Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 มกราคม 2549
ปิดดีลชินฯ-เทมาเส็ก ทรัพย์สินเอี่ยว-ทักษิณรับ7หมื่นล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Stock Exchange




ดีลขายชินคอร์ปลงตัวแล้ว ขายให้เทมาเส็กฯ เผยงานนี้ตระกูลชินวัตรของ "ทักษิณ" ฟันเหนาะๆ 7 หมื่นล้าน จับตาสำนักทรัพย์สินฯสนใจร่วมถือหุ้น โยงใยผ่าน "ชุมพล ณ ลำเลียง" ปัจจุบันนั่งประธานสิงเทล ลุ้นเทนเดอร์ออฟเฟอร์หรือไม่ เผยเบื้องหลังทักษิณอยากได้ถึง 60 บาท ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติเผยปัจจัยเงินบาทแข็งทำสถิติ เกิดจากดีลชินฯ ไม่เกี่ยวขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่ รมว.คลังบอกไม่เกี่ยวกับชินฯ แต่เป็นเพราะแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย

รอยเตอร์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวอาวุโสในวงการธนาคารในประเทศสิงคโปร์ว่า ทามาเส็กโฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบรรษัทการลงทุนของประเทศสิงคโปร์ได้ตัดสินใจเข้าถือหุ้นใหญ่ บมจ.ชินคอร์ป หรือ SHIN ของตระกูลชินวัตรของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในสัดส่วน 49% คิดเป็นมูลค่า 1.7-1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งราคาขายจะต่ำกว่าหุ้นละ 50 บาท

รอยเตอร์ยังระบุว่า สำหรับความล่าช้าในการประกาศผลการขายหุ้นครั้งนี้สืบเนื่องจากทางเทมาเส็กฯหาทางที่จะเลี่ยงการทำคำเสนอซื้อหุ้นเป็นการทั่วไปจากนักลงทุนรายย่อย (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) นอกจากนี้รอยเตอร์ยังอ้างแหล่งข่าวการเงินรายหนึ่งว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อาจเข้าร่วมซื้อหุ้นครั้งนี้กับทามาเส็กฯด้วยเพื่อเข้าเป็นผู้ถือหุ้นชินฯส่วนหนึ่ง โดยระบุอีกว่า สำนักงานทรัพย์สินฯสนใจจะซื้อหุ้นชินฯ เพราะการขายหุ้นครั้งนี้ต้องมีคนไทยเข้าร่วมเพื่อกันครหาที่ว่าครอบครัวชินวัตรกำลังขายบริษัทคนไทยให้กับต่างชาติ ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนมองประเด็นดังกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ว่าทรัพย์สินอาจเป็นผู้ซื้อรายหนึ่งในดีลนี้

รอยเตอร์ยังได้โยงสายสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยนายชุมพล ณ ลำเลียง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ว่า ขณะนี้ ชุมพล นั่งเป็นประธานกรรมการ บมจ. สิงเทลอยู่ ซึ่งปัจจุบันสิงเทลก็ถือหุ้นชินฯอยู่แล้วประมาณ 20%

ด้านแหล่งข่าวจากตลาดหุ้นไทย ระบุว่า หากราคาขายหุ้นชินฯจบลงที่ต่ำกว่า 50 บาท แสดงว่าไม่เป็นไปตามที่พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการ เนื่องจากก่อนหน้านี้ความพยายามจะยื้อก็เพื่อหวังจะขายที่สูงสุดที่ 60 บาท และต้องไม่ต่ำกว่า 50 บาท ทำให้ที่ผ่านมานักลงทุนในตลาดหุ้นไทยเข้าไปซื้อขาย หุ้นชินฯ เพื่อรอผลดีลสรุป และทำเทนเดอร์ฯ

ด้านราคาหุ้นชินฯวานนี้ปิดที่ 46.25 บาท ลดลง 0.50 บาท ขณะที่สัดส่วนหุ้นชินฯที่จะขายให้กับกลุ่มทามาเส็กฯครั้งนี้ประมาณ 50% คิดเป็น 2,997 ล้านหุ้น ราคาขายตกหุ้นละ 49.25 บาท รวมมูลค่า 7 หมื่นล้านบาท (1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

สำหรับบริษัทหลักทรัพย์หรือ โบรกเกอร์ที่จะเป็นผู้ทำรายการซื้อขาย (บิ๊กล็อต) ในกระดานซื้อขายขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันนี้ (20 ม.ค.) คือ บล.ภัทร และบล.ธนชาต อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังต้องจับตาการทำเทนเดอร์ฯจากกลุ่มผู้ซื้อว่าจะทำหรือไม่โดยจะต้องดู โครงสร้างการเข้าถือหุ้นและลักษณะการทำดีลอีกครั้ง

ผู้ว่าฯธปท.แฉชินฯตัวการบาทแข็ง

ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือน เมื่อวานนี้ (19 ม.ค.) ว่า เกิดจากมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ เพื่อนำมาซื้อหุ้นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SHIN) โดยมีโบรกเกอร์ที่ดูแลเรื่องการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ เป็นคนนำเงินดอลลาร์ออกมาเทขายเพื่อแลกเป็นเงินสกุลบาทในตลาดเงิน ส่งผลให้ค่าเงินบาทวานนี้ เปิดตลาดที่ระดับ 39.44/46 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 39.28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าสุดของวันที่ระดับ 39.53 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปิดตลาดที่ระดับ 39.38/41 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

นักบริหารเงินจากธนาคารกสิกรไทยกล่าวว่า ค่าเงินบาทมีความผันผวน และทำสถิติแข็งค่าที่สุดในรอบ 9 เดือนครึ่ง โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงินบาทในช่วงนี้ ยังคงต้องจับตาต่อไปเป็นส่วนของเงินทุนไหลเข้า ซึ่งมีส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงได้ยาก และแนวรับถัดไปหากผ่านแนวรับที่ 39.27 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ คือ 39.05 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ผู้ว่าฯ ธปท.เปิดเผยเหตุการณ์วันที่ 19 ม.ค.ว่า มีเงินเข้ามาล็อตใหญ่ทำให้บาทแข็งค่าขึ้น แต่พอเงินล็อตนี้เข้ามาแล้ว ตลาดเงินของไทยก็เริ่มสงบค่าเงินบาทได้อ่อนค่าลงมา โดยเงินบาทได้กลับมาเคลื่อนไหวเป็นปกติ ดังนั้น ธปท.จึงไม่ต้องเข้าไปทำอะไร แต่จะจับตาดูอย่างใกล้ชิด แต่ในส่วนที่ว่า เงินซื้อหุ้นชินจะเข้ามาเท่าไร และจะทยอยเข้ามาอีกหรือไม่ หรือเข้ามาล็อตนี้ครั้งเดียวนั้นไม่สามารถบอกได้ เพราะไม่ทราบว่ามีการตกลงซื้อขายหุ้นจำนวนเท่าไร และตกลงกันราคาเท่าไร

ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวต่อถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน (อาร์พี 14 วัน) ซึ่งทำให้อัตรา ดอกเบี้ยของไทยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด ฟันด์ เรต) ที่ระดับ 4.25% ว่า ไม่ได้ส่งผลกระทบกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเรื่องที่ตลาดรับรู้ และคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ทำให้ตลาดเงินมีการปรับตัวไปก่อนแล้ว จึงไม่ใช่สาเหตุของการไหลเข้าอย่างแรงของค่าเงินบาท

ทั้งนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% ในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงินได้พิจารณาจากปัจจัยภายในประเทศ และคำนึงถึงเสถียรภาพด้านราคาเป็นหลัก ไม่ได้ปรับขึ้นเพราะคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยของเฟดจะปรับขึ้นต่อไปอีก

รมว.คลังมองต่างผู้ว่าฯธปท.

นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เปิดเผยถึงค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือนครึ่ง ว่า ต้องดูเหตุผลที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นเพราะอะไร ซึ่งอาจจะเป็นการเกิดจากปัญหาในภูมิภาคและปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งปัญหาในภูมิภาคนั้นได้เกิดจากการที่ค่าเงินในภูมิภาคมีการปรับตัวแข็งค่าไปในทิศทางเดียวกัน

นายทนง กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นนั้นส่วนหนึ่งคงเกิดจากปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบ คือการที่ค่าเงินในภูมิภาคมีการปรับตัวแข็งค่าไปในทิศทางเดียวกันประกอบกับธปท.มีการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ขึ้นอีก 0.25%เป็น 4.25% จึงทำให้ค่าเงินบาทมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปด้วยซึ่งก็ถือว่าเป็นสภาวะปกติ ไม่น่ามีปัญหาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามคิดว่าที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากเงินทุนไหลเข้าแต่อย่างใดเพราะอัตราการไหลเข้าของเงินทุนไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก

ด้านราคาหุ้นชินคอร์ปวานนี้ปิดที่ 46.25 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ 1.07% มูลค่าการซื้อขาย 593,304 ล้านบาท โดยนางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ข่าวการซื้อหุ้นของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ตลาด หลักทรัพย์ได้มีการติดตามการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่พบความผิดปกติและยังไม่พบว่ามีการเสนอขายบิ๊กล็อตจากนักลงทุน ต่างชาติทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะเข้าไปตรวจสอบ

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ได้รับการยืนยันจากบริษัทอย่างต่อเรื่องว่าไม่มีการซื้อขาย หุ้นของบริษัทให้กับกลุ่มเทมาเส็กโฮลดิ้ง นักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ในส่วนของเงินที่ไหลเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติหากพิจารณาตั้งแต่ต้นปีเม็ดเงินในส่วนดังกล่าวเข้ามาในช่วงประมาณ 2 สัปดาห์รวมแล้วกว่า 59,000 ล้านบาท

"เรายังไม่พบความผิดปกติในหลักทรัพย์ ยังไม่มีข้อมูลการซื้อขายบิ๊กล็อต เราก็ยังไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบ"นางสาวโสภาวดีกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us