|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549
|
 |

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม เวลาบ่ายสองโมงครึ่ง ห้องแถลงข่าวบนชั้น 3 ของโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เนืองแน่นไปด้วยสื่อมวลชนทั้งไทย และต่างประเทศหลายร้อยชีวิตที่มารอฟังการแถลงข่าวการขายหุ้นชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN) ของตระกูล "ชินวัตร" และตระกูล "ดามาพงศ์" อันเป็นตระกูลหน่อเนื้อเดียวกันกับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย หลังจากตกเป็นเพียงข่าวลือในตลาดหุ้นมาตลอดหลายสัปดาห์ ซึ่งตลอดเวลากว่าหนึ่งชั่วโมงของการแถลงข่าว เปรียบเสมือนเครื่องยืนยันการปิดฉากข่าวลือให้จบลงแบบไร้ข้อกังขา
ทั้งการยืนยันเรื่องหุ้นของ SHIN จำนวน 1,487 ล้านหุ้น หรือ 49.6% ซึ่งถูกซื้อโดยเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์, ธนาคารไทยพาณิชย์ และกลุ่มบริษัทกุหลาบแก้ว ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท คิดเป็นมูลค่ากว่า 73,300 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยเมื่อช่วงบ่ายโมงของวันดังกล่าว หลังจากใช้เวลาเจรจาซื้อขายหุ้นกันนาน 4-6 สัปดาห์
เรื่องการยืนยันความชอบธรรมตามกฎหมาย เมื่อการซื้อขายถูกกระทำผ่านบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ซึ่งแบ่งกันถือหุ้นระหว่างเทมาเส็กและธนาคารไทยพาณิชย์ในสัดส่วน 49:51 และบริษัทแอสเปน โฮลดิ้งส์ ที่เทมาเส็กถือหุ้นทางอ้อมแต่เพียงผู้เดียว ทั้งสองเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย ขณะที่คนขายเป็นบุคคลธรรมดา ทำให้ดีลครั้งนี้คนในตระกูลทั้ง 2 ไม่ต้องชำระภาษีจากกำไรในการขายหุ้นดังกล่าว
เช่นเดียวกันกับการประกาศอย่างชัดเจนถึงการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการโดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) บริษัทแอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส ซึ่ง SHIN ถือหุ้นใหญ่ โดยได้มีการทำคำเสนอซื้อตามความสมัครใจจากผู้ถือหุ้นรายย่อยในราคา 72.31 บาทต่อหุ้น
ขณะที่คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อการครอบงำกิจการยังยืนยันให้ทั้งซีดาร์และแอสเปนไม่ต้องทำคำเสนอซื้อกรณีครอบงำกิจการผ่านนิติบุคคลอื่นของหุ้นของบริษัทไอทีวี, ชินแซทเทลไลท์ และซีเอส ล็อกซอินโฟ
กระทั่งการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารคนสำคัญในกลุ่ม โดยเฉพาะการลาออกของบุญคลี ปลั่งศิริ CEO ของ SHIN ซึ่งได้รับการยืนยันค่อนข้างแน่ชัดจากปากของเขาเองว่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง" รวมถึงผู้บริหารอีกหลายราย ยกเว้นยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่เธอเท่านั้น และพงส์ สารสิน ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานกรรมการ SHIN และถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงานวันดังกล่าว
สุวรรณ วลัยเสถียร โฆษกของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ตอบคำถามแรกของงานด้วยการยืนยันความบริสุทธิ์ในการขายหุ้นของทั้งสองตระกูลว่า เกิดจากเหตุผลทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว และเพื่อให้โอกาสในการขยายธุรกิจของเครือ SHIN ออกไปสู่ระดับภูมิภาค และระดับโลกมากขึ้น การหาผู้มาช่วยลงทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญ
แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการขายหุ้นทั้งหมดให้กับ 3 กลุ่ม แต่สุวรรณก็มิอาจตอบคำถามถึงความสนใจในการซื้อหุ้นคืนในอนาคตของคนในตระกูลดังกล่าวได้
"การซื้อขายหุ้นของทั้งสองตระกูลไม่เพียงแต่เป็นประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นในเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นประวัติศาสตร์ของทั้งสองตระกูลอีกด้วย" บุญคลีกล่าวย้ำให้เห็นความสำคัญของการขายหุ้นแบบ big lot ของทั้งสองตระกูลได้เป็นอย่างดี
งานแถลงข่าวจบลงพร้อมกับการสิ้นสุดการรอคอยของข่าวการขายหุ้นครั้งประวัติศาสตร์ในเวลาเดียวกัน
|
|
 |
|
|