Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
ยุคอาณานิคม             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





ยุคอาณานิคม

2425 บอร์เนียว บริษัทการค้าแห่งอาณานิคมสหราช อาณาจักรแห่งแรกเข้ามา เปิดการค้าในเมืองไทยหลังจากสัญญาเบาริ่ง ปี 2398 นำเข้าสินค้าสำคัญ สำหรับราชสำนัก และได้รับสัมปทานป่าไม้

2431 ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แห่งสหราชอาณาจักร เข้ามาดำเนินกิจการในเมืองไทย

2437 ธนาคารชาร์เตอร์ด เข้ามาดำเนินกิจการ

2466 ธนาคารเมอร์เคนไทล์แห่งอังกฤษเข้ามาดำเนิน กิจการ

2443 แองโกล-ไทย แห่งสหราชอาณาจักรเข้ามาดำเนิน ธุรกิจคล้ายๆ กับบอร์เนียว เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดขึ้นกิจการของ สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากเมืองไทยไปหมด

ยุคเปิดประเทศ

2504 บอร์เนียวเข้ามาดำเนินกิจการอีกครั้ง ด้วยการขาย สินค้าสมัยใหม่จากตะวันตกสำหรับชนชั้นนำของ เมืองไทยตั้งแต่รถยนต์ เครื่องจักร เวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง และสินค้าคอนซูเมอร์ต่างๆ

2512 แองโกล-ไทย เข้ามาดำเนินธุรกิจคล้ายๆ กับ บอร์เนียวอีกครั้ง ความเสื่อมของบริษัทการค้าของอังกฤษเริ่มต้น ขึ้นในช่วงสงครามเวียดนาม บอร์เนียวขายกิจการให้กลุ่มอินช์เคปแห่งสหราช อาณาจักรในปี 2509 และแองโกล-ไทย ขายกิจการ ให้อินช์เคปเช่นเดียวกันในปี 2518 และเมื่อไม่นาน อินช์เคปในเมืองไทยก็ขายกิจการให้บริษัทใน ฮ่องกงไป (Li & Fung) ในช่วงเดียวกันนั้นบริษัทการผลิตแห่งสหราช อาณาจักรก็เข้ามาร่วมทุน ตั้งกิจการในเมืองไทยจำนวนหนึ่งเช่น Armitage Shanks ผลิตสุขภัณฑ์ในปี 2512 Castral ผลิตน้ำมันเครื่องในปี 2514 Chloride Group ผลิตแบตเตอรี่ในปี 2514 เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มีบางบริษัทมีปัญหากิจการใน ช่วงวิกฤติการณ์เศรษฐกิจไทยต้องถอนตัวออกไป Armitage Shanks ถอนตัวไปเมื่อปี 2527 และ Chloride Group ถอนตัวไปในปี 2528 อันเป็น ช่วงเดียวกับที่ธนาคารเมอร์เคนไทล์เป็นธนาคาร อังกฤษแห่งหนึ่งที่กลับเข้ามาดำเนินกิจการอีก ครั้งในเมืองไทย ได้ขายกิจการให้ซิตี้แบงก์แห่ง สหรัฐฯ ในปี 2528

หมายเหตุ

มีกรณีของเชลล์ และยูนิลีเวอร์ มีลักษณะพิเศษ ทั้งสองกิจการเป็นกิจการร่วมทุนระหว่างอังกฤษ กับดัตช์ และทั้งสองกิจการมีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ยาวนานที่สุด ในบรรดาธุรกิจสหราชอาณาจักรในเมืองไทย ยูนิลีเวอร์มาเมืองไทยตั้งแต่ปี 2446 ก่อตั้งโรงงาน สบู่ ในปี 2475 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ถอนตัวออกไปช่วงหนึ่ง แล้วก็กลับมาเมืองไทยทันทีที่ สงครามจบลง และดำรงอยู่ในฐานะกิจการคอน ซูเมอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ส่วนเชลล์เข้ามาเมืองไทยครั้งแรกในปี 2435 และ ทันทีที่สงครามโลกครั้งที่สองจบลงก็มาตั้งบริษัท ในเมืองไทย และเป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ในไทย ตั้งแต่นั้นมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us