|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% หรือจาก 4% เป็น 4.25% หวังลดแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลงแต่แรงกดดันด้านราคายังอยู่ ลั่นกลางปีนี้ดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวกจากปัจจุบันที่ติดลบ 1.17% คาดปี 2549 อาจเห็นแบงก์พาณิชย์ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าอาร์/พี หากสภาพคล่องมีแนวโน้มลดลงมาก
นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน (อาร์พี 14 วัน) หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ต่อปี เป็น 4.25% จากเดิมที่อยู่ในระดับ 4% เนื่องจากต้องการลดแรงกดดัน ที่มีต่ออัตราเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือนธันวาคมที่อยู่ในระดับ 5.8% ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ที่อยู่ในระดับ 5.9% ก็ตาม แต่แนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวยังคงมีอยู่ตามราคาน้ำมันดิบที่อาจปรับสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนธันวาคมปี 2548 อยู่ในระดับ 2.6% เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ที่อยู่ในระดับ 2.4%
"อาจได้เห็นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวสูงขึ้น มากกว่าเป้าหมายสูงสุดของ ธปท.ที่ตั้งไว้ 3.5% ในไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 4 ของปีหน้า ธปท.จึงจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว แม้ว่าความเสี่ยงของการเกินเป้าของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในการประชุมครั้งนี้ต่ำกว่าครั้งที่ผ่านมาก็ตาม"
ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยยังโตได้ต่อเนื่องแม้ว่าอุปสงค์ในประเทศอาจชะลอลงบ้างในไตรามาส 4 แต่อุปสงค์ต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีและมีแนวโน้มที่จะดีต่อเนื่องจนถึงปี 2549 นี้ ซึ่งเชื่อว่าแรงส่งให้เศรษฐกิจ ขยายตัวต่อไปจากแนวโน้มการส่งออกและการลงทุน ภาคเอกชน ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงมองว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะไปกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ธปท.ยังต้องการให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงเป็นบวกจากปัจจุบันที่ติดลบอยู่ 1.17% ซึ่งแม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วก็ตาม แต่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง หรืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน ลบอัตราเงินเฟ้อยังคงติดลบอยู่ ดังนั้น ธปท.จึงเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร พาณิชย์ควรจะเป็นขาขึ้นต่อเนื่องเพื่อให้อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริงเป็นบวกได้ภายในกลางปี 2549
อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเป็นบวกในระยะต่อไป แต่ยังสรุปไม่ได้ในขณะนี้ว่า ธปท.จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก เพราะการปรับเปลี่ยนนั้นต้องพิจารณาภาวะเศรษฐกิจจากหลายปัจจัยในขณะนั้น เช่น ความร้อนแรงของการขยายตัวของเศรษฐกิจ การปรับตัวของราคาน้ำมัน และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น
"ไม่จำเป็นว่าเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก ธปท.จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1.17% แต่จะขึ้นอีกเท่าไร ขึ้นอยู่กับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของแบงก์พาณิชย์ในระยะต่อไปตามสภาพคล่องของแบงก์และการปรับลดลงของเงินเฟ้อ ซึ่งเท่าที่ดูพบว่าสภาพคล่องของแบงก์พาณิชย์ในปัจจุบันลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว ส่งผลให้แบงก์พาณิชย์ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อระดมเงินเพิ่ม และหากสภาพคล่องลดลงเร็วมากเขาก็อาจจะขึ้นดอกเบี้ยเร็ว และมากกว่า 1.17% ที่ ธปท.ต้องการก็ได้"นางอัจนากล่าว
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะกรรมการนโยบายการเงิน กล่าวว่า กนง.ยังคงให้น้ำหนักเรื่องอัตราเงินเฟ้อเป็นประเด็นหลัก แม้การเร่งตัวจะลดลงจากปีก่อนที่มีปัญหาเรื่องของราคาน้ำมันและเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ซึ่งขณะนี้ได้คลี่คลายลงแล้ว แต่ไทยยังคงมีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่เป็นการขาดดุลลดลง
ด้าน นายอรุณ จิรชวาลา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารนครหลวงไทย กล่าวว่า การที่ ธปท.ปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้อีก 0.25% ยังไม่มีผลให้ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ยทันที เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปก่อนหน้าแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าธนาคารมีเป้าหมายที่จะรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารให้อยู่ที่3% จากปี 2548 ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.59% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารในช่วงที่ผ่านมาไม่มีผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ของธนาคาร แม้ว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่าสินเชื่อ เพราะธนาคารสามารถหารายได้จาก ช่องทางอื่นได้เป็นอย่างดี
|
|
 |
|
|