงและมองหาวิธีการป้องกันภัยการคุกคามเพิ่มขึ้น และทำให้เรื่องเล่าหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับระบบดาวเทียมจารกรรมของประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ที่ว่าสามารถมองเห็นแม้กระทั่งหน้าของเหรียญบาทที่ตกอยู่บนพื้นถนน ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นอีกต่อไป แม้ว่ากูเกิ้ลเอิร์ธจะยังไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้งานที่ชัดเจน รวมถึงผลิตภัณฑ์ประกอบการใช้งานก็ตาม

ในช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงปีใหม่ที่ผ่านมา ก็มีข่าวที่สร้างความสั่นสะเทือนวงการคอมพิวเตอร์และวงการบันเทิงโดยรวม โดยเริ่มต้นเมื่อกูเกิ้ลทุ่มเงินหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ เข้าซื้อหุ้น 5 เปอร์เซ็นต์ ของบริษัทอเมริกาออนไลน์ (http: //www.aol.com) ในเครือไทม์ วอร์เนอร์ โดย มีเป้าหมายที่จะจับมือกันเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์เพื่อแข่งขันกับไมโครซอฟท์ การเคลื่อนไหวครั้งนี้สำคัญยิ่ง เพราะทำให้กูเกิ้ลมีช่องทางในการเติบโตอย่างน้อยๆ สองช่องทาง ใหญ่ๆ คือ การเติบโตเข้าสู่ตลาดโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ตผ่านช่องทางของอเมริกาออนไลน์ และเมื่อรวมกับตลาดโฆษณาออนไลน์ของกูเกิ้ลเอง ก็ทำให้กูเกิ้ลมีส่วนแบ่งในตลาดโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ส่วนช่องทางที่สอง คือ การย่างเท้าเข้าสู่ตลาดธุรกิจบันเทิงผ่านไทม์ วอร์เนอร์ ยักษ์ใหญ่วงการบันเทิงของสหรัฐฯ ที่มีเครือข่ายทั่วโลก

การพยายามเข้าสู่วงการบันเทิง เห็นได้จากข่าวลือที่ว่า กูเกิ้ลกำลังซุ่มสร้าง "กูเกิ้ลคิวบ์" (Google Cube) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงพีซี, ทีวี, เซตท็อปบ็อกซ์ และโทรศัพท์มือถือเข้าด้วยกันได้ (ด้วยวิธีง่ายๆ เหมือนการหาข้อมูลจากกูเกิ้ล) โดยมีข่าวว่า กูเกิ้ลให้ความใส่ใจกับกูเกิ้ล คิวบ์นี้มาก แม้กูเกิ้ลจะยังคงปฏิเสธเรื่องนี้อยู่ก็ตามที

กูเกิ้ลคิวบ์นี้นักวิเคราะห์คนหนึ่งชี้ว่า เปรียบเสมือนช่องทางออกสู่อินเทอร์เน็ตของแต่ละบ้านนั่นเอง แต่เหตุที่ต้องมีกูเกิ้ลคิวบ์ก็เพราะปัจจุบันเวลาเราดาวน์โหลดหนังสักเรื่องจากอินเทอร์เน็ตมาทำอย่างที่จะทำให้เราสามารถฉายมันออกจอทีวีได้เลยโดยไม่ต้องมานั่งโหลดใส่แผ่นซีดีแล้วใช้เครื่องเล่นวีซีดีเล่น กูเกิ้ลคิวบ์จึงเข้ามาเป็นตัวอะแดปเตอร์ที่เชื่อมทีวีสู่อินเทอร์เน็ต (อย่างง่ายๆ)

นอกจากนี้ยังมีข่าวว่า กูเกิ้ลกำลังทำพีซีราคาถูก หรือ "กูเกิ้ลพีซี" ในราคาเพียง 200 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 8 พันกว่าบาท) โดยจะเน้นการทำตลาดในประเทศจีนและอินเดียซึ่งยังมีความต้องการพีซีอยู่มากและยังมีรายงานอีกว่า กูเกิ้ลจะสร้างระบบปฏิบัติการหรือโอเอส (OS) ของตัวเองขึ้นมาเพื่อให้ราคาพีซีไม่สูงมากนัก

นี่เท่ากับเป็นการประกาศสงครามกับไมโครซอฟท์ตรงๆ เพราะเป็นการทุบหม้อข้าวของไมโครซอฟท์ในเรื่องโอเอสโดยตรง

หลังจากที่กูเกิ้ล (และบริษัทที่ทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตอีกหลายๆ เจ้า) ทำสิ่งที่ Rich Karlgaard จากนิตยสารฟอร์บเรียกว่า การปฏิวัติในเรื่องราคาในแง่ที่ทำให้ราคาถูกลง ซึ่งทำให้ไมโครซอฟท์ต้องปรับโครงสร้างธุรกิจโดยเน้นการสร้างรายได้จากการสมัครสมาชิกและโฆษณาออนไลน์แทนรายได้หลักจากลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ นั่นคือ ผลการปฏิวัตินำไปสู่การปรับโครงสร้างการหารายได้ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และคนใช้ก็มีแนวโน้มจะได้ใช้ของฟรีมากขึ้นเรื่อยๆ

ความเคลื่อนไหวที่โดดเด่นในช่วงปีกลายต่อเนื่องถึงต้นปีนี้ของกูเกิ้ล ทำให้เราเห็นภาพสองภาพทับซ้อนกัน ภาพหนึ่งคือ การก้าวเข้ามามีบทบาทของผู้เล่นหน้าใหม่อย่างกูเกิ้ลที่กำลังทำให้ความฝันของหลายๆ คนเป็นจริงในการสร้างเทคโนโลยีราคาถูก (หรือฟรี) ในการทำอะไรก็ตามที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นค้นหาทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการผ่านเสิร์จเอ็นจิ้น, การติดตามความเคลื่อนไหวจากมุมสูงผ่านกูเกิ้ล เอิร์ธ, การเชื่อมระบบอินเทอร์เน็ตเข้ากับโทรทัศน์, วิทยุ, เครื่องเล่นเพลง และเซตท็อปบ็อกซ์ และอื่นๆ และอีกภาพคือ การเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะถ้าทุกสิ่งทุกอย่างที่กูเกิ้ลทำไป (ซึ่งดูดีมากในสายตาหลายๆ คน หรืออย่างน้อยก็ในสายตาของผม) ประสบความสำเร็จหมด และถ้าวันหนึ่งกูเกิ้ลเข้าไปมีบทบาทในเรื่องที่นอกเหนือจากคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ชีวิตผมอาจจะเป็นอย่างนี้

ตอนเช้า ผมตื่นมาบนเตียงนอนกูเกิ้ล เข้าห้องน้ำบีบยาสีฟันกูเกิ้ล บนแปรงสีฟันกูเกิ้ล อาบน้ำฟอกตัวด้วยสบู่กูเกิ้ล ลงมาจิบเอสเพรสโซ่กูเกิ้ลบนโต๊ะรับประทานอาหารกูเกิ้ล พร้อมขนมปังแผ่นกูเกิ้ลซึ่งทาด้วยแยมกูเกิ้ลรสส้มกูเกิ้ล จากนั้นขับรถไปทำงานด้วยรถยนต์กูเกิ้ล...

และถ้าหนักขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกูเกิ้ลเข้ามามีอิทธิพลในทุกเรื่อง แม้แต่ภาษาก็อาจจะเป็นว่า

ตอนกูเกิ้ลเช้ากูเกิ้ล ผมกูเกิ้ลตื่นกูเกิ้ล มากูเกิ้ลบนกูเกิ้ลเตียงกูเกิ้ลนอนกูเกิ้ลกูเกิ้ลกูเกิ้ลกูเกิ้ลกูเกิ้ลกูเกิ้ลกูเกิ้ล...

ผมคิดว่า การคุกคามของกูเกิ้ลในชีวิตผมคงจะไม่เลวร้ายอย่างเหตุการณ์ข้างต้น โพสต์กูเกิ้ลของผมจึงอยากจะเห็นโลกอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงไปในแง่ที่รักษาสิทธิของผู้บริโภคอย่างเราๆ มากขึ้น การใช้เทคโนโลยีจะต้องไม่เป็นในลักษณะ ถูกยัดเยียด และพวกเรามีทางเลือกในการใช้บริการและซื้อหาสินค้าที่หลากหลาย และมีคุณภาพใกล้เคียงกัน การค้าเสรีจะต้องไม่เป็นภาพลวงตาอย่างที่กูเกิ้ลกำลังจะทำ และโลกกำลังจะเป็นระบบการค้าที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์จึงเป็นความฝัน สำหรับโพสต์กูเกิ้ล มิใช่ระบบผูกขาดอย่างยุคกูเกิ้ลในทุกวันนี้

อ่านเพิ่มเติม

1. Google denied Google PC reports', Jan 3, 2006, http://news.com.com/2061-10812_3-6016821.html

2. Postmodernity', http://en.wikipedia.org/ wiki/Postmodernity

3. Postmodernism', http://en.wikipedia.org/ wiki/Postmodernism

4. Karlgaard, R. (2005), 'Cheap Revolution, Part Six', นิตยสาร Forbes วันที่ 10 ตุลาคม 2005

5. Vise, D. A. และ Malseed, M. (2005), The Google Story, New York: Delacorte Press.

6. Udell, J. (2004), The Google PC generation, InfoWorld, http://www.info world.com   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us