Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2549
ความหวังของเล้าเป้งง้วน             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ แอลพีเอ็น กรุ๊ป (บริษัท เล้าเป้งง้วน จำกัด)

   
search resources

Metal and Steel
LPN Group
แอลพีเอ็น เพลทมิล, บมจ.




ปัจจัยลบทั้งในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ทำให้แอลพีเอ็น เพลทมิล ชะลอการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ จากเดิมที่กำหนดไว้ในช่วงปลายปีที่แล้วมาเป็นไตรมาส 3 ปีนี้ นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญหลังจากที่ใช้เวลาปรับโครงสร้างหนี้อยู่ถึง 6 ปีเต็ม

การลดค่าเงินบาทในปี 2540 ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศไทย ที่ส่วนใหญ่ใช้เงินกู้จากต่างประเทศ ภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในชั่วเวลาเพียงข้ามคืนทำให้แทบทุกรายต้องเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อรักษาธุรกิจให้อยู่รอด แอลพีเอ็น เพลทมิล ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนในกลุ่มเล้าเป้งง้วนก็เป็นอีกรายหนึ่ง ที่โดนผลกระทบจากการลดค่าเงินบาทในครั้งนั้นจนต้องเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้เช่นกัน

หลังจากใช้เวลาเจรจากับกลุ่มเจ้าหนี้และดำเนินการขั้นตอนทางกฎหมายเป็นเวลารวม 6 ปี การปรับโครงสร้างหนี้ของแอลพีเอ็น เพลทมิลแล้วเสร็จในช่วงกลางปีที่ผ่านมา คงเหลือภาระหนี้เพียง 2,865 ล้านบาทจากเดิมที่มีอยู่ 13,560 ล้านบาท โดยยอดหนี้ที่ลดลงเป็นผลมาจากการแปลงหนี้เป็นทุนและการตัดลดยอดหนี้ของกลุ่มเจ้าหนี้ ทำให้ในปีที่ผ่านมา บริษัทมีกำไรถึง 12,100 ล้านบาท โดยเป็นกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 9,979 ล้านบาท และมียอดขายรวม 3,310 ล้านบาท ส่วนในปีนี้คาดว่าจะ มียอดขาย 5,400 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 17 ล้านบาท

เมื่อเคลียร์ภาระหนี้สินได้สำเร็จ กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมและเจ้าหนี้ได้เตรียมนำแอลพีเอ็น เพลทมิลเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยในขั้นแรกกำหนดที่จะเข้าทำการซื้อขายในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในช่วงดังกล่าวมีปัจจัยลบหลายประการ เข้ามากระทบเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ทั้งราคาเหล็กที่เริ่มปรับลดลง การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันและภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีแนวโน้มไม่ดีนัก ทำให้บริษัทตัดสินใจเลื่อนการเข้าจดทะเบียนออกไปเป็นช่วงไตรมาส 3 ปีนี้แทน

"บริษัท จีสตีล ก็กำลังจะเข้าตลาดหุ้นอยู่พอดี เราอยากจะรอดูผลการตอบรับของจีสตีลก่อนว่าเป็นอย่างไร ถ้าไม่ดีนักเราก็ยังชะลอออกไปอีกได้" พิพัฒน์ ปรีดาวิภาต ประธานกรรมการบริหาร แอลพีเอ็น เพลทมิล ให้เหตุผล

ตามแผนงานที่วางไว้ การเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ของแอลพีเอ็น เพลทมิล จะมีการขายหุ้นจำนวน 296 ล้านหุ้น แบ่งเป็นนักลงทุนทั่วไปจำนวน 269.1 ล้านหุ้น และออกหุ้นให้กับพนักงานอีก 26.9 ล้านหุ้น เงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จะนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจเพื่อขยายกำลังการผลิตให้มากขึ้น โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เป็นปีละ 360,000 ตันใน 2 ปีข้างหน้าจากปีที่ผ่านมาที่ทำการผลิตรวม 144,000 ตัน

"เงินที่ได้เราเอาไปขยายกำลังการผลิตทั้งหมด ไม่ได้เอาไปใช้หนี้ เพราะหลังจากการปรับโครงสร้างหนี้ ธุรกิจสามารถใช้หนี้ได้อยู่แล้ว" สุเนตร วุฒิศักดิ์ กรรมการผู้จัดการกล่าว

อย่างไรก็ตาม บริษัทอาจพิจารณาการรีไฟแนนซ์ยอดหนี้ที่มีอยู่เพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่ายที่ต้องเสียประมาณปีละ 189 ล้านบาท

หลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ สัดส่วนผู้ถือหุ้นจะเปลี่ยนไปจากเดิมที่มีเจ้าหนี้ถือหุ้น 68% กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม 32% เป็นเจ้าหนี้ 53% ผู้ถือหุ้นเดิม 25% นักลงทุนทั่วไป 20% และกลุ่มพนักงาน 2%

นอกจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ในปีนี้แอลพี เอ็น เพลทมิล วางแผนรุกตลาดแผ่นเหล็กรีดร้อนเกรดพิเศษที่มีความกว้างและความหนาเกินกว่าขนาดมาตรฐานทั่วไป โดยเฉพาะเหล็กรีดร้อนที่มีขนาดความกว้าง 8-10 ฟุต ซึ่งบริษัทเป็นผู้ผลิตในประเทศเพียงรายเดียวในขณะนี้ และเน้นทำตลาดในกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการเหล็กเกรดพิเศษขนาดใหญ่ ที่เดิมจะต้องนำเข้าเท่านั้น เช่น การก่อสร้างสะพาน แท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล ถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่และท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ โดยที่ผ่านมา โครงการที่ใช้เหล็กแผ่นเกรดพิเศษของบริษัท ได้แก่ สะพานพระราม 8 และอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ

การวางนโยบายรุกในตลาดเหล็กรีดร้อนเกรดพิเศษดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้แอลพีเอ็น เพลทมิลหนีการแข่งขันกับเหล็กราคาถูกจากประเทศจีนได้แล้ว การผลิตเหล็กรีดร้อนเกรดพิเศษยังให้ผลกำไรสูงกว่าเหล็กเกรดธรรมดาอีกด้วย โดยเหล็กรีดร้อนเกรดธรรมดาจะมีมาร์จิ้นราว 13% ขณะที่เหล็กเกรด พิเศษมีมาร์จิ้นอยู่ระหว่าง 20-25%

ในปีที่ผ่านมา แอลพีเอ็น เพลทมิลทำการผลิตเหล็กแผ่น รีดร้อนรวม 144,000 ตัน จากกำลังการผลิตรวม 400,000 ตันต่อปี แต่ในปีนี้ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มการผลิตขึ้นเป็น 230,000 ตัน แบ่งเป็นแผ่นเหล็กรีดร้อนชนิดแผ่น จำนวน 170,000 ตันและเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนอีก 60,000 ตัน โดยการผลิตทั้งหมดนี้จะเป็นเหล็กแผ่นชนิดเกรดพิเศษในสัดส่วน 57% ส่วน ที่เหลือจะเป็นเหล็กเกรดธรรมดา ขณะเดียวกันยังตั้งเป้าในการ ส่งออกในปีนี้จำนวน 60,000 ตัน โดยจะส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ

สำหรับแผนการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตนอกเหนือจากการขยายกำลังการผลิต พิพัฒน์เล่าว่า โครงการที่มีความเป็นไปได้จะเป็นการผลิตเหล็กบางที่มีความหนาประมาณ 1 มิลลิเมตร เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตตัวถังรถยนต์และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านบาท

"แต่โครงการนี้เรายังไม่กล้าคิดในช่วง 1-2 ปีนี้ เพราะเราเจ็บมาจากช่วงวิกฤติ ปี 2540 ตอนนี้ต้องเอาความแน่นอนก่อน"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us