|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549
|
|
ปีนี้บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ ขนทีมงานและนักข่าวเกือบ 60 ชีวิต ไปร่วมฉลองยอดขายที่โกยไปได้ 7 พันกว่าล้านบาท โตกว่าปีที่แล้วกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ และแถลงแผนงานปี 2549 ไกลถึงยอดดอยอ่างขาง
แอล.พี.เอ็น. เป็นตัวอย่างของบริษัทอสังหาริมทรัพย์อีกบริษัทหนึ่ง ที่สามารถวาง Positioning ของตนเองไว้ชัดเจนและสามารถเดินเกมตลาดได้อย่างน่าสนใจตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
แบรนด์ของ แอล.พี.เอ็น.เป็นทางเลือกหนึ่งของคนระดับกลาง ที่เริ่มสร้างครอบครัวใหม่หรือผู้ที่ต้องการอยู่ใกล้สถานศึกษา สถานที่ทำงาน เพราะระดับราคาไม่แพงมากนัก ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 900,000-2,000,000 บาทต่อยูนิต (ขนาด 30-60 ตารางเมตร)
ในปีที่ผ่านมาบริษัทได้เปิดโครงการใหม่อีก 4 โครงการ ในเขตชุมชนรอบนอกที่มีความเจริญสูงคือ ย่านแฮปปี้แลนด์ ปิ่นเกล้า ศูนย์วัฒนธรรมฯ ถนนนราธิวาส-เจ้าพระยา โดยโฟกัสไปยังกลุ่มลูกค้าระดับเดิมคือ บี และบีบวกเป็นหลัก ซึ่งทุกโครงการก็ยังคงสามารถสร้างยอดขายได้ดีเหมือนเคย
ดังนั้นเมื่อทิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานกรรมการบริหารบริษัท แถลงถึงยุทธวิธีใหม่ในปี 2549 ที่จะเริ่มเจาะฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ คือตลาดคอนโดระดับซีบวก ที่มีราคาเพียง 500,000 บาทต่อยูนิต ผ่อนชำระต่อเดือนเพียง 3-4 พันบาท จึงเกิดคำถามคาใจนักข่าวอย่างมาก เช่น ในเรื่องของแบรนด์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนชั้นกลาง แล้วทำไมต้องไปเล่นระดับล่าง จะเกิดปัญหาในเรื่องการทำงานหรือเปล่า กำไรที่ได้มาจะคุ้มกับความยุ่งยากหรือไม่
ทิฆัมพรเลยต้องร่ายยาวและเอ่ยสำนวนคุ้นๆ หูว่า ไม่มีปัญหา เพราะเคยมีประสบการณ์การทำคอนโดระดับราคานี้มาแล้วเมื่อปี 2542 ที่แฮปปี้แลนด์ และพบว่าเป็นกลุ่มที่มีปัญหาในการผ่อนส่งน้อยมาก ทั้งๆ ที่มีรายได้ไม่แน่นอน แต่เมื่อเป็นบ้านหลังแรกที่เขารัก และเสียค่าผ่อนพอๆ กับค่าเช่าบ้าน ดังนั้นทุกคนต้องหาทางรักษาไว้ให้ได้
เหตุผลข้อต่อไปก็คือ ในปี 2549 มีแนวโน้มว่าผู้ประกอบการ หลายรายจะลงมาทำคอนโดระดับปานกลางมากขึ้น แอล.พี.เอ็น. เลยจำเป็นต้องหากลุ่มฐานลูกค้าใหม่เพื่อกระจายความเสี่ยง แต่จะไม่กระโดดไปเล่นกลุ่มราคาสูงเพราะมีเจ้าตลาดอยู่หลายรายแล้วเช่นกัน ในขณะที่ตลาดล่าง ยังมีความต้องการสูงแต่ผู้ประกอบการที่ลงมาทำยังน้อยมาก และแม้จะทำกำไรไม่มาก แต่หากเพิ่มจำนวนยูนิตให้มากขึ้น สัดส่วนกำไรต่อโครงการก็ไม่น่าจะหนีจาก 30%ที่เคยวางไว้แน่นอน
เป้าหมายอย่างหนึ่งที่ผู้บริหาร แอล.พี.เอ็น.คาดหวังไว้ก็คือการเป็นนักพัฒนาที่ดินเจ้าของชุมชนขนาดใหญ่เป็นเมืองย่อยๆ เช่นเดียวกับโมเดลของบริษัทพัฒนาที่ดินยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศ โดยหวังว่าจะใช้ประสบการณ์ในการบริหารอาคารชุดและชุมชนที่กลุ่มของตนเองเป็นเจ้าของอยู่แล้วประมาณ 1.5 หมื่นยูนิต เป็นฐานสำคัญในการเตรียมพร้อม
"บางครั้งเวลาทำธุรกิจ เราไม่จำเป็นต้องมองกำไรที่เป็นตัวเลขในระยะสั้นเท่านั้น แต่ควรมองไกลไปกว่านั้น เมื่อเราพัฒนาเมืองได้ สร้างชุมชนที่ดีขึ้นมาได้ โอกาสการทำธุรกิจอย่างอื่นในเมืองนี้ก็จะตามมาเอง" ทิฆัมพรอธิบายถึงวิธีคิดท่ามกลางความหนาวเหน็บของลมหนาวบนยอดดอยก่อนทิ้งท้ายว่า
ไม่น่าเกินไตรมาส 3 โครงการสร้างเมืองของแอล.พี.เอ็น. คงเป็นรูปเป็นร่างขึ้น
|
|
|
|
|