|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จับตาตระกูล ชินวัตรรุกธุรกิจโรงพยาบาล หลังปิดดีลชินคอร์ปกับเทมาเส็กเพื่อเข้ามาแทนที่ธุรกิจโรงแรม คนวงการเชื่อแค่ดอกเบี้ยจากการขายหุ้น 7 หมื่นล้านบาท ที่ตกเดือนละไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท และเป็นเม็ดเงินที่สามารถทำธุรกิจโรงพยาบาลได้ เพราะเป็นตลาดที่มีศักยภาพ
ดีลใหญ่ระดับชาติระหว่างกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่นกับเทมาเส็ก ที่มีมูลค่าสูงถึง 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเม็ด เงินมหาศาลในกำมือตระกูลชินวัตร ทำ ให้คนในวงการธุรกิจและคนในแวดวง โทรคมนาคมเชื่อว่า หลังปิดดีลนี้ จึงน่าจับตามองในการรุกเข้าไปในธุรกิจอื่นๆ ที่เชื่อว่ามีผลกำไรแน่นอน มั่นคง ปลอดภัย อย่างพลังงาน ขนส่ง และโรงพยาบาล โดยเฉพาะธุรกิจโรงพยาบาลที่เชื่อว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงในตลาดประเทศไทย
นายธวัชชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการขายหุ้นของชินคอร์ปเชื่อว่าจะมีการ รุกเข้าไปในธุรกิจโรงพยาบาลเพื่อจะให้ เป็นธุรกิจที่เข้ามาแทนที่ธุรกิจโรงแรม เพราะในชีวิตความเป็นจริงคนต้องเจ็บ ต้องป่วย และจากเม็ดเงินของดีลดังกล่าวที่มีมูลค่าสูงถึง 7 หมื่นล้านบาท หากคิดดอกเบี้ยที่คิดประมาณ 3-4% ต่อเดือนจะตกประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่มากพอจะดำเนิน ธุรกิจประเภทโรงพยาบาลได้อยู่แล้ว ทำธุรกิจโรงพยาบาลแค่เอาดอกเบี้ยมาใช้ก็ทำได้อยู่แล้ว
ด้านนายอนุภาพ ถิรลาภ ผู้อำนวยการสถาบันการบริหารการสื่อสารไทย กล่าวถึง ภาพรวมของกลุ่ม ชินคอร์ปว่า การขายหุ้นเป็นเพราะต้อง การขยายอาณาจักรออกไปคือ ธุรกิจกลุ่มพลังงานที่มีการผูกขาด แม้จะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง แต่ก็มีความมั่นคง, ธุรกิจขนส่ง, โรงพยาบาล เพราะเป็นภาคที่มีมาร์จิ้นสูง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลไทยที่มีความได้เปรียบ เพราะหมอไทยฝีมือดี ราคาไม่แพง โรงพยาบาลเอาใจใส่คน ไข้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันโรงพยาบาล ทำเหมือนโรงแรมแล้ว เช่น คนไข้ที่เป็นชาวต่างชาติมีการแยกแผนกชัดเจน มีการใช้ภาษาของแต่ละชาติในการสื่อสารกับคนไข้โดยเฉพาะ
"การขยายเข้าสู่ธุรกิจพวกนี้จะทำเงินได้มาก มีความมั่นคง ปลอดภัย ลดความเสี่ยงแทนที่จะต้องอิงจากธุรกิจโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียว"
ทิศทางการดำเนินธุรกิจดังกล่าว สอดคล้องกับการประชุมผู้นำเอเปก ที่กรุงเทพฯ ในปี 2547 ที่รัฐบาลได้มีการเจรจากับทางประเทศสหรัฐฯในการที่ไทยสนใจจะเป็นเจ้าภาพเข้าร่วม ทำโครงการวิจัยทางการแพทย์ ในรูปแบบการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน ทั้งในด้านการรักษาสุขภาพ การวิจัย การค้นคว้ารักษาทางการแพทย์ การใช้นาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ การรักษาผ่านระบบเครือข่าย และให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในแถบเอเชีย ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้มีการลงทุนและทำวิจัย โดยได้มีการก่อตั้งศูนย์ขึ้นมา ดำเนินการอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และมีแผนที่จะก่อตั้งศูนย์ขนาดใหญ่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้มีการของบประมาณลงทุนไม่ถึงพันล้านบาท
การเจรจาดังกล่าวเป็นเรื่องที่น้อยคนจะสามารถเชื่อมโยงได้หรือให้ความสนใจมากนัก เพราะเป็นการเจรจาที่ไม่ลับมาก และมีการออกมาให้ ข่าวโดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ในการที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้
อีกทั้งเรื่องนี้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ยังได้เคยกล่าวถึงเรื่องดังกล่าว ในการที่จะให้ประเทศไทยเป็นผู้รับจ้าง ทางด้านการแพทย์ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่จะมีการรักษาในรูปแบบ นาโน ที่จะให้ผู้ป่วยกลืนหลอดแคปซูล ที่ได้บรรจุกล้องขนาดเล็กเข้าไปดูอวัยวะภายใน และใช้เทคโนโลยีระบบ เครือข่ายระหว่างประเทศ การสื่อสารผ่านระบบทั้งผ่านวงจรข่ายสายและดาวเทียมไปยังประเทศอเมริกา เพื่อให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้วินิจฉัย ซึ่งหากมีการลงทุนเกิดขึ้นหรือเกิดการรับจ้างขึ้นมาก็จะทำให้มีรายได้เข้าประเทศไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาท เพราะบริการในรูปแบบนี้ยังไม่มีการลงทุนมากนักในโลกนี้
ในจุดนี้เองได้เปรียบเสมือนการเริ่มต้นของการมองแนวทางถึงมิติใหม่ในด้านการลงทุนของไทยในอนาคต โดยเฉพาะด้านทางการแพทย์ ที่จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสารและนาโนเทคโนโลยี รวมถึงด้านชีวภาพทางการแพทย์ที่เข้ามาผสมผสานร่วมกัน
ปัจจุบันหากเชื่อมโยงได้ กลุ่มชินคอร์ปนั้น ก็มีธุรกิจด้านการแพทย์อยู่ในมือ ซึ่งก็คือ โรงพยาบาลพระราม 9 ซึ่ง บริษัท เอสซี แอสเซส เป็นผู้ถือ หุ้นใหญ่ และเป็นโรงพยาบาลประจำตระกูลชินวัตร ที่ใช้รักษาพยาบาล ซึ่งหากนับย้อนเวลาไปได้ก็ให้นึกถึงโครงการ 30 บาทฯที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รณรงค์ให้ประชาชนใช้บริการ สถานพยาบาลของรัฐ แต่ตัวเองไม่ใช้ มาใช้โรงพยาบาลแห่งนี้แทน
โรงพยาบาลแห่งนี้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายด้านที่ได้มีการจับจองซื้อตัวมา และถ้ากลุ่มชิน คอร์ป มาลงทุนด้านนี้ก็ถือว่าวงการแพทย์ก็จะสั่นสะเทือนได้ทันทีเช่นกัน ซึ่งยังไม่นับรวมถึงการเข้าไปซื้อธุรกิจโรงแรมในบางแห่ง ที่กลุ่มชินคอร์ปหมายจะ ให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์แบบครบวงจร ทั้งการรักษาและการฟื้นฟูร่างกาย
|
|
|
|
|