Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2549
Chenonceau ปราสาทสวยสตรีสร้าง             
โดย พฒนี หอมจิตต์
 


   
search resources

Tourism




เมื่อครั้งเตรียมตัวสอบชิงทุนทัศนศึกษาประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นทุนให้เปล่าจัดโดยสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ผู้เขียนเปิดหนังสือท่องเที่ยวหลายเล่มเพื่อรู้จักประเทศนี้ให้ดีขึ้นกว่าข้อมูลที่ได้จากในห้องเรียน ชื่อหนึ่งที่ผู้เขียนได้พบและอยากไปเยือนคือ Le Val de Loire หรือลุ่มแม่น้ำลัวร์อันมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเนื่องจากปราสาทน้อยใหญ่ (Les chateaux de la Loire) ที่บรรดากษัตริย์และคนร่ำรวยในอดีตได้มาสร้างไว้เพื่อเป็นบ้านพัก

เมื่อมีโอกาสได้รับทุนดังกล่าว ผู้เขียนถือว่าโชคดีอย่างยิ่งที่ทุนนี้พาไปชมปราสาทแม่น้ำลัวร์หลายหลังตั้งแต่ชอมบอร์ด (Chambord) ปราสาทที่ใหญ่โตที่สุดในลุ่มน้ำ มีปล่องไฟถึง 365 ปล่อง, วิลองดรี (Villandry) ซึ่งมีสวนสไตล์ฝรั่งเศสอันเลื่องชื่อ รวมถึงโคล ลูเซ่ (Clos Luce) บ้านหลังสุดท้ายในชีวิตของลีโอนาร์โด ดาวินชี

นอกจากมีโอกาสเข้าชมปราสาทลุ่มแม่น้ำลัวร์กับทุนทัศนศึกษาประเทศฝรั่งเศสดังกล่าวแล้ว เมื่อรับทุน ก.พ.ปีแรก ผู้เขียนเข้าโรงเรียนภาษา ณ เมืองตูร์ (Tours) ซึ่งเป็นเสมือนเมืองต้นทางของการเที่ยวปราสาทลุ่มแม่น้ำลัวร์ เนื่องจากรถไฟที่ไปปราสาทเหล่านี้ มักออกจากตูร์ หรือต้องผ่านเมืองนี้ทั้งนั้น รวมถึงรถบัสและบริษัททัวร์ต่างๆ ด้วย ผู้เขียนจึงถือโอกาสนี้ "ตามเก็บ" ปราสาทอื่นๆ รวมทั้งกลับไปปราสาทที่เคยไปแล้วอีกด้วย เนื่องจากตอนไปฝรั่งเศสครั้งแรก ภาษายังไม่ค่อยดีนัก มีหลายเรื่องราวที่ยังไม่เข้าใจ

เคยมีเพื่อนชาวญี่ปุ่นถามผู้เขียนว่าปราสาทเหล่านี้ต่างกันอย่างไร ไปแค่แห่งหรือสองแห่งน่าจะพอแล้ว ผู้เขียนบอกได้เลยว่าแต่ละแห่งมีจุดเด่นแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเรื่องของสถาปัตยกรรมทั้งภายนอกภายในการจัดสวน บรรยากาศที่เรารู้สึกได้ในขณะเข้าชม รวมถึงประวัติความเป็นมา

ซึ่งปราสาทที่ผู้เขียนประทับใจมากที่สุด คือเชอนงโซ (Chenonceau) ปราสาทหลังไม่ใหญ่โตอลังการ แต่ให้ความรู้สึกอบอุ่นเหมือนบ้าน โดยสิ่งพิเศษที่ช่วยให้จำได้ง่าย คือประวัติที่ "เผ็ดร้อน" ไม่แพ้นิยายของปราสาทนี้นั่นเอง

เชอนงโซ ถูกเรียกว่าปราสาทของสตรี (Chateau des dames) เนื่องจากมีเจ้าของเป็นผู้หญิงตั้งแต่เริ่มก่อสร้างในปี 1515 ภายใต้การควบคุมของกาธรีน บริซนเนท์ (Catherine Brionnet) จนถึงการเปลี่ยนเจ้าของครั้งล่าสุด เมื่อปี 1913 โดยช่วงที่หวือหวาที่สุดคงหนีไม่พ้นช่วงปี 1547-1559 เมื่อพระเจ้าอองรี ที่ 2 (Henri II) กษัตริย์หนุ่มวัย 28 ชันษา หลงใหล ดิอาน เดอ ปัวติเย่ร์ (Diane de Poitiers) หญิงม่ายวัย 48 ถึงขั้นยกปราสาทหลังนี้ให้ ทำให้พระนางกาธรีน เดอ เมดิซี (Catherine de Medicis) ผู้เป็นมเหสีไม่พอใจ ตั้งหน้าตั้งตารอวันที่จะแก้แค้น เมื่อกษัตริย์สิ้น พระชนม์ พระนางกาธรีนจึงถือโอกาสบังคับ แลกเชอนงโซ กับปราสาทโชมงต์ (Chaumont) ซึ่งเล็กและมีเสน่ห์น้อยกว่า เมื่อกำจัดดิอาน เดอ ปัวติเย่ร์ ออกไปแล้ว พระนางกาธรีนถึงกับสั่งบูรณะแปลงโฉมเชอนงโซขนานใหญ่ เพื่อลบความทรงจำของเจ้าของคนเก่าออกไป

สตรีอีกคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อเชอนงโซ คือมาดามดูแปง (Madame Louise Dupin) ภริยาของโคล้ด ดูแปง (Claude Dupin) ผู้ที่ซื้อเชอนงโซในปี 1733 นางเป็นหญิงที่อ่อนโยน และจิตใจดี ทำให้เป็นที่รักของ ชาวบ้านละแวกนั้น กอปรกับนางได้เชิญคนสำคัญในฝรั่งเศสมาเยือนเชอนงโซบ่อยครั้ง ทั้งเพื่อเจรจาปราศรัยและร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ เนื่องในโอกาสต่างๆ ที่นางได้จัดขึ้น ตัวอย่างคนสำคัญเหล่านี้ได้แก่วอลแตร์ (Voltaire) มงเตสกิเยอ (Montesquieu) รุสโซ่ (Rousseau) และมาริโวซ์ (Marivaux) พวกเขาจึงช่วยรักษาปราสาทให้รอดพ้นจากการทำลายโดยประชาชนผู้โกรธแค้น ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 หลังจากสิ้นมาดามดูแปง ลูกหลานของนางได้ขายเชอนงโซไปในปี 1864 และเจ้าของเชอนงโซ ก็เปลี่ยนหน้าไปเรื่อยๆ จนมาถึงครอบครัวเมอนิเย่ร์ (Menier) เจ้าของ ธุรกิจช็อกโกแลตที่ซื้อเชอนงโซ เมื่อปี 1913 และยังเป็นเจ้าของสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากประวัติที่ "เผ็ดร้อน" เชอนงโซ ยังมีทำเลที่ตั้งเป็นจุดเด่นอีกด้วย โดยตัวปราสาทตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแชร์ (Cher) และมีห้องโถง (La Galerie) กว้าง 6 เมตร ยาว 60 เมตร ทอดข้ามแม่น้ำไปจรดอีกฝั่งหนึ่ง พระนางกาธรีนได้ทำการเปิดห้องโถงนี้ในปี 1577 โดยสร้างทับสะพานที่มีมาแต่สมัยดิอาน เดอ ปัวติเย่ร์ ห้องนี้ถูกใช้เป็นทั้งห้องจัดเลี้ยง จัดงานเต้นรำ รวมถึงโรงพยาบาลในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 เชอนงโซตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากประตูทางเข้าด้านหน้าปราสาท อยู่ในเขตครอบครองของ กองทัพเยอรมัน (La zone occupee) ในขณะที่ปลายสุดของห้องโถงข้ามแม่น้ำนี้ อยู่ในเขตฝรั่งเศสอิสระ (La France libre) ทำให้มีผู้คนมากมายพยายามใช้เส้นทางนี้หลบหนีการปกครองของเยอรมัน

ในบรรดาห้องต่างๆ ที่เปิดให้เข้าชมนั้น ผู้เขียนประทับใจ "ห้องสีดำ" หรือห้องนอนของหลุยส์ เดอ ลอร์แรน (Louise de Lorraine) มากที่สุด นางเป็นมเหสีของพระเจ้า อองรี ที่ 3 (Henri III) โอรสของพระนางกาธรีน เดอ เมดิซี นั่นเอง หลังจากการสวรรคตของพระสวามี นางได้สั่งให้ตกแต่งห้องนี้ด้วยสีดำ และขาว และใช้ 11 ปีหลังของชีวิตอยู่กับการไว้ทุกข์ ทำให้ได้รับขนานนามว่า ราชินีสีขาว (La Reine Blanche) เนื่องจากเสื้อผ้าสีขาวที่นางสวมใส่นั่นเอง

เราสามารถเข้าชมเชอนงโซโดยใช้เวลา ไม่มากนัก เนื่องจากเป็นปราสาทขนาดเล็ก มีห้องเปิดน้อยกว่า 15 ห้อง กระจายไปในความสูง 4 ระดับของปราสาท โดยมีห้องครัว รวมทั้งบริเวณรับประทานอาหารของคนรับใช้ อยู่ที่ชั้นใต้ดิน ส่วนที่พักอาศัย, ต้อนรับ รวมถึงจัดเลี้ยงอยู่ในชั้นสูงขึ้นไป ภายในตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) พรมฝาผนังยุคศตวรรษที่ 16 ถึง 17 (ในสมัยก่อนตามปราสาทราชวัง รวมถึงบ้านชนชั้นสูง นิยมแขวนพรมไว้บนฝาผนังเพื่อเก็บความอบอุ่นให้อยู่ในห้อง) และภาพวาด ของศิลปินคนสำคัญมากมาย อาทิ Le Correge, Rubens, Le Tintoret และ Nattier

บริเวณโดยรอบปราสาท มีสวนใหญ่น้อยให้เดินเล่นได้ตามอัธยาศัย ข้อมูลเรื่องจำนวนไม้ดอกที่ปลูกที่นี่แตกต่างกันไป บางแหล่งกล่าวว่ามีราว 40,000 ต้น ในขณะที่บางแหล่งบอกว่ามีถึง 130,000 ต้น โดยสวนที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นสวนของพระนางกาธรีน เดอ เมดิซี ซึ่งอยู่ทางซ้ายของตัวปราสาท และสวนของดิอาน เดอ ปัวติเย่ร์ ทางด้านขวา นอกจากนี้ยังมีการจัดพื้นที่ไว้ถึง 10,000 ตารางเมตร เพื่อเพาะปลูกไม้ดอกสำหรับใช้ตกแต่งปราสาทโดยเฉพาะอีกด้วย

เชอนงโซมีความเพียบพร้อมทั้งในด้านสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และบรรยากาศของการพักผ่อน รวมทั้งทำเลที่ตั้งที่ไม่ไกลจากเมืองใหญ่ๆ เท่าใดนัก (214 กม. จากปารีสและเพียง 34 กม.จากตูร์) การเดินทางสะดวกสบาย ขับรถ 2 ชม. จากปารีส หรือนั่งรถไฟความเร็วสูง หรือ TGV (อ่านออกเสียงเตเจเว) ปารีส-ตูร์เพียง 1 ชม. และต่อรถไฟเร็ว (TER : Train Express Regional) ตูร์-เชอนงโซเพียง 25 นาที จึงไม่น่าแปลกใจที่มีนักท่องเที่ยวเข้าชมเชอนงโซ ถึงปีละ 1 ล้านคนเลยทีเดียว ถือเป็นปราสาท ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในฝรั่งเศส จะแพ้อยู่ก็แต่ เพียงแวร์ซายส์ (Versailles) ซึ่งมีฐานะเป็นพระราชวังเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us