Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
โลกเปลี่ยนขั้ว             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 





"ในศตวรรษที่ 19 หากอยากรวยต้องไปอังกฤษ ศตวรรษที่ 20 ต้องไปสหรัฐอเมริกา แต่ในศตวรรษที่เรากำลังใช้ชีวิตอยู่นี้ ศตวรรษที่ 21 ต้องมาที่จีน"

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อภายในเวลาไม่กี่วัน ประโยคข้างต้นผมได้ยินมา 3 ครั้ง จากปากคน 3 ชาติ ที่บังเอิญแวะเวียนมาพบปะกับผมที่นี่

คนแรกเป็นชาวไทยผู้เชี่ยวชาญเรื่องเมืองจีน คนที่สอง เป็นชาวจีนแท้ๆ ที่เพิ่งสนใจเรียนภาษาอังกฤษ ส่วนคนที่ 3 เป็นชาวแคนาดา ผู้หลบภัยเศรษฐกิจมาหาที่พักพิง

เบนจามิน หรือชื่อจีน "จู อ้าย หลง" (แปลได้ว่า มังกรสีแดงแห่งความรัก) หนุ่มวัย 27 เพื่อนร่วมห้องของผมข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากทวีปอเมริกาเหนือ เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดามาถึงเมืองปักกิ่ง

บ่ายวันหนึ่งในร้านกาแฟ SAMMIES เราก็นั่งคุยกันแบบเปิดใจ

เบนเล่าถึงปูมหลังครอบครัวของเขาว่า ต้นตระกูลของเขาเป็นคนจีน เท่าที่พ่อเล่าให้ฟังก็คือ ปู่เป็นเจ้าภาษี ฐานะระดับเจ้าสัวอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ย่าเป็นคนปักกิ่ง พ่อของเขาจึงเป็นคนจีนแท้ๆ แต่หลังจากปี ค.ศ.1949 เมื่อกองทัพแดงของเหมาเจ๋อตุง กรีธาทัพเข้าปักกิ่งแสดงถึงความมีชัยเหนือกองทัพก๊กมินตั๋ง และประกาศให้จีนเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ครอบครัวของพ่อเขาต้องอพยพตามเจียงไคเช็คไปพักอยู่ที่เกาะไต้หวัน และในเวลาต่อมาจึงย้ายครอบครัวไปอยู่สหรัฐอเมริกา

พ่อของเบนชีวิตค่อนข้างผาดโผน ช่วงปี 1966-1967 เป็นนักบินเครื่องบินรบ สมัยสงครามอยู่ข้างสหรัฐฯ ต่อมาเมื่อประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกมีปัญหาด้านสายตาทำให้ขับเครื่องบินต่อไม่ได้ก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก ทางซีกตะวันออกของสหรัฐฯ เมื่อพ่อของเบนไปอยู่ที่ซานฟรานซิสโกก็พบรักกับแม่ชาวญี่ปุ่น แต่งงานกันแล้วจึงย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่แคนาดา เบนจึงเป็นลูกครึ่ง จีน-ญี่ปุ่น

เบน เติบโตที่แวนคูเวอร์ แคนาดา ถูกเลี้ยงมาในสไตล์ของชาวตะวันตกทั่วๆ ไป แม่ชาวญี่ปุ่นที่เป็นช่างทำผม สอนภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวันให้แก่เขาเล็กๆ น้อยๆ ผิดกับพ่อไม่ได้สอนภาษาจีนอะไรให้เขาเลย เมื่อจบมัธยมปลายเบนก็เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในแคนาดา เลือกเรียนในสาขา eCommerce & Business Administration

เขาทำงานตั้งแต่เรียนอยู่ปี 3 เป็นเซลส์แมนขายบัตรโทรศัพท์ทางไกลให้กับบริษัท เอทีแอนด์ที (AT&T) แคนาดา เมื่อจบการศึกษาในปี ค.ศ.2000 ด้วยฝีมือการขายของเขาทำให้บริษัท AT&T เสนองานให้กับเขาทันทีในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายโทรศัพท์ทางไกล (Long Distance Call) พร้อมกับลูกน้องภายใต้การควบคุมของเขาอีก 48 คน

อย่างไรก็ตาม ชีวิตของเบนผกผันเช่นเดียวกันกับคนอเมริกันทั้งหลาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 และถูกซ้ำเติมระลอกสองจากวิกฤตเกี่ยวกับการทุจริตของบริษัทใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ เช่น เอนรอน (Enron) ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ดำดิ่ง ในฐานะผู้จัดการฝ่ายเขาถูกกดดันอย่างหนักจากฝ่ายบริหาร ทั้งเพิ่มยอดขาย ลดคน ลดค่าใช้จ่าย แต่ภายใต้สถานการณ์ที่ภาคธุรกิจโทรคมนาคมของอเมริกันย่ำแย่อย่างหนัก เขาก็ทำอะไรไม่ได้มาก

จนในที่สุดเมื่อต้นปี ค.ศ.2002 คำสั่งเลย์ออฟก็มาถึงจนได้ แต่เขายังโชคดีที่สัญญาที่เขาทำไว้กับบริษัทค่อนข้างดีทำให้เขาได้รับเงินชดเชยมาก้อนใหญ่

ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจอเมริกันที่อยู่ในช่วงขาลง การหางานไม่ใช่เรื่องง่ายนัก พ่อของเบนจึงแนะนำให้เขามาเรียนภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง (Beijing Language and Culture University: BLCU) พร้อมกับแนะนำเพื่อนของพ่อให้รู้จักอีกหลายคน

เบนเล่าว่า เขาตั้งเป้าจะมาเรียนภาษาจีนที่นี่สองปี และถ้าเป็นไปได้เขาก็หวังว่าจะตั้งรกรากที่นี่เสียเลย ด้วยคอนเนกชั่นจากเพื่อนเก่าๆ ของพ่อที่ปัจจุบันเป็นเจ้าของกิจการ หลายแห่งที่ต่างก็เชื่อใจและเสนองานให้เขา หลังจากเขาเรียนภาษาจีนจบ

"ผมขายอพาร์ตเมนต์ที่แวนคูเวอร์ไปแล้ว เพื่อนๆ สมัยเรียนก็ย้ายไปทำงานที่โน่น ที่นี่ ไปคนละทาง จริงๆ ที่แคนาดาก็ไม่มีอะไรให้ผมคิดถึง เมื่อเรียนจบที่นี่สองปีแล้วผมอาจจะไปทำงานกับเพื่อนพ่อ เขามีโรงงานใหญ่ที่กวางโจว มีคนงานราว 8,000 คน ผลิตรองเท้าให้กับบริษัทญี่ปุ่นและยุโรป ส่งออกไปขายที่ตลาดญี่ปุ่นภายใต้ยี่ห้อ Asahi ส่วนตลาดยุโรปก็ผลิตให้กับยี่ห้อ Ecko อนาคตของผมคงอยู่แถวๆ นี้"

เพื่อนร่วมห้องของผม นอกจากเบนแล้วยังมีหนุ่มอเมริกันอีกคน ที่ไม่น่าเชื่อว่าความคิดก็แทบจะไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก

เทรเวอร์ เฟอร์กูสัน หรือ "เฟ้ย หยุน" (เมฆอันล้ำค่า) เพื่อนวัย 22 นักศึกษาปีที่ 4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเวสต์เทิร์นมิชิแกน เล่าให้ผมฟังถึงสาเหตุของการมาเรียนถึงเมืองจีนว่า เขาคิดว่าภาษาจีนน่าจะมีประโยชน์ต่อเมเจอร์ที่เขาเรียน และมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมิชิแกน รวมถึงมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งก็จับมือกับมหาวิทยาลัยในเมืองจีน ส่งนักเรียนมาแลกเปลี่ยนที่ประเทศจีน

เฟอร์กูสันเล่าอีกด้วยว่า คราวนี้เขามีคิวมาเรียนที่นี่ในระยะสั้นเพียง 4 เดือน ตามโปรแกรมของมหาวิทยาลัยเพื่อเก็บหน่วยกิต แล้วก็จะกลับไปรับปริญญาตรีที่สหรัฐฯ หลังจากนั้นเขาวางแผนไว้ว่าจะกลับมาที่นี่อีก เขาอาจจะไม่สานต่อบริษัทก่อสร้างของพ่อที่มิชิแกน แต่อาจจะเรียนปริญญาโทต่อ หรือไม่ก็หางานทำที่เมืองจีนซะเลย

ความคิดของคนทั้งคู่ที่ผมเล่ามา ใช่ว่าจะเป็นส่วนน้อย เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ก่อนการไปเยือนสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน ตามคำเชิญของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ปรากฏว่าเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศจีน คล็าก ที. แรนด์ท จูเนียร์ (Clark T. Randt Jr.) ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ไม่ได้มีเพียงแต่นักเรียนจีนที่นิยมไปเรียนในสหรัฐฯ โดยปัจจุบันมีกว่า 60,000 คนที่กระจายไปเรียนตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เท่านั้น คนอเมริกันที่ตั้งใจมุ่งหน้ามาประเทศจีน เพื่อมาเรียนและมาหาอาชีพก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

ประโยค "ในศตวรรษที่ 19 หากอยากรวยต้องไปอังกฤษ ศตวรรษที่ 20 ต้องไปสหรัฐอเมริกา แต่ในศตวรรษที่เรากำลังใช้ชีวิตอยู่นี้ ศตวรรษที่ 21 ต้องมาที่จีน" ดู เหมือนคนอเมริกันชาติมหาอำนาจของโลกแห่งศตวรรษที่ 20 ก็ยังต้องยอมรับ

-   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us