Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546
ธุรกิจบัตรเครดิตหมุนกลับ             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

บัตรเครดิต
สินเชื่อที่อยู่อาศัย
สินเชื่อส่วนบุคคล

   
search resources

Credit Card




การตัดสินใจควบคุมความเป็นไปได้การก่อหนี้ของผู้บริโภค ผ่านกฎเกณฑ์ธุรกิจบัตรเครดิต ส่งผลให้คนหลายล้านคนถูกตัดสิทธิ์ และประสิทธิภาพการสร้างรายได้ของผู้ออกบัตรลดลง

การประกาศกฎเกณฑ์แบบ U-Turn จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้วย การกำหนดระเบียบการควบคุมบนตลาดบัตรเครดิตที่กำลังอยู่ในสภาวะที่เจริญรุ่งเรือง ในประเทศไทย ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าว เริ่มมีผลกระทบตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีข้อบังคับหลักๆ อยู่ที่ผู้ออก บัตรคิดดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 18% ขณะที่ผู้ถือบัตรต้องมีรายได้ขั้นต่ำต่อเดือน 15,000 บาท

เดือนเมษายนปีเดียวกัน แบงก์ชาติ ตัดสินใจทำให้การแข่งขันธุรกิจบัตรเครดิต ระหว่างธนาคารพาณิชย์กับสถาบันการเงินที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของตนเองมีความเสมอภาคกัน เมื่อ ธปท.ปล่อยเสรีการแข่งขันด้วยการยกเลิกรายได้ขั้นต่ำของ ผู้ที่ต้องการถือบัตร รวมถึงลดอายุขั้นต่ำผู้ถือบัตรจาก 22 ปีเหลือ 20 ปี และปรับปรุง ยอดขั้นต่ำที่ต้องชำระต่อเดือนจาก 10% เหลือ 5% เพื่อให้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้นเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

มีคำถามตามมาว่า แล้วทำไมต้องเปลี่ยนนโยบายหลังจากผ่อนคลายกฎเกณฑ์ ได้ไม่กี่เดือน เหตุผลหนึ่งที่มีความเป็นไปได้ คือตลาดบัตรเครดิตเติบโตอย่างก้าวกระโดด และกะทันหันขณะที่การใช้จ่ายผ่านช่องทาง นี้ของผู้บริโภคไม่มีความจำเป็นมากนัก แต่ การเติบโตได้ระเบิดออกมาจากผู้เล่นที่เป็น ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน เช่น จีอี แคปปิตอล และอิออน ธนสินทรัพย์ ที่มี ลูกค้าผู้มีรายได้กลางถึงต่ำเป็นจำนวนมาก จากข้อเสนอสามารถมีบัตรเครดิตได้เพียงแค่มีรายได้ขั้นต่ำต่อเดือน 7,500 บาท

ผลลัพธ์คือ ตัวเลขจำนวนบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน 30% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2544 ถึง 2.8 ล้านใบ พร้อมๆ กับเม็ดเงินที่หมุนเวียนในระบบสินเชื่อบัตรเครดิต 44 พันล้านบาท ณ เดือนมิถุนายน 2545 ส่วนบัตรเครดิตออกโดยสถาบันการเงินอื่นๆ ที่เรียกว่า Non-Bank คาดว่ามีประมาณ 1.6 ล้านใบ

เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลจึงมีความกังวลว่าจะเกิดอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากเกินความจำเป็น และการก่อหนี้เกินความสามารถชำระหนี้ผ่านบัตรเครดิต ดังนั้นการ จำกัดขอบเขตความเสียหายจึงมีความจำเป็น

นโยบายแบบ U-Turn ของธปท. ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ต่างชาติและสถาบันการเงิน Non-Bank เนื่องเพราะคิดดอกเบี้ยสูงมาก ขณะที่อัตรา ดอกเบี้ยจ่ายเฉลี่ยของธนาคารกรุงเทพ, กรุงไทย, กสิกรไทย และไทยพาณิชย์ อยู่ที่ ระดับ 17.25%

ส่วนธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นครธน คิดดอกเบี้ย 24%, ฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ แอนด์แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น (HSBC) อยู่ที่ระดับ 26%, ซิตี้แบงก์คิด 27% ส่วนอิออน และจีอี แคปปิตอล คิดดอกเบี้ยสูงสุด 28%

เมื่อมีกฎใหม่ออกมาทำให้ผู้เล่นทุกรายอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน สามารถกำจัดความได้เปรียบเสียเปรียบด้านต้นทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิพิเศษสุดโต่ง เช่น ฟรีค่าธรรมเนียมตลอดชีพ หรือโปรโมชั่นหวือหวา

อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครยืนยันได้ว่าธุรกิจบัตรเครดิตมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กฎเกณฑ์ที่ออกมาครั้งนี้ในอนาคตไม่มีความแน่นอน เนื่องจากกฎดังกล่าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกค้าเดิม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us