Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 มกราคม 2549
ธุรกิจสถาบันการเงินกับตลาดอสังหาฯปี49             
 


   
search resources

Real Estate
Banking and Finance




เป็นที่ทราบกันดีว่า สถาบันการเงิน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ เป็นภาคธุรกิจที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับธุรกิจอสังหาฯ มาช้านาน และคงจะเป็นเช่นนี้ในอนาคตอีกนานเช่นกัน ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ว่า ธุรกิจอสังหาฯเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินทุนสูง แตกต่างจากธุรกิจประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค จึงทำให้ไม่ว่าผู้ประกอบการ หรือ ผู้บริโภคในตลาดอสังหาฯ โดยส่วนมากมักเป็นลูกค้าสถาบันการเงินด้วยกันทั้งสิ้น คือเป็นทั้งผู้กู้ และผู้ฝากเงิน ( อย่างน้อยก็เปิดบัญชีเพื่อให้สถาบันการเงินหักค่างวด ) สำหรับในปี 2549 นี้ น่าจะเกิดปรากฎการณ์ที่จะต้องมีความเกี่ยวพันกันอย่างชัดเจนใน 2 ภาคธุรกิจนี้ คือภาคสถาบันการเงินกับภาคอสังหาฯสำคัญ 2 ประเด็นได้แก่

1.การแข่งขันกันให้สินเชื่อสำหรับภาคอสังหาฯ (บนความเข้มงวด) เนื่องจากในปี 2549 นี้ ได้มีธนาคารพาณิชย์อีกประมาณ 7 รายใหม่กำลังเข้าสู่ตลาด ซึ่งเกือบทั้งหมดประกาศตัวในการทำตลาดเชิงรุกทั้งสิ้น โดยเฉพาะตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เช่น ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ประกาศบุกสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (70% ของการให้สินเชื่อทั้งหมดในพอร์ตของตนเอง) ภายใต้แนวคิด "จิ๋วแต่แจ๋ว" เน้นความเร็วในการอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารเกียรตินาคิน เน้นสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคทั้งเช่าซื้อรถยนต์และอสังหาฯ

ธนาคารจีอีมันนี่ธนาคารเครือต่างชาติ ที่หมายปักธงด้านสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (60% ของการให้สินเชื่อทั้งหมดในพอร์ตของตนเอง) โดยอาศัยฐานลูกค้าเดิมของตนเองกว่า 3 ล้านรายเป็นจุดตั้งต้น

จากตัวอย่างดังกล่าว จะมีผลให้ผู้บริโภคในภาคอสังหาฯมีทางเลือกมากขึ้น ดังนั้น จึงเชื่อว่าในปี 2549 และอนาคตอันใกล้นี้ สถาบันการเงินเก่าที่มีฐานลูกค้าทั้งในระดับรากหญ้า เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) หรือ ระดับรายได้สูง เช่น ธนาคารกสิกรไทย หรือ ไทยพาณิชย์ จะต้องเสียส่วนครองตลาดไปบ้างไม่มากก็น้อย หากไม่เตรียมการรองรับเหตุการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี แม้ว่าผู้บริโภคน่าจะมีทางเลือกมากขึ้น และสถาบันการเงินมีการแข่งขันกันให้สินเชื่อมากขึ้น ก็เชื่อว่า แต่ละสถาบันการเงินก็จะยังคงความเข้มงวดต่อการคัดสรรลูกค้าในระดับเข้มข้นอยู่ดี

2.การแข่งขันกันในเรื่องการระดมเงินฝาก สำหรับในปี 2548 ที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงต้นปี 2549 นี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า เงินสำรองในสถาบันการเงินลดลงทั้งระบบ คือจาก 7.5 แสนล้านบาทในเดือนมกราคมปี 2547 เหลือ 5.4 แสนล้านบาทในเดือนตุลาคม 2548 ซึ่งมีสาเหตุมาจาก การขยายตัวของการปล่อยสินเชื่อโดยสถาบันการเงินที่สูง และส่วนหนึ่งไหลไปยังกองทุนรวมต่างๆ

ดังนั้น จากการที่ลูกค้าเงินฝากที่เคยต้องหงอสถาบันการเงินมาตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมา ก็จะได้ทีข่มขู่สถาบันการเงินรอให้สถาบันการเงินกลับมาขอเงินฝากบ้างแล้ว ทำให้เกิดสงครามแย่งเงินฝากแน่นอน เป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยในปี 2549 นี้ น่าจะสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 1% ซึ่งจะผลักให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นอีก ซึ่งเป็นปัจจัยบั่นทอนต่อการลงทุนในโครงการอสังหาฯ และผู้บริโภคที่มีภาระผ่อนส่งที่อยู่อาศัยต้องแบกภาระเพิ่มขึ้น ตลาดที่อยู่อาศัยในระดับราคาสูงๆที่เกิน 5 ล้านบาทต่อยูนิต น่าจะประสบปัญหามากกว่าที่อยู่อาศัยในระดับราคา 2-4 ล้านบาทต่อยูนิต

หากจะวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ของสถาบันการเงิน ที่มีธุรกรรมเกี่ยวกับภาคอสังหาฯในปี 2549 นี้ เราจะมองเห็นได้ชัดเจนว่า ธุรกิจอสังหาฯยังจะได้รับการสนับสนุนอย่างดี บนความเข้มงวดและระมัดระวังจากสถาบันการเงิน พร้อมๆกับเกิดภาวะการแข่งขันสูงในการระดมเงินฝาก ระหว่างสถาบันการเงินทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นทั้งเงินฝากและเงินกู้ เป็นผลให้ผลิตภัณฑ์ในตลาดอสังหาฯระดับบนคงอืดอยู่มาก (ไม่รวมปัจจัยเงินเฟ้อที่รุมเร้า) ซึ่งผู้ประกอบการคงต้องปรับตัวในเรื่องผลิตภัณฑ์พอสมควร เช่นเดียวกับสถาบันการเงินที่ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับตลาดและการแข่งขันทั้งในด้านเงินฝากและสินเชื่อ ไม่นับรวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบธนาคารหลัก (CBS-Core Banking System) มาใช้ ดังนั้นในปี 2549 นี้ จึงนับเป็นปีแห่งการใช้กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ของทั้งภาคอสังหาและภาคสถาบันการเงิน เพื่อรองรับตลาดและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

โดยนายไพรัช มณฑาพันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท 15 ที่ปรึกษาธุรกิจ จำกัด E-Mail ; pairat.m@fifteenbiz.com   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us