Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2549
พิพิธภัณฑ์บ้านแฮรีส             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล บัณรส บัวคลี่
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

   
search resources

ปรินส์ รอยแยลส์
Museum




เด็กๆ ทุกคนของโรงเรียนปรินส์รอยรุ่นแล้วรุ่นเล่า ต้องเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาย้อนอดีต 100 ปีนามพระราชทาน และ 120 ปี การก่อตั้งโรงเรียนจากอาคารพิพิธภัณฑ์ในโรงเรียน

บ้านแฮรีส ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2448 เป็นอาคารหลังแรกที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล เป็นอาคารแห่งประวัติศาสตร์ที่ใช้เป็นสถานที่รับเสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2449

เดิมทีเป็นบ้านพักและอาคารอำนวยการของศาสนาจารย์วิลเลียม แฮรีส ต่อมาได้ใช้เป็นอาคารดนตรี และห้องซ้อมดุริยางค์ จนกระทั่งเมื่อวันวิปโยคที่ 24 พฤษภาคม 2523 เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้บ้านแฮรีส และเครื่องดนตรีดุริยางค์ นับเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญ

แต่เป็นที่น่ายินดีอย่างมาก ที่โรงเรียนได้ตระหนักถึงคุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ จึงได้ก่อสร้างบ้านแฮรีสขึ้นใหม่ในบริเวณที่ตั้งเก่า โดยอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบเดิมไว้ทุกประการ และได้ทำพิธีเปิดบ้านหลังใหม่นี้ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536

เสวินทร์ จิรคุปต์ อธิบายให้ฟังว่าเมื่อปี 2540 พงษ์ ตนานนท์ ดำริที่จะก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โรงเรียนขึ้นมา เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ของนักเรียน ตามกฎหมายปฏิรูปการศึกษา และปรินส์รอยได้ทำพิพิธภัณฑ์ในโรงเรียนเป็นแห่งแรกในภาคเหนือ ต่อมาในโรงเรียนดาราวิทยาลัย และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยก็ตั้งขึ้น และตอนนี้ในโรงเรียนวัฒโนทัยกำลังจะมีเช่นกัน เพราะแต่ละโรงเรียนต่างมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน

เสวินทร์เป็นครูที่นี่มาประมาณ 35 ปี และเป็นหัวหน้าส่วนของพิพิธภัณฑ์ เป็นศิษย์เก่าปรินส์รอยอีกคนหนึ่งที่มีความผูกพันกับสถานที่แห่งนี้อย่างมาก

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งโดดเด่นอย่างมากของบ้านแฮรีสคือภาพเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่มีมากมายถึง 500 ภาพ รวมทั้งบันทึกประจำวันที่มิชชันนารีรุ่นก่อนได้เก็บรักษาเอาไว้จนเป็นข้อมูลที่สำคัญให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

เรื่องราวในอดีตเริ่มต้นจากการเดินทางของพวกมิชชันนารีอเมริกันที่เข้ามาในเมืองเชียงใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงอนุญาต ให้มิชชันนารีมาเผยแพร่ศาสนาที่หัวเมืองได้ ครอบครัวของศาสนาจารย์ดาเนียล แมคกิลวารี และโซเฟีย (ลูกสาวของหมอบรัดเลย์) และบุตร ได้เดินทางถึงเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2410

ท่านและครอบครัวพักอาศัยศาลา "ย่าแสงคำ" ซึ่งเป็นศาลาที่ข้าราชการและชาวเมืองระแหงผู้หนึ่งสร้างไว้เป็นที่พักร้อนของคนเดินทาง (อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง บริเวณตลาดวโรรสในปัจจุบัน) ศาสนาจารย์แมคกิลวารีได้นำยาควินิน หรือยาขาวแก้ไข้มาลาเรียมาแจกพร้อมเล่าเรื่องคริสต์ศาสนาแก่คนที่มุงดู "กุลวาเผือก" ด้วยความอยากรู้อยากเห็นไม่เว้นแต่ละวัน (จากประวัติโรงเรียนปรินส์ รอยแยลส์ วิทยาลัย โดยประสิทธิ์ พงศ์อุดม นักวิจัยฝ่ายประวัติศาสตร์สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย) ต่อมาประมาณ 1 ปี ครอบครัวของศาสนาจารย์โจนาธาน และมาเรีย วิสสัน ก็ได้ตามมาสมทบ

กิจกรรมหลักอย่างหนึ่งของพวกมิชชันนารีที่เข้ามาคือการจัดการศึกษาแบบตะวันตก ซึ่งบิดาของเจ้าดารารัศมีได้พระราชทานที่ดินตรงวังสิงห์คำให้สร้างโรงเรียนชายวังสิงห์คำขึ้น หรือเรียกกันว่า Chiengmai Boys School ในปี 2431 มีครูคนเมืองรุ่นแรกๆ คือครูโอ๊ะ ครูบุญทา และครูน้อยพรหม การเรียนการสอนใช้ภาษาล้านนาเป็นหลัก โดยมีศาสนาจารย์เดวิด จี คอลลินส์ เป็นผู้รับผิดชอบ

ปี 2442 ศาสนาจารย์คอลลินส์ ได้ออกไปรับผิดชอบโรงพิมพ์ของมิชชันนารีอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นบิดาการพิมพ์ของล้านนา สมัยนั้นจะพิมพ์พระคัมภีร์ คำมนัสการเป็นภาษาพื้นเมือง โดยให้ศาสนาจารย์แฮรีส เป็นคนรับผิดชอบในเรื่องโรงเรียนแทน

ต่อมาเนื่องจากสถานที่โรงเรียนเดิมเริ่มคับแคบ ในขณะเดียวกัน บริษัทอังกฤษได้เสนอขายที่นา 20 ไร่ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงในราคา 2,600 รูปี แฮรีสได้ตัดสินใจซื้อที่ดินผืนนี้ (ที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน) และสร้างบ้านพักขึ้นในปี 2448 (ปัจจุบันคือบ้านแฮรีส)

ปี 2449 ได้ขยายมาตั้งโรงเรียนและซื้อที่ดินที่อยู่ติดกันเพิ่มขึ้นอีก 71 ไร่ รวมแล้วโรงเรียนมีที่ดินรวม 90 ไร่ ปัจจุบันมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยเป็นเจ้าของและผู้รับใบอนุญาต

ปี 2455 ได้เริ่มใช้ภาษาไทยเป็นหลักในการสอนแทนคำเมือง เพื่อเป็นการตอบสนองต่อกระแสการรวมชาติในสมัยรัชกาลที่ 5-6

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (2484-2488) โรงเรียนปรินส์ รอยแยลส์ วิทยาลัย ถูกรัฐบาลยึดครองในฐานะเป็นทรัพย์สินของชาติศัตรู ภายหลังสงครามโลก ดร.แคนเนธ อี แวลล์ รับโรงเรียนคืนจากรัฐบาล และได้เป็นผู้จัดการ ขณะที่อาจารย์หมวก ไชยลังการณ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ เป็นยุคที่ปรินส์รอยได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นฝ่ายชนะสงคราม

สำหรับพิพิธภัณฑ์บ้านแฮรีสมีทั้งหมด 6 ห้อง ห้องแสดงที่ 1 เริ่มจากเรื่องราวที่เป็นภาพของมิชชันนารีผู้บุกเบิก

ห้องแสดงที่ 2 เป็นห้องจักรีวงศ์ มีภาพพระบาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียน

ห้องแสดงที่ 3 เป็นห้องกิจกรรมครูและนักเรียน ภาพกิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมกีฬาดนตรี และภาพประวัติศาสตร์ของบุคคลที่มาร่วมกิจกรรมของโรงเรียน

ห้องแสดงที่ 4 เป็นห้องทำงานของวิลเลียม แฮรีส มีโต๊ะทำงาน ถ้วยชา ชุดรับแขก ตู้เก็บเอกสาร ตู้เย็นโบราณ กล้องส่องสำรวจ เป็นต้น

ห้องแสดงที่ 5 ห้องนอนพ่อครู แม่ครูประกอบด้วยเตียงนอน ตู้เสื้อผ้า โต๊ะแต่งกาย ชั้นใส่เอกสารภาพโบราณ ฯลฯ

ห้องแสดงที่ 6 เป็นห้องโถงใหญ่ แสดงภาพเชียงใหม่ในอดีต ประวัติการก่อสร้างอาคาร อุปกรณ์ เครื่องใช้ในครัวเรือน

จากระเบียงชั้น 2 เมื่อมองออกไปจะเห็นต้นจามจุรีที่แผ่ร่มเงาต้นใหญ่ เห็นอาคารเรียนโบสถ์ และโรงละครที่สร้างสมัยพ่อครูแฮรีส ซึ่งสถานที่แต่ละแห่ง ล้วนมีเรื่องเล่าที่เชื่อมโยงร้อยรัดประวัติศาสตร์กับปัจจุบันไว้ด้วยกันอย่างน่าประทับใจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us