Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2549
มุมที่ไม่ค่อยพูดถึง             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 





ปรากฏการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้บังเกิดขึ้นมาครบ 2 ปีเต็มเมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา หากเริ่มนับจากเหตุการณ์ปล้นปืนที่ค่ายปิเหล็ง กองบัญชาการทหารพัฒนา จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 4 มกราคม 2547

ตลอด 2 ปี ข่าวคราวความเคลื่อนไหวที่ออกมาจากในพื้นที่ แทบจะทั้งหมดล้วนแต่เป็นข่าวเหตุการณ์ ความรุนแรง การวางระเบิด จนถึงการปะทะกัน

ข่าวด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ การค้าขาย การลงทุน ไม่ปรากฏออกมาให้สาธารณะได้รับรู้

ในฐานะที่นิตยสาร "ผู้จัดการ" เป็นนิตยสารทางด้านธุรกิจ คำถามที่เกิดขึ้นในใจของทีมงานทุกคนตลอดเวลาที่มีแต่ข่าวความรุนแรงดังกล่าวปรากฏออกมาจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็คือท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว คนที่เป็นพ่อค้า นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรมของที่นี่ พวกเขาจะใช้ชีวิตกันอย่างไร การค้าขาย การผลิต การลงทุนที่เคยมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จะชะงักลงหรือไม่

หรือแม้แต่คำถามสุดท้ายที่มักเกิดขึ้นตลอดเวลาที่มีข่าวความรุนแรงปรากฏขึ้น ก็คือถ้าเหตุการณ์ยังเป็นอยู่เช่นนี้ ป่านนี้กิจการของพวกเขา มิเจ๊งไปหมดแล้วหรือ

ในฐานะสื่อทางด้านธุรกิจ เมื่อมีโอกาส เราจึงต้องเดินทางลงพื้นที่ เพื่อพบปะสนทนากับพวกเขาเหล่านี้

อย่างน้อยก็เป็นช่องทางที่ให้เขาได้มีโอกาสบอกเล่าความเป็นไป และระบายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น ตลอดเวลาที่ต้องใช้ชีวิต ค้าขายอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรง

ถือเป็นภาพสะท้อนในอีกมุมมองหนึ่ง ของคนที่เป็นเพื่อนนักธุรกิจด้วยกัน ซึ่งครั้งหนึ่งเขาเคยมีบทบาทในการผลักดันเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดชายแดน ให้เป็นกลไกสำคัญ กลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยภาพรวมของประเทศ

การที่เขาจำเป็นต้องทนอยู่ในพื้นที่ ค้าขายไปโดยที่ได้รับผลกำไรเพียงน้อยนิดตลอด 2 ปี แม้ว่ามุมหนึ่งจะเป็นเพราะทุกคนได้ลงหลักปักฐานในพื้นที่ไว้เป็นเวลานานแล้ว จนไม่สามารถย้ายไปอยู่ที่อื่นได้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็ถือเป็นความเสียสละ

เรื่องราวของเหล่านักธุรกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันนี้ จะเป็นเช่นไร สามารถอ่านได้จากเรื่องจากปกในนิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับนี้

การรายงานเรื่องนี้ ถือเป็นโครงการร่วมมือระหว่างนิตยสาร "ผู้จัดการ" กับศูนย์ข่าวภูมิภาคในเครือ "ผู้จัดการ" ที่ได้กระจายออกไปฝังตัวตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งนอกจากเรื่องของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่รายงานโดยศูนย์ข่าวหาดใหญ่แล้ว ยังมีเรื่องของโรงเรียนปรินส์ รอยแยลส์ วิทยาลัย ที่เชียงใหม่ ซึ่งเพิ่งจัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี ที่ได้รับพระราชทานนามโรงเรียนไปเมื่อต้นปี

นามพระราชทานของโรงเรียนปรินส์ รอยแยลส์ ได้สะท้อนถึงแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งกำลังเผชิญกับลัทธิล่าอาณานิคมจากทั้งฝรั่งเศส และอังกฤษเมื่อ 1 ศตวรรษก่อน

เรื่องราวที่มีสีสันทั้งหลายเหล่านี้ กำลังรอให้ทุกท่านเปิดเข้าไปอ่าน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us