Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
British influence             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





มองกันเผินๆ จะพบว่าธุรกิจจากสหราชอาณาจักรในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะในโลกยุคใหม่ หลังจากการล่ม สลายของ Trading Company ที่ยิ่งใหญ่ในอดีตอย่างบอร์เนียว หรือการถอยร่นของอุตสาหกรรมบางกิจการในเมืองไทย ช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ในปี 2527

แบรนด์ดังๆ ของสหราชอาณาจักร แทบไม่อยู่ในความนึกคิดของผู้บริโภคไทยเลย

แม้ว่าปัจจุบันแบรนด์ Boots เครือข่ายร้านค้า เพื่อสุขภาพและความงาม ซึ่งผุดทุกหนทุกแห่งบนเกาะอังกฤษ ได้บุกเข้ามาเมืองไทยในช่วงวิกฤติการณ์ ด้วยการขยายตัวอย่างรุนแรง กลับประสบปัญหาในเวลาไม่นานนัก ตลาดไทยไม่ตอบสนองสินค้า Boots เท่าที่ควร จำต้องปรับตัวและลดขนาดกิจการลงอย่างมากในช่วงนี้

กรณี Boots มีบทสรุปว่า แบรนด์อังกฤษต้อง เริ่มต้นเรียนรู้ตลาดไทยกันเสียใหม่ กระบวนการเรียนรู้ พร้อมๆ กับการกลับมาใหม่ของสินค้าอังกฤษจึงเริ่ม ต้นขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Tesco, Orange หรือ Habitat (แม้ว่าสองแบรนด์หลังวันนี้เจ้าของไม่ใช่อังกฤษแล้วก็ตาม)

ข้อสรุปอย่างสำคัญในกรณีนี้ก็อาจจะบอกว่า สินค้าอังกฤษขาดช่วงไปจากตลาดไทยเสียนาน ไม่เหมือนสินค้าอเมริกันหรือญี่ปุ่น ก็อาจจะได้ แต่จะว่าไปแล้ว สินค้าอังกฤษระดับมวลชนนั้นก็แทบไม่โด่งดังในระดับโลก เมื่อเทียบกับสินค้าของอเมริกันกับญี่ปุ่น

แต่มีสิ่งที่เป็นข้อยกเว้น

ความจริงแล้ว มีสิ่งที่สำคัญกว่าสินค้าที่จับต้องทั่วไปของอังกฤษ ฝังรากลึกในผู้บริโภคไทยอย่างมั่นคง และต่อเนื่องเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่มีแบรนด์แข็งมากทีเดียว นั่นคือการศึกษาของอังกฤษ ขณะนี้แนวโน้มการเรียนระดับมัธยมแบบอังกฤษกำลังได้รับการตอบสนองในตลาดไทยอย่างดี

นั่นคือ การเข้ามาตั้งโรงเรียนในต่างแดนครั้งแรกๆ ของโรงเรียนดัง 3 แห่งจากเกาะอังกฤษ Dulwich College, Harrow และ Shrewsbury

ทั้งสามโรงเรียนผูกพันกับสังคมไทยมานานนับร้อยปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ที่เริ่มจากราชนิกุล ชน ชั้นนำ จนถึงนักธุรกิจเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญ และต่อเนื่องที่สุด ระหว่างความรู้สึกนึกคิดของสังคมไทยกับอังกฤษ ที่ส่งผ่านจากรุ่นก่อนสู่รุ่นปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้คนที่ผ่านการศึกษาจากอังกฤษ ก็มีอิทธิพลไม่น้อยในสังคมไทย รายละเอียดเรื่องนี้ คงต้องอ่านจากหนังสือ "หาโรงเรียนให้ลูก" ของผมเอง ซึ่งยังคงเหลือในร้านหนังสืออยู่บ้าง

นี่คือสินค้าระดับบนที่กำลังแสวงหาฐานที่กว้างขึ้น

สิ่งที่สำคัญกว่านั้น แสดงถึงแรงบันดาลใจของอังกฤษ ในความพยายามกลับเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยดูเหมือนจะมีมากขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us