Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 มกราคม 2549
เทเลนอร์จูงแทคเข้าSET             
 


   
www resources

โฮมเพจ Telenor

   
search resources

Telenor
Stock Exchange




รมว.คลังเผยกลุ่มเทเลนอร์ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ผู้ถือหุ้นใหญ่ในแทค สนใจเพิ่มการลงทุนในไทยพร้อมย้ายบริษัทจดทะเบียนจากตลาดหุ้นสิงคโปร์มาตลาดหุ้นไทย ทนงยันไม่เกี่ยวเบียร์ช้างไปสิงคโปร์ เซ็ง "โต้ง" ยื้อเก้าอี้เอ็มดี ตลท. ด้านเลขาฯ ก.ล.ต. ตื่นเร่งหน่วยงานรัฐพิจารณา พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หาทางออกให้เบียร์ช้าง เตรียมประสาน ก.ล.ต.สิงคโปร์ หวังเคลียริ่งราคาหุ้นในไทย

นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการเข้าพบของ นายจอน เฟรดริค บัคซาส (Jon Fredrik Baksaas) ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มเทเลนอร์ จากประเทศนอร์เวย์ ว่า กลุ่มเทเลนอร์ได้ยืนยันชัดเจนที่จะลงทุนอยู่ในเมืองไทยในระยะยาว และพร้อมที่จะขยายการลงทุนในไทย โดยเทเลนอร์อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดที่จะนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนใน ตลาดหุ้นไทย (SET) พร้อมสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆ

รมว.คลังกล่าวว่า ถือเป็นเรื่องที่ดี และไทยก็พร้อมที่จะให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่อย่างเทเลนอร์ เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เพื่อทำให้อุตสาหกรรมการสื่อสาร หรือเทเลคอมของไทยแข่งขันได้ ซึ่งสุดท้ายแล้วประชาชนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด 

"การย้ายฐานจากสิงคโปร์เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยน่าจะทำให้กลุ่มเทเลนอร์และตลาดหุ้นไทยดีขึ้น แต่เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กันกับกรณีของเบียร์ช้าง เพราะขณะนี้เบียร์ช้างเองยังไม่ได้ ออกไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นสิงคโปร์"นายทนง กล่าว

นายบัคซาสให้เหตุผลของการเดินทางมาเอเชีย ครั้งนี้ว่า มีจุดประสงค์เพื่อรับรู้การทำตลาดของโอเปอเรเตอร์ที่เทเลนอร์ลงทุนในแต่ละประเทศว่าเป็นอย่างไร มีความแตกต่างกันหรือไม่ เพื่อสามารถนำข้อมูลด้านการตลาดไปแชร์กับประเทศอื่นๆ ที่เทเลนอร์ลงทุนได้ใน 12 ประเทศ ด้วยงบกว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีประเทศในเอเชีย 4 ประเทศคือ ไทย มาเลเซีย บังกลาเทศ และปากีสถาน ส่วนอีก 3 ประเทศอยู่ในกลุ่มสแกนดิเนเวียที่เหลืออยู่ในยุโรป

ทั้งนี้ เทเลนอร์ นอร์เวย์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (แทค) ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ดังนั้น การย้ายตลาดครั้งนี้น่าจะเป็นการย้ายแทคจากสิงคโปร์มาตลาดหุ้นไทย โดยการลงทุนในแทคล่าสุด เทเลนอร์ เตรียมลงเงินอีก 1.2 หมื่นล้านบาท โดยเน้นเรื่องของ การพัฒนาเครือข่ายเป็นหลัก

นายทนงยังให้ความเห็นกรณีของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่จะขอลาออกจากตำแหน่ง เพราะไม่สามารถทำให้เบียร์ช้างจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยได้ว่า เป็นเรื่องของนายกิตติรัตน์ อย่าไปให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนักเพราะเรื่องยังไม่จบ

"ต้องขอถามว่าถ้าไปห้ามนายกิตติรัตน์ แล้วจะยอมทำตามที่บอกหรือไม่ นอกจากนี้ ตนเองยังไม่ได้รับการติดต่อจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ที่จะมาหารือเรื่องของนายกิตติรัตน์ แต่อย่างใด"

ธีระชัยตื่นหาทางออกให้เบียร์ช้าง

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึงข้อสรุปเบื้องต้นในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือเบียร์ช้างว่า หลังจากที่บริษัทได้ยื่นหนังสือเพื่ออนุญาตกระจายหลักทรัพย์ในตลาดสิงคโปร์ ซึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุมัติตามที่บริษัทได้ยื่นเรื่อง ขณะที่เรื่องการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังต้อง รอให้การพิจารณาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกระทรวงสาธารณสุขจากสภาผู้แทน ราษฎรก่อน

ทั้งนี้ ก.ล.ต.ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูและพัฒนาตลาดทุน ต้องการให้หน่วยงานทางฝ่ายการเมืองและฝ่ายที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณา พ.ร.บ. ดังกล่าวให้เสร็จโดยเร็ว เนื่องจากหากการพิจารณาล่าช้า จะทำให้ตลาดทุนไทยเสียประโยชน์ในการพัฒนาตลาดทุนไทยในส่วนของกรณีที่บริษัทจะยื่นขอเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในไทยและสิงคโปร์ หรือ Dual Listing ซึ่งหากบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้ก่อนก็จะเกิดความได้เปรียบ

ก.ล.ต.จะทำการประสานงานกับสำนักงาน ก.ล.ต.สิงคโปร์เพื่อขอให้มีการเคลียร์ริ่งราคาหุ้นของบมจ.ไทยเบฟเวอเรจดำเนินการในไทย สำหรับธุรกิจ ของบริษัทซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย ผู้บริโภคสินค้าของบริษัทส่วนใหญ่ก็เป็นไทย ดังนั้น สภาพคล่องของการซื้อขายหุ้นก็ควรจะอยู่ในประเทศไทยมากกว่าสิงคโปร์

"ในแง่ของความรับผิดชอบต่อตลาดทุนไทย เราก็ทำได้แค่การเอาใจช่วยให้เรื่องดังกล่าวได้ข้อยุติโดยเร็ว แต่ขณะนี้คงต้องรอจนกว่าร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะผ่านสภาฯ จึงจะพิจารณาอีกครั้ง ตอนนี้ที่ทำได้คืออย่าเพิ่งไปคิด เพราะคิดไปก็ปวดหัวเปล่าๆ"นายธีระชัยกล่าว

อย่างไรก็ตาม การซื้อขายหลักทรัพย์ใน 2 ประเทศมีปัจจัยประกอบหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการเมือง อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งปัจจัยต่างๆ ก็มีผลต่อราคาหุ้นของ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ เนื่องจากตลาดหุ้นทั้ง 2 ประเทศมีส่วนที่ต่างกัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนรายย่อยในช่วงแรกๆ แต่เชื่อว่าในระยะยาวเมื่อมีการควบคุมเงินทุนไหลเข้าและการไหลออกของออกประเทศ เชื่อสุดท้ายจะเริ่ม คลายตัวลง และจะทำให้เกิดสภาพคล่องที่สูงขึ้น

สำหรับเรื่องการประท้วงของกลุ่มแกนนำที่คัดค้านการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยของบมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ที่มีพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นแกนนำ ที่ผ่านมาเคยมีการพูดคุยกันมาแล้วเมื่อประมาณปลายปีที่แล้ว ซึ่งผ่านหลังคณะกรรมการ ก.ล.ต.ได้มีการประชุมกันเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 โดยได้มีการชะลอการพิจารณากรณีการขายหุ้นให้ประชาชนของ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ จนกว่าจะมีการผ่านร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

"โดยส่วนตัวก็ไม่เข้าใจว่าทำไมจุดยืนของกลุ่ม แกนนำในการคัดค้านจึงได้เปลี่ยนไป โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อเรียกร้องเป็นให้ ก.ล.ต.ออกมาประกาศให้ชัดเจนว่าจะไม่รับบมจ.ไทยเบฟเวอเรจเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งภายหลังที่บอร์ด ก.ล.ต.ได้มีการออกแถลงการณ์เมื่อ 16 ม.ค. กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งมาจากหลายกลุ่มก็แสดงความพอใจต่างกันซึ่งส่วนใหญ่ก็พอใจ เหลือเพียงส่วนน้อยที่ยังอยู่กดดัน"นายธีระชัยกล่าว

ทั้งนี้ยืนยันว่า รมว.คลังให้อิสระกับการทำงาน ของคณะกรรมการอย่างเต็มที่ โดยจะไม่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อไม่ให้เกิดข้อสงสัยว่า มีความกดดันทางทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเดิมที่แม้ว่าคณะกรรมการตั้งใจจะบรรจุวาระการพิจารณากรณีบริษัทไทยเบฟเวอเรจ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 48 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีก็แสดงความคิดเห็นว่าไม่สนับสนุนให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวในช่วงเวลานั้น จึงได้เลื่อนการพิจารณาออกมาเป็นวันที่ 16 ม.ค. 49 โดยการประชุมวาระพิเศษ โดยเน้นไปที่การพิจารณาคำเสนอขายหุ้นในต่างประเทศของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ เป็นหลัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us