|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
คลังขึงขังเอฟทีเอการเงินไทย-สหรัฐ เผยล่าสุดสหรัฐรับข้อเสนอที่ไทยต้องการจำกัดธุรกิจการเงินไปพิจารณา โดยเฉพาะธุรกิจประกัน ขณะที่มะกันต้องการล็อกสัญญา "นริศ" มั่นใจท่าทีไม่มีกลับลำ เตรียมหารืออีกรอบปลาย ก.พ.นี้
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า การเจรจาเปิดเสรีทางด้านการเงินระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ว่า ได้มีการหารือถึงเรื่องการเข้าถึงตลาด (Market Access) ซึ่งถือว่ามีความคืบหน้าไประดับหนึ่งแล้ว เพราะมีการยื่นข้อเสนอรายการบริการที่จะเปิดเสรีระหว่างกัน
ทั้งนี้ ในส่วนของสหรัฐฯ ต้องการให้ไทยเปิดเสรีการเงินอย่างเต็มที่ และโดยเร็วที่สุด ขณะที่ไทย ก็จะมีการกำหนดกรอบเวลาของการเปิดเสรีไว้ โดยพิจารณาตามความพร้อมของธุรกิจในประเทศ และรายการบริการที่ตกลงว่าจะเปิด (List Offer) จะเป็นเพียงกรอบการตกลงไว้ก่อน ไม่ใช่ข้อตกลงในลักษณะของข้อสัญญาระหว่างกัน หากจะเปิดรายการใดต้องมาเทียบกับกรอบใหญ่ของการเปิดเสรีการค้าไทย-สหรัฐฯ ก่อน
นอกจากนี้ ทางไทยยังได้ยื่นข้อเสนอ ให้ประเทศไทยสามารถควบคุมเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งทางสหรัฐฯได้รับเรื่องไปพิจารณาแล้ว และรอมีกฎหมายกำกับธุรกิจการเงินที่ยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลอยู่ในปัจจุบัน เช่น ธุรกิจ ลิสชิ่ง แฟกตอริ่งเสียก่อน รวมทั้งได้ย้ำให้ทางสหรัฐฯ จัดการเรื่องกฎหมาย หรือ กฎระเบียบ ของมลรัฐต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจไทยสามารถเข้าไปดำเนินการในรัฐต่างๆ ของสหรัฐฯได้เช่นเดียวกับรัฐบาลกลาง
นายนริศ กล่าวว่า ธุรกิจที่สหรัฐฯ สนใจ คือ ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต หลักทรัพย์ และกองทุน แม้ว่าธุรกิจประกันของสหรัฐฯ อย่างเอไอเอได้ครองส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไทยอยู่แล้วในปัจจุบันก็ตาม แต่ในอนาคตอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ทางสหรัฐฯจึงต้องการ ทำข้อตกลงเปิดเสรีเพื่อเป็นการล็อกสัญญา เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ทั้งนี้ การเปิดเสรีภาคการเงิน จะทำให้ผู้บริโภคในประเทศได้ประโยชน์ เพราะการแข่งขันอย่างเสรี จะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม ในแง่ของผู้ผลิต อาจจะต้องมีการปรับตัวบ้าง ซึ่งโดยส่วนตัวยังมองว่า ธุรกิจของไทยยังมีข้อได้เปรียบในแง่เป็นเจ้าของภาษา ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบในเรื่องของภาษา และมีความเชี่ยวชาญด้านตลาดในประเทศ ตลอดจนความเข้าใจวัฒนธรรมของคนไทยมากกว่า ดังนั้น เชื่อว่า สหรัฐฯ น่าจะเข้ามาในลักษณะผู้ร่วมทุน
สำหรับการเจรจาเปิดเสรีภาคการเงินระหว่างไทย-สหรัฐ ครั้งต่อไป จะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2549 นี้ ที่ประเทศสหรัฐฯ
สำหรับท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันว่า ไทยยังไม่มีความพร้อมในการเปิดเสรีทางการเงินไทยสหรัฐ เนื่องจาก ธปท.ต้องการให้ธนาคารเพื่อรายย่อยจัดตั้งขึ้นในไทยและมีความแข็งแรงก่อน เนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดตั้งตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ได้เพียง 1 ปีเท่านั้น โดยเห็นว่าที่ผ่านมาไทยได้เปิดเสรีทางการเงินหลายด้านและมากแล้ว เช่น การอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในสถาบันการเงินไทยตอนที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 หรือขยายสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจประกันชีวิตจากเดิม 49% เป็น 51% รวมทั้งการเปิดให้ตั้งสาขาธนาคารในไทยได้ถึง 4 สาขา นอกจากนี้ ธปท.เห็นว่า การเปิดเสรีทางด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศจำเป็นต้องเป็นลักษณะค่อยเป็นไป เนื่องจากเรื่องนี้มีผลกระทบต่อค่าเงินบาทให้ผันผวนได้ง่าย
โดยนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน กล่าวว่า ธปท.จะเปิดเสรีทางการเงินเมื่อสถาบันการเงินไทยมีความเข้มแข็งและพร้อมก่อนที่จะเริ่มนับระยะเวลาในการเข้าช่วงเวลานั้น แต่ตามกติกาแล้วต้องเปิดภายใน 3 ปี เช่นเดียวกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท.ระบุว่า จุดยืนของ ธปท.ยังเหมือนเดิม และจะเริ่มนับระยะเวลาการเข้าสู่เสรีทางการเงินตามที่ ธปท.ต้องการเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการนับแบบรักชาติ
|
|
 |
|
|