หนังสือ ที่ควรได้รับคำแนะนำนี้ อิทธิพลบางส่วนต้องยอมรับว่ายุคของ ประธานาธิบดีคลินตันนั้น
อเมริการุ่งโรจน์ร่ำรวยอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็น ประเทศ ที่เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง
เป้าหมายในเรื่องทุน และสถาบันการเงินมีความชัดเจน คนอเมริกันไม่เคยมีประสบการณ์
ยาวนานถึงความมั่งคั่ง ต่างก็หวังว่าระยะทอดยาวไกลในอนาคตพวกเขาจะอยู่ในสังคมแห่งความรุ่งเรืองนี้อีกยาวนาน
และก็เป็นสาเหตุที่หนังสือของ Peter Schwartz จับกระแสดังกล่าวเขียนขึ้น
เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทั้งมวลภายใต้สมมติฐานจากวิธีวิเคราะห์ ซึ่งเขามีชื่อเสียงจากการสร้างภาพองค์กรจำลองสถานการณ์
Schwartz เป็นที่รู้จักกันว่าเขาพัฒนาการวางแผน และให้วิธีการวิเคราะห์จาก
scenario ที่สำคัญ และเขาโด่งดังเมื่อช่วยให้บริษัทน้ำมันของพวกดัตช์ ชื่อบริษัทเชลล์
เตรียมรับกับสถานการณ์วิกฤติน้ำมันในปี ค.ศ. 1973 ทำให้บริษัทน้ำมันทั่วโลกมีวิกฤติสำคัญจนร่อแร่ไปตามๆ
กัน
บทเรียนของเชลล์ คือ ก้าวแรก ที่ Schwartz ออกมาตั้งธุรกิจของตนเอง ชื่อ
Global Business Network เป็น บริษัทให้คำปรึกษาเน้นการวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยรูปจำลอง
Schwartz เขียนหนังสือ ที่สร้างชื่อไว้ในวงการวางแผนธุรกิจชื่อ The Art of
the Long View โดยชื่อหนังสือของเขาเกี่ยวกับ การวางวิสัยทัศน์ระยะยาวว่าเป็นศิลป
หนังสือ The Long Boom เป็น ภาพร่างของความเชื่อว่าความมั่งคั่งในสหรัฐอเมริกาเวลานี้ไม่ใช่ภาพลวงแต่มีรากฐาน
ที่เป็นจริง แต่ The Long Boom นี้ไม่ใช่การวิ เคราะห์ภาพจำลองเชิงมหภาคแบบ
ที่เขาเชี่ยวชาญ แต่ฉีกออกมาอีกแนวหนึ่ง คือ เขาชี้ให้เห็นถึงการวางแผนแบบมีทางเลือกอื่น
ซึ่งท้ายสุดวิธีนี้ก็เป็นรูปแบบการวางแผนอีกประเภทหนึ่ง
การวางแผนสถานการณ์จำลองนั้น เกี่ยวโดยตรงกับพัฒนาการ 4 รูป แบบจำเพาะมีความต่างกัน
และขอบเขตความเป็นไปได้ก็ต่างกันไป โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับ "แนวโน้ม" และ
"กระแส" ของสถานการณ์หรือเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจากปัจจุบัน
ประเด็นสำคัญ ซึ่งน่าจะทำให้คนมาซื้อหนังสือเล่มนี้อ่านก็คือ ภาพจำลอง ซึ่งหนังสือวางไว้เกี่ยวกับโลก
ในอนาคตโดยมีทัศนวิสัยเกี่ยวกับสถานการณ์ ด้านบวก ปี ค.ศ.2020 ถูกจับวางไว้จากรากฐานของภาวะปัจจุบัน
โดยผู้เขียนมองภาพด้านบวกไม่ว่าต่อปัจจัยต่างๆ ที่มองเชิงเศรษฐกิจมองในแง่มุม
พัฒนาการด้านเทคโนโลยีทางการเมือง หรือกระทั่งการฟื้นตัวของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
ในประการหลังนี้ ผู้เขียนพยากรณ์ว่า เทคโนโลยีใหม่จะทำให้เราพึ่งพาฐานพลังงานในรูปเชื้อเพลิงแบบเดิมน้อยลงสิ่งที่จะส่งผลมหาศาลด้านบวก
คือ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยี ที่เรียกว่า "Nanotechnology" ซึ่งหมายถึงการก่อรูปสร้างประดิษฐกรรมย่อส่วนจากระดับอะตอม
ทั้งสองด้านช่วยให้มีการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลงได้มาก
ประเด็น ที่น่าสนใจสำหรับพวกเราชาวเอเชียก็คือ วิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย จะเป็นอย่างไร
ผู้เขียนยอมรับว่าวิกฤตินี้ทำให้ประเทศในเอเชียเผชิญความยากลำบากนั้น จริง
แต่พวกตะวันตกโดยธาตุแท้เป็นนักทดลองพวกคนเอเชีย กลับเรียนรู้เร็ว ดังนั้น
ผู้เขียนเชื่อว่า ประเทศในเอเชียจะจัดการปัญหาของพวกเขาได้เร็วกว่า ที่คาดหมายเขาชี้ว่าลองพิจารณาถึงจีนในรอบ
20 ปีที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างว่าพลิกตัวขึ้นมารวดเร็ว และมีศักยภาพสูง
หนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วย "ความเห็น" มากมาย โดยบางประเด็นเป็นเรื่อง
ที่ผู้อ่านคงต้องวิเคราะห์เนื่องจากตลาดหนังสือเล่มนี้คือ ตลาดคนอเมริกัน
แต่หนังสือของ Schwartz ไม่ได้มีระบบคิดแบบอเมริกันทั้งหมด แม้ว่าภาพวาดเกี่ยวกับอเมริกาจะมีฐานอยู่ในระบบความเชื่อของธุรกรรม
และวิธีการของอเมริกันแคลิฟอร์เนีย นักเขียน 3 คนที่เขียนก็ใช้วิถีชีวิตอยู่ในแคลิฟอร์เนีย
แม้ว่าข้อคิดเห็นต่างๆ จะคลุมถึงสถานการณ์ทั่วโลก
Schwartz มีความคิดรวบยอดว่าอนาคตของฝั่งตะวันตกของอเมริกามีความสำคัญจนกลายเป็นว่าภูมิภาคนี้เด่นที่สุดของความมั่งคั่งเติบโตทั่วสหรัฐฯ
จะกลายเป็นแกนหลักของอารยธรรม ผู้อ่านจะคิดอย่างไรก็แล้วแต่ความคิดเกี่ยวกับฝั่งตะวันตกไม่ใช่เรื่อง
"แปลก" หรือ "ใหม่" แต่มันสอดคล้องกับกลุ่มแปซิฟิกริม และซิลิคอนแวลลีย์
ซึ่งเป็นฐานการผลิตมันสมองสำหรับอนาคต ขณะที่องค์ประกอบด้านชุมชนมี การพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
และยังเชื่อมต่อกับตลาดแรงงานทางแคลิฟอร์เนียใต้
ประเด็น "แกนอารยธรรม" ของโลกตะวันตกนี้มีปัจจัยยืนพื้นมาจากประดิษฐกรรมใหม่
และพลังของศักยภาพ ทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ในทางประวัติศาสตร์ กรีก หรืออังกฤษ
ซึ่งเคยเป็นแกนอารยธรรม ก็คือ การมีฐานในด้านหลักๆ คือ การนวัตกรรม การมีกองทัพทรงศักยภาพ
ที่จะปกป้องการขยายตัวทางการค้า วิถีชีวิตของประชากร และแหล่งรวมภูมิปัญญา
ผู้เขียนมองจากจุดนี้เป็นส่วนสำคัญ เช่นอังกฤษมีการนวัตกรรมการคิดค้นเครื่องจักรไอน้ำ
การใช้ทรัพยากรสนับสนุนอุตสาหกรรมการขยายจักรวรรดิ และเครือข่ายเชื่อมโยงการค้าเศรษฐกิจการตลาดที่เป็นไปอย่างครบวงจร
"แกน" แห่งอารยธรรมยังอยู่กับสถานะทางภูมิศาสตร์ ซึ่งวิธีคิดผู้เขียนใช้แบบเก่า
ทั้งหมดคือ รายละเอียด สิ่งที่ผู้อ่านต้องเข้าใจไว้เป็นพื้นฐานว่านี่คือ
การวิเคราะห์ scenario ความหลากหลาย และปัจจัยผันแปรนั้น มีมาก scenarioที่ดีนั้น
ใช้เฉพาะกาลเวลา และปัจจัยชุดหนึ่ง ที่วางหมุดไว้ตายตัว ประเด็นแรก ที่ต้องพิจารณาก็คือ
"สถานการณ์" หรือ ที่เรียกว่า situation analysis รูปแบบ ที่ว่านี้ใช้กันมากตั้งแต่
war scenario ไปจนถึงการวิเคราะห์ผลประโยชน์แห่งชาติ การวิเคราะห์หน่วยข่าวกรอง
ฯลฯ มีเทคนิค เพื่อดูการเปลี่ยนแนวทางของ "สถานการณ์"
พึงเข้าใจว่าการวิเคราะห์เชิงสถานการณ์ไม่ใช่มีข้อผิดพลาดแต่มีข้อผิดพลาดบ่อย
ผู้อ่านจะได้ความรู้ชุดหนึ่งว่าด้วยการพยากรณ์ และการมองถึงสหสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ
ผู้วิจารณ์มีความเชื่อว่าในกระบวนการวิเคราะห์สถานการณ์นั้น สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือ
วัฒนธรรม และการดำรงอยู่ของรูปการที่เป็นเฉพาะปัจจัย สิ่ง ซึ่งทำให้การวิเคราะห์
scena-rio ล้มเหลวก็จะมาจากปัจจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมถิ่น
ตัวอย่างล้มเหลวก็คือ การ "วิเคราะห์ระบบ" หรือ system analysis แม้จะเป็นคนละอย่างกับ
scenario analysis แต่การแพ้สงครามเวียดนาม เป็นเรื่องของความล้มเหลว ที่กล่าวได้ว่าการวางแผนที่รัดกุมแค่ไหนก็ตาม
ปัจจัยเล็กๆ อาจมีส่วนสำคัญทำให้สถานการณ์ใหม่ล้มพังลงได้ง่ายๆ
โลกาภิวัตน์เป็นโครงสร้างส่วนบน ที่เกิดปรากฏการณ์จากพื้นฐานด้านปัจจัยการผลิต
ที่เปลี่ยนแปลงไปผ่านนวัตกรรมของเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสารแบบทันด่วน
ประเด็นก็คือ การจัดการข้อมูลมีความแตกต่างไปตามแต่ละกลุ่มประเทศ ที่มี
"วัฒนธรรม" ต่างกัน
หนังสือ The Long Boomสร้างจาก framework ของข้อมูลในสหรัฐ อเมริกา มองว่านี่คือ
กระแสหลัก แต่ด้านกลับของการเติบโต มักมีคู่ขัดแย้ง และการเติบโตจากพลังต้านอื่นๆ
ที่บางครั้งมองไม่เห็นจากการวางแผนที่รัดกุม
หนังสือเล่มนี้ ผู้อ่านควรเปิดดูใน amazon.com ก็อาจสั่งซื้อหรือได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกมาก
และในแง่หนึ่งหนังสือนี้ อาจเป็นเครื่องมือให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า คนมองวัฏจักรของเศรษฐกิจ
ที่มั่งคั่งนี้อย่างไร และเขาเลือกปัจจัยหลักอะไร ที่จะชี้ขาดถึงความมั่นคงยาวนาน