|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ยอมรับการแข่งขันของสินเชื่อบุคคลทั้ง สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตยังรุนแรง แม้อัตราดอกเบี้ยจะเริ่มปรับตัวขึ้นเช่นกัน ขณะที่ประเมินหากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยเริ่มขยับถึงร้อยละ 8 จะเริ่มส่งผลต่อการผ่อนชำระของผู้บริโภคทันที
วันนี้( 22 ม.ค.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ สายนโยบายการเงิน ธปท. รายงานผลโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจระหว่าง ธปท.และนักธุรกิจ โดยในภาคการเงินธนาคาร ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์มีความเห็นว่าการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันให้สินเชื่อที่รุนแรง โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคลและธุรกิจบัตรเครดิต สำหรับการปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอี มีแนวโน้มขยายตัวดีและได้มีการนำระบบบริหารความเสี่ยงเข้าร่วมพิจารณาอนุมัติสินเชื่อด้วย ส่วนสินเชื่อโครงการอสังหาริมทรัพย์เริ่มจะชะลอตัวลง ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐได้ขยายตัวขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากลูกค้าต้องการเงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วง 3 ปีแรกก่อนที่จะเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
ด้านเงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวในทิศทางชะลอลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงติดลบส่งผลให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจชะลอการออมในรูปของเงินฝากธนาคารพาณิชย์และหันมาลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นผ่านการลงทุนในพันธบัตร ธปท.ของกองทุนตราสารต่าง ๆ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบต่อฐานะการเงินของภาคธุรกิจไม่มากนัก แต่มีผลกระทบทางด้านจิตวิทยามากกว่า เนื่องจากต้นทุนทางการเงินมีสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับต้นทุนรวมและบริษัทส่วนใหญ่ได้ลดระดับหนี้ลงมามากแล้ว แต่ผู้ประกอบการยังไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจและผลตอบแทนการลงทุนที่เพียงพอ จึงยังไม่มั่นใจที่จะลงทุน สำหรับธุรกิจที่มีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารที่อ้างอิงกับตลาดจะมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นบ้าง
สำหรับผลกระทบต่อผู้บริโภคที่กู้ซื้อที่อยู่อาศัยในปัจจุบันยังไม่ส่งผลให้ต้องปรับเพิ่มระยะเวลาหรือจำนวนเงินงวดในการผ่อนชำระ เนื่องจากได้มีการคำนวณเงินงวดผ่อนชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ย MLRเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงไว้ในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปลูกหนี้จะสามารถชำระหนี้ได้หมดก่อนระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ในระดับต่ำในช่วง 1-3 ปีแรกของการกู้ยิ่งทำให้ระยะเวลาการผ่อนชำระจริงน้อยกว่าที่ระบุไว้ตามสัญญาเงินกู้ด้วย
อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นเกินร้อยละ 8 สถาบันการเงินอาจต้องเจรจากับลูกหนี้เพื่อขอเพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระหรือเพิ่มเงินค่างวดรายเดือน สำหรับผู้กู้รายใหม่จะได้รับผลกระทบมากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยกู้มากขึ้น โดยการปรับอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณค่างวดเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ทำให้อัตราการอนุมัติสินเชื่อลดลง ด้านบัตรเครดิตอัตราการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ต่ำและอาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางในระยะต่อไป
|
|
 |
|
|