|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549
|
 |
"January Effect" ผ่านพ้นไปพร้อมกับการปรับตัวพักฐานลูกเล็กๆ ระยะเวลาที่เหลือของปี 2549 ดัชนีและราคาหุ้นไทยน่าจะต้องมาขึ้นกับปัจจัยเศรษฐกิจแท้จริงมากกว่าในเดือนมกราคม และสภาพเศรษฐกิจทั้งปีนี้หลายฝ่ายมองว่าต่อให้ไม่แย่ลงมากนักแต่ก็จะไม่เติบโตชัดเจน ดังนั้นกลยุทธ์การรับมือกับสภาวะขาดทุนทางตัวเลขราคาหุ้น ที่ถือจึงน่าจะได้ถูกเตรียมไว้และก็มีหลากหลายทัศนะจากหลากหลายกระทู้ในเรื่องนี้
thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=9809
ไม่ขาย ไม่ขาดทุน
กระทู้นี้ขอความคิดเห็นกับวลีที่ว่า "ไม่ขายไม่ขาดทุน" ที่มักถูกยกเป็นเหตุผลในการอดทนถือหุ้นราคาตกลงต่ำกว่าราคาที่ซื้อเอาไว้
ความเห็นที่น่าสนใจ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ได้ยินเพื่อนนักลงทุนหลายคนพูดด้วยความที่ว่าทำใจกับขาดทุนที่มากเกินไปไม่ได้ จึงเอาประโยคนี้ไว้ปลอบตัวเอง
การที่เราซื้อหุ้น เรายินยอมที่จะเปลี่ยนสินทรัพย์จากเงินสดจำนวนหนึ่งไปเป็นหุ้นจำนวนหนึ่ง ซึ่งถ้ายังไม่ขาย จำนวนหุ้นก็ยังเท่าเดิม จะถือว่าขาดทุน (ได้น้อยกว่าต้นทุน) ได้อย่างไรในเมื่อเรายินยอมที่จะเปลี่ยนสภาพจากเงินสดเป็นหุ้นตั้งแต่แรก และจำนวนหุ้นก็ไม่ได้ลดลง
เคยคิดอย่างนี้เหมือนกันครับ รู้สึกโง่มาก เพราะสุดท้ายผลประกอบการก็ไม่ดีจริงๆ ด้วย แล้วหุ้นก็ร่วงลงๆ สุดท้ายก็ขาย และขาดทุนมากกว่าเดิม
ถ้ามีจุดที่เรามั่นใจและตรวจสม่ำเสมอก็ยังมั่นใจ ฟังเรื่องราวเหตุผลค้านหมดแล้ว ก็ยังมั่นใจ ไม่ขายไม่ขาดทุน ก็ดีครับ
ถ้าอะไรๆ ก็เหมือนเดิม เพียงราคาลง แล้วเราก็มีอารมณ์อยากขาย ก็ดูไม่มีเหตุมีผล เปรียบบ้านเช่าเป็นหุ้น ซื้อมาแล้ว กำลังจะได้ค่าเช่าอยู่ดีๆ เห็นข้างบ้าน ละแวกนั้นซื้อขายกันถูกกว่าที่เราซื้อมา ก็พานอยากขายทิ้งซะงั้นล่ะ
เก็งกำไรว่าอย่าง เพราะเราซื้อจากเหตุผลคาดราคาขึ้น แต่ราคาลงก็ขาย มีเหตุมีผลดี
ผมเคยถือ SITCA อยู่... ครับ ไม่ขายไม่ขาดทุน แต่อาจไม่ได้ทุนคืน หายไปกับการปิด 54 ไฟแนนซ์ เหลือใบหุ้นให้ดูต่างหน้า 1 ใบ
ถ้าเราซื้อบริษัทที่พื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนแปลงกันบ่อยๆ หรือเปลี่ยนกันได้ง่ายๆ แล้วจ่ายปันผลสม่ำเสมอ แล้วเราก็เลือกแล้วว่าราคาที่เข้าซื้อ มันไม่ได้แพง (เรียกว่าบริษัทชั้นดี ถึงดีเยี่ยมที่ราคายุติธรรม) แล้วจะกลัวอะไร
ธุรกิจอาจจะมีรอบของมันบ้าง เพียงแต่ให้มั่นใจว่า ในรอบแย่ของมัน ก็ยังจ่ายปันผลได้ แล้วเมื่อราคาลดลง ผมก็คงเอาปันผลของมันนั่นแหละ มาซื้อตัวมันเอง ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ พอถึงรอบขึ้น ก็รับไม่ไหวแล้ว
แต่ถ้าเป็นบริษัทที่ล้มลุกคลุกคลาน วัฏจักรน่ากลัว ยามดี p/e ห้าหก ยามร้าย ขาดทุนปี้ป่น แบบนี้ไม่ไหวเหมือนกัน คำว่าไม่ขาย ไม่ขาดทุน ก็อาจจะเป็นจริง เพียงแต่ไม่ได้ทุนคืนมาเท่านั้นเอง อาจจะรอนานหน่อย หรืออาจจะไม่ได้เลย
คิดอย่างนี้ตายๆๆ สุดโต่งเกินไป ยึดติด แต่ต้นทุนของเงิน แต่ไม่มองต้นทุนทางเวลา ในระหว่างที่รอมันขึ้นทำอะไรได้ตั้งเยอะ ถ้าเมื่อไรเล่นหุ้นโดยหวังว่าซื้อมาเท่าไรต้องขายให้ได้มากกว่ากว่าที่ซื้อเท่านั้นรอดยาก คนที่รวยหุ้นผมเห็นส่วนใหญ่หาจังหวะเก่ง มองโอกาสออก รู้ตัวเร็ว
แต่ถ้าคัตบ่อยๆ ติดๆ กัน ก็หมดตัวได้นะ ทั้งค่าคอมมิชชั่นอีก
thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=14252
ถ้าซื้อหุ้นแล้วหุ้นลง มีวิธีจัดการอย่างไรดี
"ผมควรจะดูข้อมูลอะไรอีกเพื่อตัดสินใจว่าจะขายหรือถือ หรือมีวิธีจัดการอื่นใดครับ?"
ความเห็นที่น่าสนใจ
มองอนาคตของกำไร ถ้าอนาคตสวยซื้อเพิ่ม ถ้าอนาคตไม่สวยขายทิ้ง ถ้ามองอนาคตไม่ออก ขายทิ้ง ถ้าไตรมาสนี้กำไรไม่ดี ขายทิ้ง
ถ้าราคาที่เราซื้อเทียบกับกำไรแล้วถูกจริง ก็ควรซื้อเพิ่ม เพราะบางทีอนาคตอาจจะไม่สวยในระยะสั้นๆ บ้าง สำคัญจิตใจและการวิเคราะห์ความเป็นจริงไม่หลงตัวเองว่าถูก
ให้มองระยะยาว การที่กำไรแต่ละไตรมาสมีลดลงบ้าง ต้องมองให้ออกว่าเป็นปกติแค่สะดุดนิดหน่อยเท่านั้น หรือแย่ไปเลย ถ้าอนาคตยังดีอยู่ กำไรไตรมาสหนึ่งลดลง เป็นโอกาสที่ดีตลาดจะขายให้เราถูกๆ
thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=13785
เรื่อง cut loss สำหรับมือใหม่
"ถ้าเล่นหุ้นเก็งกำไร แล้วซื้อเพราะคิดว่าราคาต่ำแล้ว น่าจะขึ้นได้แล้ว ถ้าลง 5% เขาให้ cut loss นะครับ ไม่งั้นหมดตัว แต่ถ้าซื้อหุ้นที่พื้นฐานดี มียอดขาย มีรายได้ มีกำไร และคิดว่าจะถือยาว ผมเสนอว่า ห้าม cut loss"
ความเห็นที่น่าสนใจ
"ก่อนจะซื้อหุ้นเก็งกำไร ให้คิดก่อนว่า ถ้าหุ้นตกจะขายที่ราคาเท่าไร จะขาดทุนไปกี่บาท รับได้ไหม ถ้ารับได้ ก็ซื้อไปเลย ถ้ารับไม่ได้ ก็อย่าซื้อ"
"สมมุติว่า เราซื้อกิจการ 1,000 ล้าน มีกำไร 100 ล้าน แล้วเราพอใจ ที่กำไร 10% ต่อปี เมื่อตลาดให้ราคาตกลง เช่น 500 ล้าน แต่ผลตอบแทนเรายังเท่าเดิม เราจะ cut ไปทำไม อย่างมากก็หาเงินมาซื้อเพิ่ม ไม่มีเงินก็เอาปันผลมาซื้อก็ได้ เราจะไม่ cut loss เราจะขายออกเมื่อพื้นฐานเปลี่ยนเท่านั้น"
thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=14693
จะเป็น vi (value investor) นี่ต้องรู้จัก cut loss หรือเปล่า
ความเห็นที่น่าสนใจ
เพิ่งจะ cut loss ไปตัวหนึ่งครับ ทำใจอยู่นานมาก พื้นฐานบริษัทเปลี่ยนไปแล้ว แต่ตกไปอยู่ในภวังค์ของอารมณ์ครับ คอยดึงไว้ ไม่ให้ขาย กว่าจะขายได้ขาดทุนเท่ากับเงินปันผลที่ได้มาทั้งหมด
การ cut loss มี 2 กรณีคือ
1. วิเคราะห์ผิด
2. พื้นฐานเปลี่ยน
ขาย ไม่ว่ากำไรและขาดทุน ถ้าคิดว่าพื้นฐานเปลี่ยนไปในทางลบ
|
|
 |
|
|