Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
"บ้านเก่า" บนถนนอัษฎางค์ ของพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา




บ้านเก่าสไตล์ "ชิโนโปรตุกีส" อายุเกือบ 100 ปีที่หาดูได้ยากหลังนี้ มีเรื่องราวและตำนาน ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญที่มีบทบาทต่อสังคมไทยต่อเนื่องมาหลายชั่วคนทีเดียว

ตึกแถวริมถนนอัษฎางค์ ได้บดบังความสวยงามของบ้านหลังนั้นจากสายตาคนภายนอกจนหมดสิ้น คงไม่มีใครคิดว่าหลังตึกเช่าเหล่านั้นจะมีสนามหญ้ากว้าง และบ้านหลังใหญ่อยู่ภายใน

E.G.Gollo ชาวอิตาเลียน ผู้ออกแบบพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นผู้ออกแบบบ้านหลังนี้ ในสมัยนั้น E.G. Gollo ยังเป็นผู้ออกแบบวัง และบ้าน ให้เจ้านายชั้นสูงอีกหลายหลัง เช่น บ้านของปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวังเทเวศน์

ตัวบ้านหลักจะเป็นเรือนสองชั้น เชื่อมต่อกับเรือนบริวาร ที่โอบล้อม มาทางด้านหน้า ตรงกลางเป็นสนามหญ้า มีเหลืองอินเดียต้นใหญ่เก่าแก่ และลำไยเถาลูกโตรสหวานที่ออกลูกปีละ 2 ครั้ง มีสระน้ำเล็กๆ อยู่มุมหนึ่ง ให้เจ้าของบ้านไว้ออกกำลังกายในทุกๆ วันด้วย

ชีวิตคนนั้นสั้นแต่ศิลปะนั้นยืนยาวนัก นอกจากความสวยงามทาง ด้านสถาปัตยกรรมของตะวันตกอันคลาสสิก ตามความนิยมในยุคนั้น ที่ตกทอดมาจนถึงวันนี้แล้ว บ้านหลังนี้ยังเป็นที่อาศัยของผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้านายชั้นสูงในอดีต และเป็นผู้รับใช้เบื้องยุคลบาทมาหลายสมัย จากคนรุ่นหนึ่งสู่คนรุ่นหนึ่ง ปัจจุบัน พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา คือเจ้าของบ้านหลังนี้ และยังเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อสังคมไทยปัจจุบันอย่างมากๆ ด้วย แม้ไม่ได้รับราชการอย่างบรรพบุรุษก็ตาม

พารณย้อนรำลึกความหลังในอดีตให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าเขาเอง เกิดในบ้านหลังนี้ สมัยยังเล็กๆ บริเวณบ้านกว้างขวาง และเต็มไปด้วยพรรณไม้ต่างๆ มากมาย มีผู้คนอยู่กันอย่างคับคั่งไม่ต่ำกว่า 30 คน ทำให้ค่าใช้จ่ายในบ้านสูงมาก ต่อมาภายหลังบิดาได้จัดสรรที่ดินด้านหน้า ส่วนหนึ่งเป็นตึกแถว เพื่อหารายได้เพิ่มเติมเลี้ยงบริวาร และเมื่อไม่กี่ปีก่อนยังถูกทางกรุงเทพมหานครเวนคืนที่ดินไปส่วนหนึ่งเพื่อสร้างถนน จนปัจจุบันเนื้อที่บ้านจริงๆ เหลือเพียง 500 ตารางวาเท่านั้น

วันเวลาที่ล่วงเลย บ้านหลังใหญ่ที่เคยเต็มไปด้วยบริวารและคนรับใช้ต่างแยกย้ายไปตามวิถีชีวิตของตนเอง เหลือเพียงครอบครัวของ พารณ บุนนาค และพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา สองสามีภรรยาและลูกชายเพียงคนเดียว และคนในบ้านอีกไม่กี่คน

ต้นสกุลของพารณทางด้านบิดาคือราชสกุล "อิศรเสนา ณ อยุธยา" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระราชอนุชา ในรัชกาลที่ 2 กับพระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ซึ่งเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ต้นสกุลทางฝั่งมารดาคือ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ซึ่งเป็นพระราช โอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่สอง) มีหม่อมคือคุณแสง ซึ่งหม่อมแสงนี้เป็นหลานปู่ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดังนั้น พารณก็มีเชื้อสาย "แซ่แต้" อยู่ในตัวตั้งแต่โบราณกาล และคำว่า "พารณ" นี้แปลว่า "ช้าง" ซึ่งเป็นชื่อช้างทรงของพระอิศวรมีงาเดียว

บิดาของพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา คือพระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ มารดาคือ ม.ล.สำลี อิศรเสนา (นามสกุลเดิม กุญชร)

พารณ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2470 สำเร็จการศึกษาจากวชิราวุธวิทยาลัย เกียรตินิยม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จปริญญาโทด้านวิศวกรรมเครื่องกลจาก MIT ทำงาน อยู่ที่บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทยนานถึง 12 ปี ก่อนที่จะเข้ามาเป็น ผู้กำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางเดินที่สำคัญคนหนึ่งในเครือปูนซิเมนต์ไทย ยาวนานถึง 24 ปี จนมีโอกาสได้ก้าวไปถึงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด

และปัจจุบันกำลังให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องการพัฒนาบุคลากร และประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบการศึกษาแห่งชาติ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us