|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549
|
|
เครื่องพิมพ์ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การทำหน้าที่สั่งพิมพ์สีลงบนกระดาษและปรากฏเป็นข้อความหรือภาพตามต้องการเท่านั้น แต่เครื่องพิมพ์บางรุ่น
ยังรองรับการพิมพ์วัตถุให้เป็นรูปร่าง จับต้องได้อย่างใจนึกอีกด้วย
ผู้คนที่เดินทางมาร่วมชมงาน Thailand Animation and Multimedia 2006 เมื่อกลางเดือนที่แล้ว ต่างรุมล้อมมุงดูเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่เท่ากับตู้เอทีเอ็ม ซึ่งผู้ออกบูธรายหนึ่งนำมาโชว์ไว้ในมุมหนึ่งของงาน
เพราะไม่เพียงแต่ละคนจะถูกดึงดูดสายตาด้วยคำว่า "3D Printer" ซึ่งผู้ขายนำมาเขียนบนกระดาษแผ่นใหญ่และติดตั้งไว้บนตัวเครื่องพิมพ์เท่านั้น แต่ยังสะดุดตาที่สิ่งของมากมายที่วางอยู่ข้างๆ ที่ระบุเอาไว้ว่าเกิดจากการสั่งพิมพ์ของเครื่องพิมพ์รุ่นนี้ในเวลาเดียวกัน
ไม่บ่อยครั้งนัก ที่เราจะมีโอกาสเห็นเครื่องพิมพ์แบบนี้ปรากฏต่อสายตาคนทั่วไป เพราะมูลค่าที่สูงต่อเครื่องเหยียบระดับ 3 ล้านบาท จึงมักจำกัดให้วงผู้ซื้อให้เป็นเจ้าของกิจการที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต้องใช้เครื่องพิมพ์แบบนี้เสียเป็นส่วนใหญ่
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ หรือที่รู้จักกันในชื่อ InVision 3D Printer เป็นเครื่องพิมพ์รุ่นที่ออกแบบให้ทำหน้าที่รับคำสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สั่งพิมพ์วัสดุแบบพิเศษที่เรียกว่า อะคลิลิก โฟโต้โพลิเมอร์ ให้ออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาตามที่ต้องการ
โดยผู้ที่ต้องการจะสั่งพิมพ์ จำเป็นจะต้องสร้างรูปแบบของสิ่งของขึ้นมาบนเครื่องโปรแกรมการออกแบบนั้นๆ ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์เสียก่อน อาจจะเป็นรูปร่างเป็นสัตว์ สิ่งของ หรือรูปร่างอื่นๆ ที่มีมุมตื้น ลึก หนา บาง แตกต่างกันออกไป
เมื่อเสร็จสิ้นก็สั่งพิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์ที่ต่อพ่วงเข้ากับเครื่องพิมพ์อยู่แล้ว เครื่องพิมพ์จะสั่งให้หัวพิมพ์พ่นอะคลิลิกออกมาบนแท่นพิมพ์เป็นชั้นๆ เรียงขึ้นมาจนเป็นรูปร่างที่ผู้ออกแบบได้กำหนดเอาไว้
โดยมากแล้วหากเป็นรูปร่างมาตรฐานที่กำหนดไว้ เครื่องพิมพ์จะใช้เวลาในการสั่งพิมพ์รูปร่าง 3 มิติดังกล่าวเพียง 1 วันเท่านั้น ขณะที่ก่อนหน้านี้การทำโมเดลแบบ 3 มิติในอุตสาหกรรมบางประเภท อาทิ อุตสาหกรรมจิวเวลรี่ หรืออุตสาหกรรมการออกแบบสินค้า และผลิตภัณฑ์ทั่วไป มักต้องอาศัยแรงงานคนในการออกแบบขึ้นรูปด้วยมือ แม้จะเป็นวัสดุแบบอะคลิลิกแบบเดียวกัน
แต่ต้องใช้เวลาหลายวันในการขึ้นรูป ผู้ออกแบบจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการใช้เครื่องมือค่อยๆ แกะโมเดลจนกลายเป็นรูปร่าง บางทีก็ไม่สามารถควบคุมสัดส่วนของโมเดลให้คงที่ตามขนาดที่ต้องการได้ จึงนับเป็นปัญหาที่สำคัญไม่น้อยในวงการการออกแบบวัสดุของไทย
วันนี้ 3D Printer กลายเป็นหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการเข้ามาช่วยเหลืออุตสาหกรรมทั้งขนาดย่อมและขนาดใหญ่ เพราะไม่เพียงแต่ช่วยย่นระยะเวลาแล้ว ยังเที่ยงตรง แม่นยำ และควบคุมขนาดของโมเดลให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อีกด้วย
|
|
|
|
|