|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กองทุน ETF กองแรกคืบ บลจ.กสิกรไทย จับมือแบงก์ไทย-เทศ 4 ราย ตั้งเป็นมาร์เก็ตเมกเกอร์และผู้ร่วมค้าหน่วยลงทุน ดัน "กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ" เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดตราสารหนี้ภายในไตรมาสแรกของปี พร้อมเปิดไอพีโอครั้งแรก 15-21 ก.พ.นี้
นางดัยนา บุนนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ (ABFTH) ว่า บริษัทได้แต่งตั้งผู้ดูแลสภาพคล่อง (มาร์เก็ตเมกเกอร์) และผู้จัดจำหน่ายหน่วยลงทุนสำหรับกองทุนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมาร์เก็ตเมกเกอร์นั้นประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารดอยซ์แบงก์ สาขากรุงเทพฯ โดยมีธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงก์กิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด ทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมค้าหน่วยลงทุน
ทั้งนี้ กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ จะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (ไอพีโอ) ระหว่างวันที่ 15-21 ก.พ.นี้ หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 เดือนก็จะสามารถนำเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange - BEX) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ โดยการจดทะเบียนซื้อขายนั้น กองทุนจะจด 2 กระดาน ทั้งกระดานสำหรับนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย เพื่อเพิ่มความสะดวกในการซื้อขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งจะอ้างอิงกับดัชนี IBOXX ที่จัดตั้งขึ้นโดย International Index Company ซึ่งเป็นดัชนีที่กองทุนประเภทนี้ในต่างประเทศใช้เป็๋นตัวอ้างอิง
นางดัยนากล่าวว่า รูปแบบการเสนอขายหน่วยลงทุนในช่วงไอพีโอของกองทุนนี้ ผู้ลงทุนสามารถขอซื้อได้ที่ตัวแทนผู้จัดจำหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมด โดยไม่มีการกำหนดวงเงินลงทุนขั้นต่ำ และผู้ลงทุนสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ตามจำนวนเงินที่ต้องการ ทั้งนี้ การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าวจะต่างกับกองทุนรวมทั่วไป โดยผู้จัดการกองทุนจะเสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ร่วมค้าหน่วยลงทุนและผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดรองในอัตราขั้นต่ำ 10 ล้านบาท หลังจากนั้น ก็ให้ผู้ร่วมค้าหน่วยลงทุนและผู้ดูแลสภาพคล่องนั้น กำหนดราคาขายให้แก่ผู้ลงทุนในช่วงไอพีโอ โดยที่ไม่ต้องผ่านบลจ. ซึ่งวิธีดังกล่าวจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการได้
นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดตราสารหนี้ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (BEX) ซึ่งจะได้รับความสะดวกในการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากสามารถทราบข้อมูลและกำหนดราคาซื้อขายได้เลยในขณะนั้น โดยไม่ต้องรอการคำนวณมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ที่เดิมจะต้องรู้ผล ณ สิ้นวัน
สำหรับผลตอบแทนของกองทุนดังกล่าว ณ ปัจจุบันที่กองทุนลงทุนอยู่แล้ว ให้ผลตอบแทนประมาณ 5.25% จากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรขององค์กรระหว่างประเทศที่ออกเป็นเงินบาท ซึ่งเฉลี่ยแล้วอายุของตราสารที่กองทุนเข้าไปลงทุนจะอยู่ที่ประมาณ 5 ปี แต่ทั้งนี้ ก็จะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยด้วย ซึ่งจะมีผลทำให้มีผลต่อการดำหนดราคาได้ นอกจากนี้ กองทุนยังมีนโยบายจ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้งด้วย
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องความเสี่ยงนั้น กองทุนดังกล่าวจะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งมีเครดิตระดับสากลและมีความเสี่ยงต่ำอยู่แล้ว ในขณะที่สภาพคล่องของกองทุน หลังจากจดทะเบียนในตลาด BEX แล้ว บลจ.จะไม่รับซื้อคืน แต่จะมีผู้ร่วมค้าและมาร์เก็ตเมกเกอร์เป็นตัวแทนให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายได้ โดยในการกำหนดราคาของกองทุนอาจจะต่างกัน ตามการเปลี่ยนแปลงของราคา
สำหรับความล่าช้าของกองทุนจากเดิมที่มีแผนจะเข้าจดทะเบียนตั้งแต่ปลายปี 2548 ที่ผ่านมานั้น นางดัยนา กล่าวว่า เนื่องจากกองทุนดังกล่าวเป็นนวัตกรรมการลงทุนแบบใหม่ มีรายละเอียดที่สลับซับซ้อนค่อนข้างมาก อีกทั้งต้องติดต่อกับหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะธนาคารกลางของทั้ง 11 ประเทศที่เป็นสมาชิกของโครงการกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 ที่ต้องตรวจสอบและแก้ไข ทั้งนี้ เพื่อให้กองทุนออกมาดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนั้นเราก็ได้เตรียมความพร้อมสำหรับนักลงทุนในประเทศ ด้วยการจัดสัมมนาให้ความรู้ทั้งสถาบันและรายย่อยเอง
ทั้งนี้ กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบ Exchange Traded Fund หรือ ETF เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยจัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการกองทุนพันธบัตรเอเชีย ระยะที่ 2 ที่เกิดจากความร่วมมือของธนาคารกลางชาติต่างๆ ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค (East Asia and Pacific) จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักลงทุน
|
|
|
|
|