|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติยันค่าเงินบาทจะมีเสถียรภาพดี หลังการซื้อ ขายหุ้นชินคอร์ปจบ ปัจจัยกดดันไม่มีอีก ด้านผู้เชี่ยวชาญหวั่นสัปดาห์นี้ยัง มีสิทธิเห็นค่าเงิน 38.85 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนแบงก์ชาติจะเข้าแทรกแซง ขณะที่ค่าเงินวานนี้ แข็งสุดแตะ 39 บาทต่อดอลลาร์
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินสกุลบาทว่า จะมีเสถียรภาพ มากขึ้นหลังจากการซื้อขาย หุ้นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในตลาดวานนี้ (23 ม.ค.) เพราะไม่มีแรงกดดันจากการไหลเข้าของเงินทุนจำนวนมากที่จะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก เนื่องจากการไหลเข้าของเงินก้อนใหญ่หมดลงแล้ว
"เงินลงทุนได้ไหลเข้ามายังตลาดเงินในวันพุธที่ 18 ม.ค. 1 ก้อน และวันศุกร์ต่อเนื่องจนถึงวันจันทร์อีก 1 ก้อน แต่ตอนนี้หมดลงแล้ว โดยถือว่าเป็นเรื่องดีที่การซื้อขายได้จบลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ลดแรงกดดันที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของไทยไม่ให้แข็งค่าขึ้นไปอีก" ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าว
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในสัปดาห์นี้เงินบาท จะไม่แข็งขึ้นมากไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะแรงกดดันมีน้อยลง ดังนั้น ธปท.จึงไม่มีความจำเป็นต้องเข้าไปดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทมากเป็นพิเศษแต่อย่างใด เนื่องจากเงินบาทในขณะนี้บาทเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจภาคการส่งออกของไทยมากนัก เพราะ ธปท.จะดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้
ผู้ว่าการธปท. ยังกล่าวต่อว่า จะดูแลอัตราแลกเปลี่ยนตามสถานการณ์เพื่อป้องกันผลกระทบ ที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งเชื่อว่าปี 2549 นี้ นอกจากปัจจัยน้ำมันแล้ว เศรษฐกิจของไทยจะราบรื่นมากกว่าปี 2548 เนื่องจาก การส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากแรงเหวี่ยงเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ปัญหาภัยแล้งได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวในปีนี้ที่จะกลับมาฟื้นตัว
นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น เหตุผลหลักเกิดจากเงินไหลเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ ที่ทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการมองถึงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะเข้า สูงสุดแล้ว ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าลง ส่งผลให้ค่าเงินในสกุลอื่นๆ ภูมิภาคแข็งค่าขึ้น รวมถึงค่าเงินบาทของไทยด้วย
นอกจากนี้ การกดดันเงินหยวนของจีนให้เพิ่มค่ามากกว่าปัจจุบันของทางการสหรัฐฯและญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าในครึ่งปีแรกจะเห็นการปรับเปลี่ยนค่าเงินหยวนอีกครั้งทำให้นักลงทุนเข้าเก็งกำไรค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์นี้ค่าเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องผ่าน ระดับ 39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปได้ โดยแนวต้านที่สำคัญอยู่ที่ 38.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เชื่อว่าจะเป็นระดับที่ทางการจะเข้ามาดูแล เนื่องจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในปัจจุบันสูงกว่าเมื่อเทียบกับสกุลอื่น
นายอนิรุตต์ พิมพันธ์ นักค้าเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ค่าเงินบาท ได้แข็งค่าขึ้นไปถึง 39.13-39.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาเป็นปริมาณสูง ทั้งกรณีเงินทุนสิงคโปร์ ที่ไหลเข้ามาเตรียมซื้อหุ้นกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น และเข้ามาซื้อโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ประกอบกับค่าเงินสหรัฐฯอ่อนค่าลง เพราะมีการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯคงจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียงงวดเดียว 0.25% เท่านั้น หลังจากนั้น ก็มีการคาดว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับลดลง
นักค้าเงิน จากธนาคารกสิกรไทย รายงาน ค่าเงินบาทวานนี้ว่า เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 39.15/17 บาท/ดอลลาร์ โดยปรับตัวแข็งค่าสุดของวันที่ 39.00 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าสุดของวันที่ระดับ 39.25 บาท/ดอลลาร์ และปิดตลาดที่ระดับ 39.12/14 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากเปิดตลาดจนกระทั่งแข็งค่าสุดของวันและในรอบ 9 เดือนครึ่ง แต่หลังจากที่มีข่าวกรณีของ SHIN ออกมา ก็ทำให้มีแรงซื้อค่าเงินดอลลาร์กลับ ทำให้เงินบาทอ่อนค่าแตะระดับอ่อนสุดของวัน และในช่วงท้ายตลาดค่าเงินบาทก็กลับแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินเยนและค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท หลังจากหมดปัจจัยในเรื่องของ SHIN ไปแล้ว ก็คงจะดูที่ทิศทาง ของเงินทุนว่ายังมีเงินไหลเข้าภูมิภาคนี้หนาแน่นอีกต่อไปหรือไม่
|
|
|
|
|