Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2549
สงครามอันยืดเยื้อ             
 


   
search resources

Law




จีนยังคงท้าทายความพยายามของสหรัฐฯ และยุโรป ที่ต้องการจะหยุดยั้งการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีน

Burberry แบรนด์แฟชั่นหรูของอังกฤษเป็นหนึ่งในบริษัทต่างชาติ 5 แห่งที่กำลังฟ้องร้อง Silk Street Market ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า เป็นตลาดขายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอันโด่งดังในกรุงปักกิ่ง และฟ้องร้องผู้ค้า 5 รายในตลาดดังกล่าว รวมทั้งเจ้าของตลาดด้วย ในข้อหาขายสินค้าที่ทำปลอมสินค้าของตน (ส่วนอีก 4 บริษัทคือ Gucci, Chanel, Prada และ Louis Vuitton)

งานนี้ Burberry เรียกร้องค่าเสียหายหลายแสนดอลลาร์ และการเยียวยาความเสียหายในรูปแบบอื่นๆ

Zhang Yongping เจ้าของ Silk Market ยืนยันว่า เขาบริสุทธิ์ และไม่เคยอนุญาตให้มีการขายสินค้าปลอมในตลาดของเขา

สินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่ขายเกลื่อนในตลาดดังกล่าว และท่าทีที่ไม่รับรู้ของเจ้าของตลาด ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางรายเห็นว่า การต่อสู้กับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีนเป็นเรื่องที่สิ้นหวัง

รัฐบาลและบริษัทชาติตะวันตกต่างรู้สึกผิดหวังอย่างมาก กับการเพิกเฉยของรัฐบาลจีนในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แต่แทนที่จะละความพยายาม ชาติตะวันตกกลับยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้จีนปราบปรามสินค้าปลอมมากขึ้น

ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้เริ่มรุกจีนผ่านองค์การการค้าโลก โดยเรียกร้องให้จีนเปิดเผยรายละเอียดนโยบายการปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และเปิดเผยข้อมูลการปราบปรามแต่ละกรณีรวมทั้งผลของการปราบปรามภายในสิ้นเดือนมกราคม

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสหรัฐฯ จะเพียรพยายามดำเนินการทางกฎหมายต่อการละเมิดสินค้าของสหรัฐฯ ในจีนมานานหลายปี แต่ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีนกลับยิ่งเลวร้ายลงเรื่อยๆ ในการประชุมโต๊ะกลมว่าด้วยการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจัดขึ้นที่สถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ FBI ระบุว่า บริษัทสหรัฐฯ ได้รับความเสียหายคิดเป็นมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2004 เพียงปีเดียว เนื่องมาจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่เกิดในจีน

แทบไม่มีสิ่งใดที่บริษัทจีนจะไม่ลอกเลียนแบบ ตั้งแต่ซอฟต์แวร์ ภาพยนตร์ เสื้อผ้า ชิ้นส่วนรถยนต์ การออกแบบชิปคอมพิวเตอร์ แม้กระทั่งยาปฏิชีวนะ หลายปีก่อนสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญายังจำกัดวงอยู่เพียงตลาดภายในประเทศจีน แต่ขณะนี้ จีนถึงกับส่งออกสินค้าที่เกิดจากการขโมยความคิดของคนอื่น และมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ตัวเลขจากสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐฯ ระบุว่า มูลค่าสินค้าปลอมที่ถูกส่งออกจากจีนไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47 ในปี 2004 จากมูลค่าประมาณ 134 ล้านดอลลาร์ในปี 2003 และประมาณร้อยละ 67 ของสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมดที่ศุลกากรสหรัฐฯ ยึดได้นั้น มาจากจีน

ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีนมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนที่อื่นใดในโลก เพราะรัฐบาลจีนมีมุมมองที่ไม่เหมือนใครว่า ทรัพย์สินทางปัญญาไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคล หากแต่เป็นสมบัติของชาติ ซ้ำยังส่งเสริมการ "ขอหยิบยืม" เทคโนโลยี (โดยเฉพาะเทคโนโลยีจากต่างประเทศ) เพื่อนำมาสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง

อินเทอร์เน็ตซ้ำเติมให้ปัญหาการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีน ทวีความยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีกเป็นร้อยเท่า นักศึกษาจีนทั่วประเทศสามารถดาวน์โหลดรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์เรื่องใหม่ล่าสุดของตะวันตกผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ โดยเชื่อว่าตนไม่ได้ทำอะไรผิด เพราะพวกเขาใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัย

การขโมยความคิดคนอื่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บริษัทจีนเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าคู่แข่งจากตะวันตก ในด้านการคิดค้นนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รายงานปี 2003 ของบริษัทบัญชี PriceWaterhouseCoopers ระบุว่า จีนใช้เงินน้อยกว่าร้อยละ 6 ของค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยพัฒนากับการวิจัยขั้นพื้นฐาน ในขณะที่บริษัทสหรัฐฯ ใช้จ่ายในเรื่องเดียวกันนี้ถึงประมาณร้อยละ 19

บริษัทจีนยังทุ่มเทเวลาและเงินไปกับการปรับแก้เทคโนโลยีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพียงเพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าธรรมเนียมและค่าใบอนุญาต โดยได้รับการสนับสนุนทางอ้อมจากเจ้าหน้าที่ของจีนบางราย ซึ่งระบุว่า ต่างชาติเก็บค่าธรรมเนียมสิทธิบัตรที่ขูดรีดและไม่เป็นธรรม

บริษัทต่างชาติยังคงพยายามจะปกป้องแบรนด์สินค้าของตนในจีนอย่างยากลำบาก อย่างไรก็ตาม Victor Kho เจ้าหน้าที่สอบสวนของฮ่องกง ซึ่งช่วยประสานงานปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่บริษัทต่างชาติอย่างเช่น Mercedes และ Ford ชี้ว่า การปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีน มีความคืบหน้าแต่คงจะไม่ทันใจต่างชาติ เพราะมีคนจำนวนมากในจีนที่ต้องการรวยลัด และการลอกเลียนแบบสินค้าก็เป็นวิธีที่ง่ายดายที่สุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us